Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48644
Title: | ความคาดหวังในการจัดการบริการด้านการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพของสมาชิกศูนย์สุขภาพ ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Expectation of health and fitness center members on management of health promoting exercise services in Bangkok Metropolis |
Authors: | วีระวัฒน์ ปัญญาบูรพา |
Advisors: | ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Thanomwong.K@Chula.ac.th |
Subjects: | การออกกำลังกาย ความคาดหวัง (จิตวิทยา) |
Issue Date: | 2537 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคาดหวังในการจัดการบริการด้านการออกกำลังกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพของสมาชิกชายกับสมาชิกหญิง ของศูนย์สุขภาพ ในกรุงเทพมหานคร โดยส่งแบบสอบถามไปยังสมาชิกที่มาใช้บริการของศูนย์สุขภาพจำนวน 360 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 360 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1. สมาชิกชายและสมาชิกหญิงมีความคาดหวังในการจัดการบริการด้านการออกกำลังกาย ด้านช่วงวัน-เวลาในการออกกำลังกาย ในระดับมาก คือ วันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์) ช่วงเวลาเย็นหลังเลิกงาน (16.30-19.00) ด้านกิจกรรมในการออกกำลังกายคือ การวิ่ง ว่ายน้ำ ส่วนด้านวิชาการ (ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย) ด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านบุคลากรผู้ให้บริการ อยู่ในระดับมากเกือบทุกข้อ 2. เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ความคาดหวังในการจัดการบริการด้านการออกกำลังกายของสมาชิกชายกับสมาชิกหญิง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เกือบทุกข้อ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study and compare expectation of health and fitness center between male and female members on management of health promoting exercise services in Bangkok Metropolis. Questionnaires were sent to 360 health and fitness center members. All questionnaires were returned and the obtained data were analyzed in tern of percentage, means, standard diviation and then calculated the different means by using t-test. The major results were as follow : 1. Health and fitness center male and female members had a expectation on management of health promoting exercise services at the high level on the preferred exercising time was in the evenings on working days and the preferred physical activities was running and swimming. In terms of knowledge of exercise, facilities and equipment, and exercise activity leaders were mostly at the high level. 2. The comparison mean of expectation on management of health promoting exercise services between male and female members showed that there were mostly no statistically significant difference at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48644 |
ISBN: | 9745845248 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weerawat_pa_front.pdf | 837.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerawat_pa_ch1.pdf | 955.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerawat_pa_ch2.pdf | 2.96 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerawat_pa_ch3.pdf | 491.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerawat_pa_ch4.pdf | 953.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerawat_pa_ch5.pdf | 994 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Weerawat_pa_back.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.