Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48577
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรกับระดับการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการเนปโฟรติค |
Other Titles: | Relationships between selected variables and levels of self-care of nephrotic syndrome patients |
Authors: | ศิริวรรณ ตันนุกูล |
Advisors: | นพรัตน์ ผลาพิบูลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ไต, โรค -- การป้องกันและรักษา กลุ่มอาการเนโฟรติค ผู้ป่วย |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรคัดสรรต่างๆ กับระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการเนปโฟรติค ตลอดจนศึกษาถึงระดับความรู้และระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการเนปโฟรติคโดยส่วนรวม พร้อมทั้งหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนการดูแลตนเองและคะแนนความรู้เรื่องโรคไตกลุ่มอาการเนปโฟรติค กลุ่มตัวอย่างประชากร เป็นผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการเนปโฟรติคที่มาติดตามการรักษาที่คลีนิคโรคไตของแผนกผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยที่รับไว้รักษาตัวในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลรัฐบาลที่มีขนาด 300 เตียงขึ้นไป และมีสถาบันผลิตพยาบาลระดับวิชาชีพเป็นหน่วยงานรวมอยู่ด้วย กลุ่มตัวอย่างประชากรมีจำนวน 90 คน ใช้วิธีสุ่มแบบ Self Selected Samples โดยใช้กลุ่มตัวอย่างประชากรจากโรงพยาบาลตามเกณฑ์ทั้งหมดในเขตกรุงเทพมหานครรวม 7 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง นำแบบสอบถามไปหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่านและหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77 และ 0.76 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย คะแนนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความถี่ของระดับคะแนนการดูแลตนเองและระดับคะแนนความรู้เรื่องโรคไตกลุ่มอาการเนปโฟรติค แล้วทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-Square) พร้อมทั้งหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนความรู้และคะแนนการดูแลตนเองของผู้ป่วย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยระดับความรู้เรื่องโรคไตและคะแนนเฉลี่ยระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการเนปโฟรติคโดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรต่างๆ กับระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วย พบว่า ความสัมพันธ์นั้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ อายุ เพศ ระยะเวลาของการรักษา แต่ปัจจัยคัดสรรต่างๆ ได้แก่ รายได้ครอบครัวต่อเดือน จำนวน ครั้งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกับระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วย พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเฉพาะระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับระดับการดูแลตนเองของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. คำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนการดูแลตนเองของผู้ป่วยและคะแนนความรู้เรื่องโรคไตกลุ่มอาการเนปโฟรติคของผู้ป่วย ได้ค่าเท่ากับ 0.5977 และ ผลการทดสอบความมีนัยสำคัญ พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the relationships between the selected variables and the levels of self-care of nephritic syndrome patients, including to study the levels of knowledge and the levels of self-care of nephritic syndrome patients as a whole. The correlation of the scores of the self-care and the scores of the levels of knowledge of nephritic syndrome patients. The selected samples were the nephritic syndrome patients who attended the kidney clinics of the out patient departments and who were admitted to be treated in the governmental hospital having the capacity of 300 beds or more and having the schools of nursing affiliated. The self-selected samples has been used for selection 90 of patients. The samples were selected from 7 hospitals in Bangkok Metropolis. The questionnaire has been used for this research was developed by the researcher. The instruments were tested for content validity, it has been validated by ten of the qualified professional people in health team. The reliability has been tested by the Cronbach’s alpha coefficient. Its' reliability was 0.77 and 0.76. The data were analysed by using various statistical methods such as; percentage, mean, standard deviation, frequency of the levels of self-care and the levels of knowledge, chi-Square test, and Pearson’s product moment correlation coefficient method. The Majors Findings 1. The mean score of the levels of knowledge and the mean score of the levels of self-care of nephritic syndrome patients were at the middle level. 2. There were no relationships significantly between the selected variables in age, sex, duration of treatments and the levels of self-care in nephritic syndrome patients at the .05 level. But there were positive relationship significantly between the selected variables in family incomes, numbers of admission of the nephritic syndrome patients and the levels of self-care in nephritic syndrome patients at the .05 level. There was significantly relationship between educational level and the self-care levels at the .01 level. 3. The Pearson’s Products moment correlation coefficient between the self-care scores and the knowledge scores was 0.5977, and it was statistically significant at the .001 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48577 |
ISBN: | 9745621943 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siriwan_tu_front.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_tu_ch1.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_tu_ch2.pdf | 3.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_tu_ch3.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_tu_ch4.pdf | 987.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_tu_ch5.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_tu_back.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.