Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48520
Title: งานอันเป็นวัตถุแห่งลิขสิทธิ์
Other Titles: Subject matters of copyright
Authors: สมพล พรพัฒนเลิศกุล
Advisors: ธัชชัย ศุภผลศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ลิขสิทธิ์
ทรัพย์สินทางปัญญา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ที่ได้สร้างสรรค์งานขึ้นโดยทุ่มเทสติปัญญา ความวิริยะ อุตสาหะ ในการก่อให้เกิดงานขึ้นมาอันเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในการที่จะได้ใช้ประโยชน์จากงานนั้น ดังนั้น “งาน (work)”จึงเป็นสาระสำคัญประการหนึ่งของกฎหมายลิขสิทธิ์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวัตถุแห่งลิขสิทธิ์ วิวัฒนาการในการให้ความคุ้มครองงานอันเป็นวัตถุแห่งลิขสิทธิ์ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของสังคม เศรษฐกิจ และวิทยาการด้านต่างๆ แต่เดิมนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์มุ่งคุ้มครองงานวรรณกรรมเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาจึงได้มีการให้ความคุ้มครองมาถึงงานศิลปกรรม งานนาฏกรรม งานดนตรีกรรม ฯลฯ แม้กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยก็มีวิวัฒนาการในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน เหตุผลในการที่แต่ละประเทศได้ขยายการคุ้มครองประเภทของงานต่างๆ ออกไปก็เพราะมองเห็นความสำคัญของงานประเภทต่างๆ เหล่านั้น และเห็นว่าเหมาะสมสำหรับสังคมของตนในการให้ความคุ้มครองงานเหล่านั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว ประเภทของงานซึ่งได้รับความคุ้มครองในแต่ละประเทศจึงหาได้เหมือนกันไม่ งานบางประเภทอาจได้รับความคุ้มครองในประเทศหนึ่ง ในทางตรงกันข้ามอาจไม่ได้รับความคุ้มครองในอีกประเทศหนึ่งก็ได้ วิทยานิพนธ์นี้ได้พยายามวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับงานอันเป็นวัตถุแห่งสิทธิ์ในสาระสำคัญดังนี้ ประการแรก ปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะพิเศษเป็นองค์ประกอบของงานอันมีลิขสิทธิ์ คุณสมบัติต่างๆ ที่มีลักษณะสากลโดยสรุปมี 5 ประการคือ 1. การจดทะเบียน 2. การโฆษณา 3. หลักการบันทึกงานให้ปรากฏ (fixation) 4. หลัก originality 5. หลักที่ว่างานอันขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ความได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดีคุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้กฎหมายลิขสิทธิ์ของแต่ละประเทศหาได้เหมือนกันไม่ บางประเทศต้องการมาก บางประเทศต้องการน้อย สำหรับกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยในปัจจุบันพบว่าต้องการคุณสมบัติเพียงบางประการเท่านั้น คุณสมบัติที่ต้องการอย่างชัดแจ้ง ได้แก่ การโฆษณา งานและหลัก originality ส่วนหลักที่ว่างานที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันของประชาชน ไม่ควรได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น โดยเหตุผลต่างๆ ได้จากการวิจัยควรถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งที่กฏหมายลิขสิทธิ์ของไทยในปัจจุบันต้องการด้วย ปัญหาที่น่าสนใจคือหลักการบันทึกงานให้ปรากฏ (fixation) และหลักที่ว่างานที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ควรได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายลิขสิทธิ์ซึ่งในปัจจุบันเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันอย่างมาก ประการที่สอง ปัญหาเกี่ยวกับประเภทของงานซึ่งจำแนกได้ดังนี้ ก.ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของงานประเภทต่างๆ ตามที่มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 บัญญัติรับรองไว้ทั้งสิ้น 8 ประเภท วิทยานิพนธ์นี้ได้วิจัยถึงความหมายและขอบเขตของงานแต่ละประเภทว่ามีขอบเขตแค่ไหน เพียงใด ปัญหาที่น่าสนใจได้แก่ งานศิลปะประยุกต์ และงานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ โดยเฉพาะงานในแผนกวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องถึงเรื่องคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ และส่งผลถึงการคุ้มครองงานอันมิลิขสิทธิ์ของต่างประเทศด้วย ข.ปัญหาเกี่ยวข้องกับงานสร้างสรรค์บางอย่างว่าสมควรจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 หรือไม่ ได้แก่ 1. คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ (Computer Software) 2. แผนแบบทางด้านอุตสาหกรรม (Industrial designs) 2. แผนแบบทางด้านอุตสาหกรรม (Industrial designs) 3. เครื่องหมายการค้า (Trademarks) และเครื่องหมายบริการทางการค้า (Service mark) 4. แบบตัวพิมพ์ (Typefaces) 5. งานจัดรูปเล่มและเรียบเรียงตัวอักษร (Typographical arrangements) ในประเด็นปัญหาแรกเกี่ยวกับคุณสมบัติ หรือลักษณะพิเศษซึ่งเป็นองค์ประกอบของงานอันมีลิขสิทธิ์ พบว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยมีวิวัฒนาการมาจากกฎหมายลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ รวมตลอดถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศ การสร้างความเข้าใจกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงหลักการ ทฤษฎีและระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ รวมทั้งอนุสัญญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศด้วยเพื่อค้นหาเหตุผล