Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/486
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Other Titles: | Development of teachers' and students' role indicators in basic education research-based instruction |
Authors: | ตันหยง วิทยานนท์, 2524- |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ลิสเรลโมเดล การเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้บทบาทของครูและนักเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวจัย คือครูและนักเรียนในโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน (วพร.) จำนวน 190 คน และ 308 คน ตามลำดับ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย คือ บทบาทครูและนักเรียนในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 13.00 ในการวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงบรรยาย และใช้โปรแกรม LISREL 8.53 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทครูในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X[square] = 13.15 p = 0.99, GFI = 0.990, AGFI = 0.969) น้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ย่อยทั้ง 14 ตัว มีค่าเป็นบวก ขนาดตั้งแต่ 0.81 - 1.00 ซึ่งถือว่ามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูง คือ การจัดทำแผนการสอนการจัดสถานการณ์ การแนะนำแหล่งข้อมูล การอภิปรายร่วมกับนักเรียน การประเมินทักษะการวิจัยของนักเรียนและการนำผลการประเมินไปพัฒนา ค่าน้ำหนักองค์ประกอบตัวบ่งชี้บทบาทครูในขั้นการเรียนการสอนทั้ง 6 ขั้นมีค่าเป็นบวกขนาดตั้ง 0.82-1.00 ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกัน ตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูง คือตัวบ่งชี้บทบาทครูในขั้นสอนตัวบ่งชี้บทบาทครูในขั้นสรุป และตัวบ่งชี้บทบาทครูในขั้นประเมิน โดยตัวบ่งชี้ในแต่ละขั้นดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนในโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทครูในการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานได้ ร้อยละ 97, 97 และ 95 ตามลำดับ 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X[square] = 6.93 p = 0.995, GFI = 0.996, AGFI = 0.987) น้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ย่อยทั้ง 10 ตัว มีค่าเป็นบวกขนาดตั้งแต่ 0.82-1.00 โดยตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนักสูงคือ การระบุประเด็นวิจัย การสืบค้นข้อมูล การอภิปรายผลการวิจัย การประเมินการนำเสนอผลการวิจัย การแก้ไขจุดบกพร่องตามครู ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในชั้นการเรียนการสอนทั้ง 5 ขั้นนั้น มีค่าเป็นบวกและมีขนาดตั้งแต่ 0.44-0.56 ซึ่งถือว่ามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงคือ ตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในขั้นปรับปรุง ตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในขั้นประเมิน และตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในขั้นสรุป สามารถอธิบายความแปรปรวนในโมเดลตัวบ่งชี้บทบาทนักเรียนในการเรียนการสอนแบบ RBI ได้ร้อยละ 89, 79 และ 85 ตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop teachers' and students' role indicators in basic education research-based instruction and 2) to validate model of teachers' and students' role indicators in basic education research-based instruction based on theoretical concept and empirical data. The participants of this research were 190 teachers and 308 students in Research and Development of Whole School Learning Process Reform Project (RDL). The research variables were teachers' and students' role indicators in basic education research-based instruction. The research tools were questionnaires and the research data were analyzed by employing SPSS for Window version 13.00 for basic descriptive data analysis and LISREL 8.53 for second order confirmatory factor analysis. The research results were as follows: 1) The result of second order confirmatory factor analysis of the model of teachers' roles indicators in basic education research-based instruction were found that model was fitted with empirical data (X[square] = 13.15, p= 0.99, GFI=0.990, AGFI=0.969), factor loading of 14 indicators were positive, their size were from 0.81-1.00 which had similar size. The high factor loading indicators were making lesson plan, arranging situation, advising resources, discussing with students, evaluating students' research skills, and developing evaluational outcomes. Factor loading of teachers' role indicator in 6 stages of learning and instruction stage were positive, their size from 0.82-1.00 which had similar size. The high factor loading indicators were teachers' role indicators in instruction stage, conclusion stage, and evaluation stage which the factor loading was 0.82-1.00 and the model of indicators accouted for 97%, 97% and 95% respectively of variance of model of teachers' role indicators for research based instruction. 2) The result of second order confirmatory factor analysis of the model of students' roles indicators in basic education research-based instruction were found that model was fitted with empirical data (X[square] = 6.93, p= 0.995, GFI=0.996 ,AGFI=0.987), factor loading of 10 indicators were positive, their size were from 0.82-1.00 and had positive .The higher factor loading indicators were indentifying research point, investigating data , discussing research result, evaluating research result presentation and improving wearkness point from teacher. Factor loading of students' role indicator in 5 stages of learning and instruction were positive, size from 0.44-0.56 which were similar size. The highest factor loading was students' role indicator in improve stage, evaluation stage, and conclusion stage, the model of indicators accouted for 89%, 79% and 85% respectively of variance in the students' role indicators for research based instruction. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/486 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.951 |
ISBN: | 9745320757 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.951 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tanyong.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.