Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48394
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.authorสมศรี สัจจะสกุลรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T23:30:42Z-
dc.date.available2016-06-08T23:30:42Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.isbn9745849871-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48394-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความสามรถในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาล ในขั้นระบุปัญหา วิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ทางเลือก และการเลือกทางปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียน อัตมโนทัศน์ สภาพแวดล้อมทางคลินิกกับความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ตัวอย่างประชากรคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ซึ่งเรียนวิชาบังคับทุกวิชาในปีที่ 1 ครบถ้วนแล้ว วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 200 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดอัตมโนทัศน์ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางคลินิก และแบบวัดความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และความเที่ยง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ขั้นระบุปัญหา คือ 4.89 ใน 12 คะแนน ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 60.18 ใน 100 คะแนน ขั้นการวิเคราะห์ทางเลือก คือ 19.93 ใน 48 คะแนน และขั้นการเลือกทางปฏิบัติ คือ 9.97 ใน 24 คะแนน ทุกขั้นตอนจัดอยู่ในระดับปานกลาง 2. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ใช้แบบคิดในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาลอยู่ 2 แบบ ได้แก่ การคิดแบบรีบด่วนให้ข้อสรุป และการคิดแบบพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่มีนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ผู้ใดใช้แบบคิดในวงแคบหรือแบบคิดไม่มีหลักการ 3.กลุ่มตัวแปรพยากรณ์ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาล ในแต่ละขั้นตอนของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มีดังนี้ 3.1 ขั้นการระบุปัญหา ตัวพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและบรรยากาศในการทำงานของทีมการพยาบาล สามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันได้ร้อยละ 9.07 (R2 = .0907) 3.2 ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือความพร้อมในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษา ซึ่งอธิบายความแปรผันได้ร้อยละ 3.20 (R2 = .0320) 3.3 ขั้นการวิเคราะห์ทางเลือก ตัวพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือคะแนนที่เฉพาะวิชาการพยาบาลพื้นฐาน ภาคทฤษฎี ซึ่งอธิบายความแปรผันได้ร้อยละ 2.00 (R2 = .0200) 3.4 ขั้นการเลือกทางปฏิบัติตัวพยากรณ์ที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือสภาพแวดล้อมทางสถิติที่ระดับ .05 คือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งอธิบายความแปรผันได้ร้อยละ 5.34 (R2 = .0534)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to analyze the ability to make decision on nursing problems of first year nursing students in defining the problem, analyzing the data, analyzing, and choosing the alternatives; and to explore the relationships between academic achievement, self-concept, clinical environment, and the ability to make decision on nursing problems of first year nursing students. The samples were 200 freshmen who had completed all first year course requirements, selected by stratified random sampling. Research instruments were self-concept scale, clinical environment, and decision making ability test questionnaires developed by the investigator. All instruments were content validated by group of experts and tested for the reliability. Results of the study were as follows: 1. The mean scores of the ability to make decision on nursing problems of first year nursing students in the step of defining the problem, analyzing the data ,analyzing, and choosing the alternatives were 4.89 out of 12, 60.18 out of 100, 19.93 out of 48, and 9.97 out of 24, respectively, which all were at the middle level. 2. The first year nursing students used two thinking styles in making decision which were shotgun thinking and discriminating thinking styles. Neither of them used constrict thinking nor undiscriminating thinking styles. 3. The group of predictors of the ability to make decision on nursing problems of first year nursing students in each stage were as follows. 3.1 In the stage of defining the problem, the 9.07 percent of varience was explained by physical environment and nursing team interactions. 3.2 In the stage of analyzing the data, the 3.20 percent of varience was only explained by students’ readiness for clinical practice. 3.3 In the stage of analyzing the alternatives, the 2.00 percent of varience was only explained by T-score of theoretical part of nursing subject. 3.4 In the stage of choosing the alternatives, the 5.34 percent of varience was only explained by physical environment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาen_US
dc.subjectนักศึกษาพยาบาลen_US
dc.subjectสภาพแวดล้อมทางการเรียนen_US
dc.subjectการรับรู้ตนเองen_US
dc.subjectการตัดสินใจen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียน อัตมโนทัศน์ สภาพแวดล้อมทางคลินิก กับความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขen_US
dc.title.alternativeRelationships between academic achievement, self-concept, clinical environment, and the ability to make decision on nursing problems of first year nursing students, nursing colleges under the jurisdiction of the Ministry of Public Healthen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisoryuni_jintana@hotmail.com-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri_su_front.pdf8.68 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_su_ch1.pdf13.55 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_su_ch2.pdf9.3 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_su_ch3.pdf15.68 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_su_ch4.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_su_ch5.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_su_back.pdf6.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.