เจตนารมณ์ และหลักการบางอย่าง ดังนั้นการศึกษากฏหมายลิขสิทธิ์ของต่างประเทศจึงมีความจำเป็นต่อการตีความกฏหมายลิขสิทธิ์ของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในประเด็นปัญหาที่สองเกี่ยวกับประเภทของงาน พบว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ยังบัญญัติไว้ไม่ชัดเจนเพียงพอ เช่น ปัญหาเรื่องความหมายงานบางอย่างได้แก่ งานศิลปประยุกต์ งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือ แผนกศิลปะ นอกจากนั้นยังมีปัญหาในงานบางอย่างว่าจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ เช่น คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ ซึ่งในการตีความปัญหาเหล่านี้ควรจะอิงอยู่กับแนวความคิดพื้นฐานที่ว่าการคุ้มครองลิขสิทธิ์มุ่งคุ้มครองงานอันเกิดจากการสร้างสรรค์ทางปัญญา ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ในกรณีที่ตัวบทกฎหมายบัญญัติประเภทของงานไว้ไม่ชัดเจนก็ควรจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกฏหมายลิขสิทธิ์ด้วย เพื่อนำมาวินิจฉัยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งควรจัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ได้หรือไม่ นอกจากนั้นการที่วิทยาการก้าวหน้าขึ้น ย่อมเป็นไปได้ว่าสิ่งสร้างสรรค์ที่เกิดจากสติปัญญาของมนุษย์จะเพิ่มมากขึ้น กฎหมายลิขสิทธิ์จึงควรพัฒนาไปเพื่อคุ้มครองิฃสิ่งเหล่านั้นในฐานะงานอันมีลิขสิทธิ์เช่นเดียวกัน
Other Abstract: Copyright law is intended for the protection of and author who creates a work with his own intelligence and diligence for the benefits of all mankind. Therefore , the “work” being considered as subject matters of copyright signifies a very important substance in copyright law. The protection of copyright evolves with social, economic and technological development. Formerly, copyright law was mostly of protection was expanded to include artistic dramatic, musical works and others. The evolution of copyright law in Thailand in of the importance and suitability for society of each work, to extend the scope of the protection of copyright. Hence, some protected works in one country may be beyond protection in another country. This thesis aims at analyzing problems on subject matters as follows:- 1. Problems concerning five characteristics for a copyrighted work in general, namely, registration, publication, fixation originality and a work contrary to public order or morality. The copyright law of some country require all of those qualifications while others require some of them. Regarding copyright law of Thailand, only publication and originality are clearly specified but fixation and a work contrary to public order and morality are still controversial problems. 2. Problems concerning work classification are as follows:- 2.1) 8 types of work under section 4 in copyright Act B.E. 2521 (1978). This thesis deals with meaning and scope of work in each type. Interesting problems arise in the types of “work of applied arts” and “any other work in the literary, scientific or artistic domain”, as regards computer softwares and also the international protection of copyright. 2.2) Whether or not such creative works as computer software, industrial designs, trademarks, service mark, typefaces and typographical arrangements are copyrightable. With regard to problem No. 1 ; since in Thai Copyright Act derives from foreign laws and international conventions, it is inevitable to study copyright theories and systems of foreign law as well as international conventions so as to understand Thai copyright act. With respect to problem No. 2, the legislation of Copyright Act B.E. 2521 (1978) are not clear enough. To solve problems like meanings of “work of applied arts” and “any” other work in the literary, scientific or artistic domain” or whether computer software is under protection of copyright or not and etc.,the protection of the creation of a work with intelligence and diligence of its author becomes first priority. And in case of unclear legislation of copyright law, intent of copyright law and the advance of technology should also be taken into consideration.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48520
ISBN: 9745663131
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompol_po_front.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Sompol_po_ch1.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open
Sompol_po_ch2.pdf11.5 MBAdobe PDFView/Open
Sompol_po_ch3.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open
Sompol_po_ch4.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Sompol_po_back.pdf883.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.