Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48517
Title: | การผลิตปุ๋ยหมักจากฟางข้าวและน้ำกากส่า โดย Aspergillus sp. |
Other Titles: | Production of organic fertilizer from rice straw and molasses waste water by Aspergillus sp. |
Authors: | วรรณดี สุประดิษฐ์อาภรณ์ |
Advisors: | ประกิตติ์สิน สีหนนทน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาเปรียบเทียบการทำปุ๋ยหมักจากฟางข้าวผสมกับแหล่งไนโตรเจนชนิดต่างๆ ได้แก่ น้ำกากส่า กากมันสำปะหลัง แอมโมเนียมไนเตรท และฟางข้าวหมักกับน้ำซึ่งเป็นตัวควบคุม พบว่า น้ำกากล่ำเป็นแหล่งไนโตรเจนได้ดีที่สุด เนื่องจากภายหลังการย่อยสลาย 128 วัน อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนของฟางข้าวผสมน้ำกากส่าลดลงเท่ากับ 10.92 ซึ่งมีค่าต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับฟางข้าวผสมกากมันสำปะหลัง แอมโมเนียมไนเตรท และฟางข้าวหมักกับน้ำ ซึ่งอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนของฟางข้าวลดลงเหลือเพียง 21.78, 15.42 และ 28.73 ตามลำดับ จากการศึกษาทางจุลชีววิทยา พบว่า ฟางข้าวผสมน้ำกากส่าปริมาณ 4500 กรัม มีแคทีเรียสูงสุดเท่ากับ 7.7x1010 และรา 4.0x107 โคโลนีต่อกรัมฟางข้าวหมัก เมื่อบ่มที่ 30 องศาเซลเซียส และเมื่อบ่มที่ 45 องศาเซลเซียส มีแบคทีเรียสูงสุดเท่ากับ 1.15x1010 และรา 8.0x106 โคโลนีต่อกรัมฟางข้าวหมัก ส่วนฟางข้าวที่ไม่เติมน้ำกากส่าพบเชื้อแบคติโนมัยซีสสูงสุดเท่ากับ 1.2x104 โคโลนีต่อกรัมฟางข้าวหมัก เมื่อบ่มเชื้อที่ 45 องศาเซลเซียส คัดเลือกเชื้อราที่ผลิตเอ็นไซม์เซลลูเลสได้สูงสุด พบว่า เป็นรา Aspergillus sp, และรา Aspergillus sp. นี้ สามารถผลิตเอ็นไซม์เซลลูเลสคาร์บอนซิเมทธิลเซลลูเลส และเบตา-กลูโคซีเดสได้สูงสุดเท่ากับ 4.82x101, 8.7x101 และ 44.2x101 หน่วยต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ นำรา Aspergillus sp. มาหมักรวมกับฟางข้าวผสมน้ำกากส่า แอมโมเนียมไนเตรท และฟางข้าวที่ไม่มีแหล่งไนโตรเจน เปรียบเทียบกับฟางข้าวที่ไม่ใส่เชื้อ พบว่า ในช่วงแรกของการหมักการใส่รา Aspergillus sp. ลงในฟางข้าวผสมน้ำกากส่า และฟางข้าวที่ไม่มีแหล่งไนโตรเจนทำให้อัตราการย่อยสลายดีกว่าการไม่ใส่เชื้อ ในขณะที่การใส่เชื้อรา Aspergillus sp. ลงในฟางข้าวผสมแอมโมเนียมไนเตรท ให้ผลไม่แตกต่างจากการไม่ใส่เชื้อ |
Other Abstract: | Comparative studying of making composts were done by mixing rice straw with different nitrogen sources such as molasses waste water, citric acid wastes, ammonium nitrate and water, which was used as control. The results showed that molasses waste water was the best nitrogen source. Since after 128 days of decomposition C:N ratio of rice straw mixing with molasses waste water was reduced to 10.92 which is the lowest C:N ratio, when compared with using citric acid waste, ammonium nitrate and water, which were reduced to 21.78, 15.42 and 28.73 respectively. Microbiological quantitative studies showed that rice straw mixed with 4500 grams of molasses waste water gave the highest count of bacteria and fungi, which were 7.7x1010 and 4.0x107 colony per gram of rice straw when incubated at 30oC respectively. It also gave the highest count of bacteria and fungi, which were 1.15x1010 and 8.0x106 colony per gram of rice straw when incubated at 45 oC respectively. It also found that composting rice straw only gave the highest number of actinomycetes, which were 1.2x104 colony per gram of rice straw at 45 oC. Isolation and selection of cellulose decomposing fungi found that Aspergillus sp. Gave highest enzyme activity of cellulose, carboxymethylcellulase and B-glucosidase, which were 4.82x101, 8.7x101 and 44.2x101 unit per ml, respectively. Additional inoculums of Aspergillus sp. To rice straw mixed with molasses waste water, rice straw with ammonium nitrate and rice straw without nitrogen source then compared with rice straw only. The early period of decomposition showed that additional Aspergillus sp. To rice straw mixed with molasses waste water or rice straw only could be increasing decomposition rate that the one without adding Aspergillus sp. Comparing decomposition rate between rice straw mixed with ammonium nitrate and Aspergillus sp. and without Aspergillus sp. showed no different significant. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48517 |
ISBN: | 9745762253 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wandee_sup_front.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_sup_ch1.pdf | 502.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_sup_ch2.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_sup_ch3.pdf | 495.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_sup_ch4.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_sup_ch5.pdf | 8.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_sup_ch6.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_sup_back.pdf | 4.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.