Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48410
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัญญพร ตันศิริคงคล-
dc.contributor.advisorวิภาพร พนาพิศาล-
dc.contributor.authorศุทธิเกียรติ สิริวรกุล-
dc.contributor.authorผกามาศ สีเมือง-
dc.contributor.authorศุภกัญญา ไพศาลจิตอาทร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-06-09T00:03:45Z-
dc.date.available2016-06-09T00:03:45Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.otherSepr 12/55 ค2.10-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48410-
dc.description.abstractสารสกัดเมล็ดลำไย มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ คือ สารประกอบโพลีฟีนอล ได้แก่ กรดแกลลิค โคริลาจิน และกรดเอลลาจิค ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับครีมชะลอริ้วรอยที่มีส่วนผสมของสารสกัดเมล็ดลำไย โดยทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบ ฟีนอลด้วยวิธี Folin-Ciocalteu เพื่อใช้พิจารณาปริมาณสำหรับเตรียมสูตรตำรับครีม ศึกษาผลและเปรียบเทียบสารก่ออิมัลชัน ได้แก่ TweenTM/SpanTM หรือ BrijTM และ MyrjTM ปริมาณ 2 ถึง 10 %w/w ของสูตรตำรับ ที่มีต่อลักษณะและความคงตัวทางกายภาพของครีมพื้น จากนั้นศึกษาความคงตัวทางกายภาพและทางเคมีของสูตรตำรับครีมที่มีสารสกัดเมล็ดลำไย ภายหลังผ่าน Heating-Cooling cycle 6 รอบ และประเมินปริมาณสารประกอบฟีนอลที่เหลืออยู่ เมื่อเก็บครีมที่อุณหภูมิ 40 oC เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดมีค่า IC50 ของฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 1.11 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลเท่ากับ 5.04 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อกรัมสารสกัด สูตรตำรับครีมพื้นที่มีลักษณะและความคงตัวทางกายภาพ และให้ความรู้สึกสัมผัสตามเกณฑ์กำหนด คือ ครีมพื้นชนิดนํ้ามันในนํ้าที่ใช้ MyrjTM 4 %w/w ของสูตรตำรับ เป็นสารก่ออิมัลชัน จึงพัฒนาสูตรตำรับครีมที่มีสารสกัดเมล็ดลำไย ความเข้มข้น 4 และ 6 %w/w พบว่าครีมทั้ง 2 ตำรับ มีความคงตัวทางกายภาพภายหลังผ่าน Heating-Cooling cycle 6 รอบ และสูตรตำรับครีมที่มีสารสกัดเมล็ดลำไย ความเข้มข้น 4 และ 6 %w/w มีปริมาณสารประกอบฟีนอลเหลืออยู่ 94.13 และ 97.78 %LA ภายหลังผ่านสภาวะเร่ง 2 สัปดาห์ และ 84.54 และ 94.90 %LA ภายหลังผ่านสภาวะเร่ง 4 สัปดาห์ ตามลำดับen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเมล็ดลำไยen_US
dc.subjectการสกัดen_US
dc.titleการพัฒนาสูตรตำรับครีมชะลอริ้วรอยที่มีส่วนผสมของสารสกัดเมล็ดลำไยen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Anti-aging Cream containing Longan Seed Extracten_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.subject.keywordครีมชะลอริ้วรอยen_US
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttikiat_Si.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.