Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48356
Title: การผลิตเทโทรโดทอกซินในหอยทราย Asaphis violascens หลังจากการเลี้ยงด้วยแบคทีเรียทะเล
Other Titles: Tetrodotoxin production in sand clam Asaphis Violascens after feeding on marine bacteria
Authors: วรพรรณี พจนสุนทร
Advisors: กาญจนา จันทองจีน
ประสาท กิตตะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jkanchan@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้คัดแยกแบคทีเรียที่สามารถสร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมในปริมาณสูง และแบคทีเรียไม่สร้างสารนี้จากหอยทราย หอยกระปุก และทรายบริเวณเกาะลีชังเพื่อใช้เป็นอาหารให้หอยกิน พบว่าเชื้อ vibrio alginolyticus มีความสามารถในการสร้างสารพิษดังกล่าวภายในเซลล์โดยการทดสอบกับเนื้อเยื่อได้สูงสุดภายในเวลา 24 ชั่วโมง และหลังจากการตรวจสอบยืนยันพบว่าสารกีดขวางช่องโซเดียมนั้น อาจเป็นสารในกลุ่มอนุพันธ์เทโทรโดทอกซิน เชื้อ corynebacterium matrucotii ไม่สามารถสร้างสารพิษได้ ในการตรวจสอบความเป็นพิษของเนื้อหอยทรายบริเวณเกาะลีชังที่ทำการเก็บตัวอย่างในเดือนมีนาคม 2535 ตรวจพบว่ามีความเป็นพิษ แต่ตรวจไม่พบความเป็นพิษในเดือนสิงหาคม 2538 ได้เลี้ยงหอยทราย และศึกษาเป็นเวลา 8 วัน โดยใช้อาหารชนิดต่างๆ 5 ชนิด ได้แก่แบคทีเรียสร้างพิษ (V.alginolyticus), แบคทีเรียไม่สร้างพิษ (C.matruchotii), สาหร่ายไม่สร้างพิษ (Tetraselmis sp.), สาหร่ายไม่สร้างพิษผสมกับแบคทีเรียสร้างพิษ และไม่มีการให้อาหาร จากการทดลองพบว่าหอยทรายหลังจากการเลี้ยงด้วยอาหารที่มีแบคทีเรียสร้างพิษจะสามารถสะสมสารพิษเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงปริมาณสูงสุดภายในเวลา 48 ชั่วโมง เช่นเดียวกันทั้งในระยะพิษต่ำและพิษสูง แต่ความเป็นพิษในตัวหอยทรายลดลงเมื่อหยุดให้อาหาร ส่วนในกลุ่มที่ให้อาหารที่ไม่มีพิษและชุดควบคุมพบว่าอาหารเหล่านี้ไม่สามารถทำให้หอยทรายทั้งในระยะพิษสูง และพิษต่ำมีพิษเพิ่มขึ้นได้ จากการตรวจสอบอนุพันธ์ของสารพิษในหอยทรายภายหลังการให้อาหารด้วยแบคทีเรียสร้างพิษด้วยวิธีเอช พี แอล ซี พบว่าเป็นสารใกล้เคียงกับอนุพันธ์ GTX2 และอนุพันธ์ CI ส่วนในการวิเคราะห์ด้วยวิธีลิควิดโครมาโตกราฟฟีแมสเปคโตรเมตรี พบสารที่อาจมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 300 ดาลตันเช่นเดียวกับที่ตรวจพบในแบคทีเรียสร้างพิษที่ใช้เป็นอาหาร ผลการทดลองแสดงว่าแบคทีเรียสร้างพิษมีบทบาทในการทำให้เกิดทั้งอนุพันธ์เทโทรโดทอกซินและอนุพันธ์พิษอัมพาตจากหอยในหอยทราย
Other Abstract: Two bacteria, sodium channel blooker (SCB) and non SCB producing strains, were isolated from sand clam, ridged venue clam, and surrounding sand collected from Sichang Island. Vibrio alginolyticus was isolated from these sources producing high level of intracellular toxin within 24 hours (by tissue culture assay), suggested that the SCB agents produced by Vibrio alginolyticus may be tetrodotoxin derivatives. Corynebacterium matracotii was a non-SCB producing strain. Sand clam (Asaphis violascense) collected from Sichang Island, in March (1995), was able to accumulate the toxins but it was not found to possess SCB-substance in August (1995). A feeding test of sand clams was carried out for 8 days. The clams were fed separately with toxic bacteria (V.alginolyticus), nontoxic bacteria (C.matruchotii), nontoxic algae (Tetraselmis sp.), toxic bacteria mixed with nontoxic algae, and diet group used as a control. The clams fed with toxic bacteria rapidly accumulated toxin reaching a maximum toxin level after 48 hours (both in high and low toxicity periods), but the toxin concentration decreased after the cessation of feeding. The clams fed with the nontoxic bacteria, algae and control group did not increase toxicity level. HPLC analysis confirmed that the blockers produced after feeding were likely to be GTX2 and CI, and liquid chromatographymass spectrometry showed that they may be the substance (M.W. 300 daltons) found in the toxic bacteria. The results suggested a possible role of paralytic shellfish toxin and tetrodotoxin producing bacteria as causative agents in sand clam toxicity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48356
ISBN: 9746343165
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worraphannee_po_front.pdf678.51 kBAdobe PDFView/Open
Worraphannee_po_ch1.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Worraphannee_po_ch2.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Worraphannee_po_ch3.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Worraphannee_po_ch4.pdf546.1 kBAdobe PDFView/Open
Worraphannee_po_back.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.