Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48331
Title: การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในงานวางแผนโครงสร้างจังหวัด : กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี
Other Titles: Application of geographic information systems in provincial structure planning : a case study of Changwat Chanthaburi
Authors: สุมิตรา พูลทอง
Advisors: วรรณศิลป์ พีรพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Wannasilpa.P@Chula.ac.th
Subjects: การวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด
แผนพัฒนาจังหวัด
การวิเคราะห์พื้นที่
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
จันทบุรี
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวางแผนโครงสร้างจังหวัดจันทบุรี ซึ่งครอบคลุมรายละเอียดในด้านการศึกษาและวิเคราะห์สภาพการณ์ทางกายภาพ เศรษฐกิจ ประชากร สังคมและการบริการขั้นพื้นฐาน การบ่งชี้สภาพปัญหาและพื้นที่ที่เกิดปัญหา ข้อจำกัดและศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่และการเสนอแนวทางการวางแผนพัฒนาพื้นที่ในลักษณะของแผนโครงสร้าง โดยจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและการบริการขั้นพื้นฐาน และประชากรของพื้นที่ศึกษา เข้าเป็นฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเรียกค้นข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพื่อวิเคราะห์โดยเทคนิคการซ้อนข้อมูลซึ่งอาศัยความสามารถของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยโปรแกรม ARC/INFO 3.4D และนำเสนอผลการศึกษาในรูปของแผนที่และรายงานที่ได้จากการทำงานโดยโปรแกรมดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า สภาพพื้นที่จังหวัดจันทบุรีเป็นทั้งภูเขาสูง ที่ดอน ที่ราบลูกฟูก และที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล เป็นผลให้เกิดความหลากหลายและความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาพื้นที่ดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์ในกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ เช่น เกษตรกรรม ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดินและป่าไม้ถูกทำลาย การเพาะเลี้ยงชายฝั่งซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อมชายฝั่ง และกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบเชื่อมโยงถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและกิจกรรมการพัฒนาอื่นๆ จากผลการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรน้ำ ดังนั้นการพัฒนาพื้นที่ศึกษาจึงมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม โดยพิจาณาทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ำเป็นหลัก โดยคำนึงถึงศักยภาพและข้อจำกัดของพื้นที่ แผนโครงสร้างจังหวัดจันทบุรีที่เสนอแนะประกอบด้วยแผนหลัก 4 แผน คือ แผนกรใช้ที่ดิน แผนระบบชุมชน แผนโครงข่ายคมนาคม และแผนพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว จากการทดลองประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวางแผนโครงสร้างจังหวัดจันทบุรี พบว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีประสิทธิภาพและความเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไข คือ ผู้ใช้จะต้องศึกษาถึงความเหมาะสมในการทำงานของระบบอย่างละเอียด และพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับขั้นตอนการทำงาน จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้อย่างสัมพันธ์กับลักษณะของงานวางแผน
Other Abstract: The objective of this thesis is to apply the Geographic Information Systems (GIS) in Chanthaburi Provincial Structure Planning. The works covers (I) the study and analysis of physical, economic, population, social and basic service conditions of the area ; (II) identification of its problems, constraints, and potentials; and (III) preparation of structure plan for the province. Basic information on physical, economic, social, basic service, and population conditions are stored in a GIS database. The data are then retrieved for analysis using the overlay technique available on the ARC/INFO 3.4D software. The results of the study are presented in maps and reports. It is found that the topological condition of Chanthaburi comprises mountains, uplands, rolling plains and coastal area. These variety and plentiful natural resources are significant to economic development of the province. Those areas have been utilized for various activities, i.e. agriculture, which have caused changes of landuse pattern and deforestation; and coastal aquaculture, which have affected the coastal environment, which, in turn, have caused problems relating to natural resources and other development activities. The analysis reveals that most problems within the area are relevant to the loss of natural resources and environment deteriorations, especially forest deterioration and water lackage in dry season. Therefore, it is recommended that the development of the study area should be emphasized on rehabilitation of the environment and natural resources, especially the forest and water resources. The potentials and constraints of the area should also be talking into consideration. The proposed structure plan of Chanthaburi comprises 4 major plans: Landuse plan, urban system plan, transportation development plan, and tourism development plan. The study also reveals that application of the GIS for spatial development planning is effective and preferable. However, the capability of the systems should be thoroughly studies and be appropriately applied by the user in order to make use of the systems for planning tasks.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48331
ISBN: 9745838705
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumitra_po_front.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Sumitra_po_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Sumitra_po_ch2.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Sumitra_po_ch3.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Sumitra_po_ch4.pdf22.39 MBAdobe PDFView/Open
Sumitra_po_ch5.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open
Sumitra_po_ch6.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
Sumitra_po_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.