Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48481
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีชา คุวินทร์พันธุ์-
dc.contributor.authorสมพงศ์ บัวชาบาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-09T06:41:03Z-
dc.date.available2016-06-09T06:41:03Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn97456879467-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48481-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนุเคราะห์เด็กนอร์เว จังหวัดขอนแก่น บ้านฝางและบ้านหนองกุงเป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่เลือกศึกษาโดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการโครงการ ผู้ร่วมเป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกในโครงการต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างทางด้านสาภาพแวดล้อมชุมชน มีผลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนา จากการที่บ้านฝางมีสภาพกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองในหมู่บ้าน วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการมีส่วนร่วมอันได้แก่ พื้นที่ที่เหมาะสมกับโครงการทางด้านการเกษตร คนอพยพไปทำงานนอกชุมชนน้อย มีกลุ่มผู้นำที่รวมตัวกันคอยกระตุ้นให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในกิจกรรม คนส่วนใหญ่ในชุมชนมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน เป็นต้น มีผลทำให้โครงการต่างๆ สามารถดำเนินไปอย่างมีความก้าวหน้า แต่ที่บ้านหนองกุงพบว่า เงื่อนไขต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาในลักษณะที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ไม่เหมาะสมต่อความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนความคิดในการแก้ปัญหาของชาวบ้าน ทำให้โครงการพัฒนาต่างประสบผลสำเร็จน้อย ในด้านการมีส่วนร่วมนั้น พบว่า นอกจากจะพิจารณาจากจำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการจำนวนโครงการและวัตถุที่เพิ่มขึ้น ยังต้องพิจารณาในด้านคุณภาพ คือ คนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของตน ในขั้นตอนการพัฒนาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ เพราะถ้าประชาชนสามารถเข้าร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนา คือ 1. ค้นหาปัญหา วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข 2. ตัดสินใจเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาวางโครงการ 3. ปฏิบัติตามโครงการที่วางไว้ 4. มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 5. ประเมินผลโครงการ จึงจะแสดงให้เห็นว่า คนในชุมชนเป็นผู้ทำการพัฒนา ไม่ใช่รอรับผลการพัฒนาอย่างเดียว การมีส่วนร่วมเช่นนี้ ทำให้การพัฒนาเกิดความต่อเนื่อง เช่น ที่บ้านฝาง แม้ว่าองค์การจะออกมาจากชุมชนแล้ว แต่คนในชุมชนก็ยังคงดำเนินการพัฒนาได้ตรงกันข้ามกับที่บ้านหนองกุง ชาวบ้านมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างจำกัด จึงไม่สามารถสืบต่อการพัฒนาจากองค์การฯได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to compare and contrast people's participation in village activities in two villages sponsored by the REDD BARNA in Khon Kaen province. Ban Fang and Ban Nongkung were the selected villages. Qualitative research methods i.e. participant observation and informal interviews were employed to gain intensive data from village informants including village leaders, project committees, and both members and non-members of the projects. It was found that differences in natural and social environments between the two villages resulted in different degree of people's participation. Ban Fang occupied more favovable physical as well as economic, social political, cultural and historical conditions such as good land for promotion of agricultural activities, less member of out-migration, good cooperation from village leaders for village participation in various projects, kinship ties and so on. Progress in most projects in Ban Fang were due to these conditions. In contrast, Ban Nongkung had less favovable conditions to encourage successful project in the same maner. People were less interested in involving in development activities. Many pojects were not suitable for village problems. It was also found that not only increasing number of Villager participants and/or number of projects and supporting materials, but also appropriate participation in all steps of the development process had to be taken into consideration. These steps were : 1. Finding the problems of community 2. Decision making 3. Implementation 4. Benefits 5. Evaluation. Unless villagers participated properly in those processes, the development projects would not be successful and also villagers would not be capable of keeping on all the projects. Villages in Ban Fang had shown that they were capable of taking over all the project themselves, whereas villagers in Ban Nongkung could not do the same without support from the organization.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชนen_US
dc.subjectองค์การการอนุเคราะห์เด็กนอร์เวen_US
dc.titleการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการพัฒนา : ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุน จากองค์การอนุเคราะห์เด็กนอร์เว จังหวัดขอนแก่นen_US
dc.title.alternativePeople's participation in development activities : a case study of redd barna sponsored involvement in rural development in khon kaenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPreecha.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_bu_front.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_bu_ch1.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_bu_ch2.pdf7.87 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_bu_ch3.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_bu_ch4.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_bu_ch5.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_bu_ch6.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_bu_back.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.