Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48261
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างตัวป้อนภาษาและปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร : การวิเคราะห์พหุระดับ |
Other Titles: | The relationships between language input and classroom interaction with english learning achievement of first year undergraduate students, Bangkok metropolis : the multilevel analysis |
Authors: | สมพิศ ป. สัตยารักษ์ |
Advisors: | สุมิตรา อังวัฒนกุล ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sumitra.A@chula.ac.th Taweewat.p@chula.ac.th |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวป้อนภาษาและปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครและศึกษาความสัมพันธ์เชิงพหุคูณระหว่างตัวป้อนภาษาและปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียนกับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ตัวป้อนภาษาด้านไวยากรณ์ การปฏิบัติต่อข้อผิดพลาดของนักศึกษาและปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ และเมื่อจำแนกตัวป้อนภาษาและปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์ออกเป็นพฤติกรรมย่อย พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ ได้แก่ ตัวป้อนโครงสร้าง Present Simple Tense ตัวป้อนโครงสร้าง Present Perfect Tense ตัวป้อนโครงสร้าง Yes/No Questions ตัวป้อนสถานการณ์การใช้ภาษา ตัวป้อนการถ่ายโอนข้อความ การให้ตัวแบบภาษา การประเมินคำตอบ การให้การเสริมแรง การตรวจสอบเพื่อยืนยันการแก้ไขข้อผิดพลาดให้นักศึกษา และการชี้แนะให้นักศึกษาแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง 2. เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพหุคูณโดยใช้การวิเคราะห์พหุระดับ พบว่า ในระดับนักศึกษาปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษาสามารถทำนายคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ ในระดับห้องเรียน ตัวแปร ที่สามารถทำนายระดับคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษได้แก่ ตัวป้อนโครงสร้าง Wh-Questions ตัวป้อนสถานการณ์ใช้ภาษา ตัวป้อนคำอ้างอิง การประเมินคำตอบ การเปลี่ยนโครงสร้างประโยค การขอความกระจ่าง การยอมให้มีข้อผิดพลาด และการพูดซ้ำคำพูดตนเอง และตัวแปรที่มีผลต่อคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษโดยส่งผลต่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษากับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ ได้แก่ ตัวป้อนโครงสร้าง yes/no Question ตัวป้อนโครงสร้าง Past Simple Tense ตัวป้อนเนื้อหาสาระของการสือสาร ตัวป้อนการหลีกเลี่ยงข้อความ การประเมินคำตอบและการให้นักศึกษาคนอื่นแก้ไขข้อผิดพลาด |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the relationships between language input and classroom interaction with English learning achievement of first year undergraduate students in Bangkok Metropolis, and the multiple relationships between language input and classroom interaction with English learning achievement by applying the multilevel analysis. The major findings were as follows: 1. When analyzing the relationships, it was found that there were relationships between grammatical input, student error treatment and student interaction with English learning achievement. When language input and teacher interaction were classified into sub-behaviors, it was found that the variables that were classified into sub-behaviors, it was found that the variables that were correlated with English learning achievement were present simple tense input , present perfect tense input, yes/no question input, language situation input, language transfer input, language modeling, answer evaluating, reinforcing, confirming checking, error correcting, and guiding students to error correcting. 2. When analyzing the multiple relationships by applying the multilevel analysis, it was found that at the student level, student interaction could predict the English learning achievement were wh-question input, language situation input, reference input, answer evaluating, changing sentence structure, clarification requesting, error tolerating and self-repeating. The variables that affected the English learning achievement through their effects on the level of relationship between student interaction and English learning achievement were yes/no question input, past simple tense input, content input, avoidance input answer evaluating, and permitting others to correct errors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48261 |
ISBN: | 9745816434 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sompit_po_front.pdf | 3.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_po_ch1.pdf | 78.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_po_ch2.pdf | 72.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_po_ch3.pdf | 40.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_po_ch4.pdf | 36.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_po_ch5.pdf | 22.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_po_back.pdf | 17.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.