Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48297
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ | - |
dc.contributor.author | วัฒนชัย สมิทธากร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-08T06:39:50Z | - |
dc.date.available | 2016-06-08T06:39:50Z | - |
dc.date.issued | 2534 | - |
dc.identifier.isbn | 9745794015 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48297 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้เสนอการวิเคราะห์โครงสร้างแผ่นพื้นท้องเรียบด้วยวิธีอย่างง่ายในแบบ 2 มิติ โดยศึกษาจากผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไบท์เอลเลเมนต์ในแบบ 3 มิติเป็นเกณฑ์ และประยุกต์แนวความคิดของเสาเสมือนซึ่งกำหนดค่าสติฟเนสขึ้นอยู่กับสติฟเนสของเสา และสติฟเนสยึดโยง ในวิธีอย่างง่ายนี้จะกำหนดให้คำนวณค่าสติฟเนสของพื้น และสติฟเนสของเสาด้วยหน้าตัดที่คงที่ตลอดความยาว ความสัมพันธ์ระหว่างสติฟเนสยึดโยงกับตัวแปรหลัก 2 ตัวแปรคือ ความหนาของแผ่นพื้น และสัดส่วนความกว้างต่อความยาวช่วงของแผ่นพื้นนั้น ได้จากการวิเคราะห์แบบจำลองโครงสร้างด้วยวิธีไฟไนท์เอลเลเมนต์ ที่มีจำนวนช่วงเสา 1 ถึง 4 ช่วง การศึกษาพบว่าสติฟเนสยึดโยงนี้แปรผันโดยตรงกับค่ากำลังสามของความหนาของพื้น และมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนความกว้างต่อความยาวช่วงของแผ่นพื้นในรูปสมการโพลีโนเมียลอันดับที่สอง การวิเคราะห์โครงสร้างแผ่นพื้นท้องเรียบด้วยวิธีอย่างง่ายตามที่เสนอในงานวิจัยนี้ จะใช้ได้อย่างดีกับโครงสร้างแผ่นพื้นโดยไม่จำกัดจำนวนช่วงเสา ที่มีสัดส่วนด้านยาวต่อด้านสั้นไม่เกินสอง และหากแผ่นพื้นมีสัดส่วนความกว้างต่อความยาวช่วงไม่เกิน 1.0 การวิเคราะห์จะให้ผลที่ใกล้เคียงกับวิธีไฟไนท์เอลเลเมนต์มาก โดยจะมีความคลาดเคลื่อนเพียงร้อยละ 3 แต่จะมากขึ้นเมื่อสัดส่วนความกว้างต่อความยาวช่วงมากขึ้น โดยความคลาดเคลื่อนจะมากที่สุดประมาณร้อยละ 20 เมื่อสัดส่วนความกว้างต่อความยาวแผ่นพื้นประมาณ 2.0 การวิเคราะห์โครงสร้างพื้นหลายช่วงมีความยาวช่วงไม่เท่ากัน หากช่วงที่ติดกันไม่เกินสองเสา วิธีอย่างง่ายจะให้ค่าโมเมนต์ในเสาที่มีความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 11 ที่เสาต้นริมและไม่เกินร้อยละ 24 ที่เสาต้นใน เมื่อเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนท์เอลเลเมนต์ หลักการส่วนใหญ่ของการวิเคราะห์ด้วยวิธีอย่างง่ายนี้จะคล้ายกับวิธีเฟรมเสมือน แต่จะแตกต่างกันเฉพาะค่าสติฟเนสเชิงบิด ในวิธีเฟรมเสมือนให้ความสำคัญกับขนาดเสาและความกว้างของพื้นเป็นตัวแปรหลัก แต่วิธีอย่างง่ายในงานวิจัยนี้จะให้ความสำคัญกับสัดส่วนความกว้างต่อความยาวช่วงของแผ่นพื้นเป็นตัวแปรหลัก ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีทั้งสองจึงให้ค่าที่แตกต่างกันพอสมควร หากสัดส่วนของขนาดเสาต่อความยาวช่วงเกินกว่า 1/9 หรือน้อยกว่า 1/11 แต่หากค่าสัดส่วนของขนาดเสาต่อความยาวช่วงอยู่ระหว่างค่านี้ การวิเคราะห์ด้วยวิธีอย่างง่ายและวิธีเฟรมเสมือนจะให้ค่าที่แตกต่างกันไม่เกินร้อยละ 20 การใช้ความสัมพันธ์ของสติฟเนสยึดโยงอาจพิจารณาเป็นเส้นตรงกับสัดส่วนความกง้างต่อความยาวช่วงของแผ่นพื้น หากสัดส่วนความกว้างต่อความยาวช่วงมีค่าระหว่าง 0.75-1.50 การวิเคราะห์ด้วยวิธีอย่างง่ายจะให้ค่าแตกต่างจากวิธีไฟไนท์เอลเลเมนต์ไม่เกินร้อยละ 10 | en_US |
dc.description.abstractalternative | A simplified method for analyzing flat plate structures in 2 dimensions has been developed from an analytical model of finite element in 3 dimensions, applying a concept of equivalent column as which stiffness depends on column stiffness and attached stiffness. However, the simplified method presented in this thesis introduces column stiffness and slab stiffness in accordance with prismatic member of constant cross-section. Attached stiffness or torsional stiffness is controlled by 2 major parameters as slab thickness and panel width to span ratio. The analytical model for determining relationship of the attached stiffness has been considered only when number of spans vary from 1 to 4. And it has been found that the attached stiffness is proportional to cubic of slab thickness and maybe represented in second degree polynomial of panel width to span ratio. The simplified method can be used for flat plate structures of any spans as panel ratio less than two. If panel width to span ratio less than 1.0, the solution of the simplified method will show well agreement with the finite element method as the variation within 3%. Some discrepancies are found when the width to span ratio is larger, but the maximum one has been shown up to 20% as for the width to span ratio is about 2.0. In case of multi-span structures with different span length, and the adjacent span is less than two, the deviation of bending moment at exterior column will be within 11% and within 24% of the one at interior columns, Conceptually the simplified method is similarly to the equivalent frame method, the difference is only the torsional stiffness as which column size and panel width becomes more influenced in the equivalent frame method while ratio of panel width to span becomes more critical in the simplified method. Comparison studies have found some discrepancies between these two methods if the column size to panel ratio is between 1/9 and 1/11. On the other hand, if ratio is beyond this limitation, the difference will be larger than 20%. The linear relationship of the attached stiffness with the panel width to span ratio has shown reasonable agreement with the finite element method when the panel width to span ratio is between 0.75-1.50 with discrepancies only10%. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แผ่นพื้นท้องเรียบ | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์โครงสร้าง (วิศวกรรมศาสตร์) | en_US |
dc.subject | ไฟไนต์เอลิเมนต์ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์โครงสร้างแผ่นพื้นท้องเรียบ ด้วยวิธีอย่างง่าย | en_US |
dc.title.alternative | A simplified method of analysis for flat plaie structures | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Ekasit.L@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Watanachai_sm_front.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watanachai_sm_ch1.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watanachai_sm_ch2.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watanachai_sm_ch3.pdf | 694.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watanachai_sm_ch4.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Watanachai_sm_ch5.pdf | 556.81 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Watanachai_sm_back.pdf | 5.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.