Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48760
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภร สุวรรณาศรัย-
dc.contributor.authorสถาพร ทัศวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T07:16:04Z-
dc.date.available2016-06-10T07:16:04Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745640697-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48760-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์สถานภาพ ความต้องการ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อการสอนของอาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ประชากรที่ใช้เป็นคณาจารย์ที่สุ่มตัวอย่างง่ายจากประชากรทั้งสิ้นจำนวน 620 คน และได้จำนวนสุ่ม 469 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 75.65 จากประชากรทั้งสิ้น แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ที่ส่งออกไปได้รับคืนมาจำนวน 337 ชุด คิดเป็นร้อยละ 71.86 แบบสัมภาษณ์ สำหรับผู้รับผิดชอบงานสื่อการสอนของแต่ละคณะจำนวน 7 ชุด นำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าทางสถิติ โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. สถานภาพสื่อการสอนในสาขาวิทยาศาสตร์ อาจารย์ส่วนใหญ่ได้รับความรู้และประสบการณ์ทางสื่อการสอนโดยการสังเกตการใช้สื่อการสอนของผู้อื่น และฝึกการใช้สื่อสารสอนด้วยตนเอง วิธีสอนที่อาจารย์ใช้คือการบรรยายแล้วมีสื่อการสอนมาประกอบด้วย นอกจากนั้นก็สนับสนุนให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากห้องสมุด อาจารย์ส่วนใหญ่ผลิตสื่อการสอนมาจากหน่วยโสตทัศนศึกษาในคณะ คณะแพทยศาสตร์มีอุปกรณ์สื่อการสอนอยู่ในความรับผิดชอบมากกว่าคณะอื่น สื่อการสอนที่อาจารย์ใช้อยู่ในเกณฑ์มากที่สุดคือเอกสารและตำรา ที่อยู่ในเกณฑ์ใช้มากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ภาพประกอบการสอน เครื่องฉายสไลด์ การทดลองหรือปฏิบัติการ และของจริง 2. ความต้องการในการใช้สื่อการสอนของอาจารย์เมื่อเทียบกับสภาพการใช้ในปัจจุบันปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยของความต้องการใช้สื่อการสอนทุกชนิดมีมากกว่าสภาพการใช้ในปัจจุบันทั้งสิ้น สื่อการสอนที่อาจารย์มีความต้องการใช้อยู่ในเกณฑ์มากที่สุดคือ เอกสารและตำรา ที่อยู่ในเกณฑ์มากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ ภาพประกอบการสอน การทดลองหรือปฏิบัติการ ของจริง การสาธิต แผนภูมิ แผนสถิติและโปสเตอร์และของตัวอย่าง ส่วนความต้องการที่จะได้รับบริการทางด้านสื่อการสอนค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์มากอันดับแรก ๆ ได้แก่ การช่วยผลิตสื่อการสอนบางอย่างตามที่ต้องการ มีห้องผลิตสื่อการสอนพร้อมวัสดุ อุปกรณ์ที่จำอวยความสะดวกในการผลิต มีห้องเก็บอุปกรณ์สื่อการสอนรวมไว้เพื่อสะดวกต่อการบริการ 3. ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อการสอน อาจารย์ส่วนใหญ่เห็นว่ามหาวิทยาลัยยังขาดผู้นำที่มีความสามารถในการดำเนินงานและผลิตสื่อการสอน ห้องเรียนยังไม่อำนวยความสะดวกในการใช้อุปกรณ์บางอย่าง ขาดการสนับสนุนการเงินทางด้านสื่อการสอนจากผู้บริหาร สื่อการสอนในแต่ละคณะมีน้อยและไม่ตรงกับบทเรียนที่สอน ขาดศูนย์หรือหน่วยสื่อการสอนสำหรับเป็นที่เก็บรักษาอุปกรณ์และให้บริการแก่อาจารย์ในคณะ ข้อเสนอแนะ 1. หน่วยงานทางด้านสื่อการสอนควรเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้มากขึ้นทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ จัดระบบการให้บริการให้มีความคล่องตัว ประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์รู้ว่าในหน่วยงานสามารถผลิตและให้ยืมสื่อการสอนอะไรได้บ้าง ปรับปรุงห้องบรรยายให้สามารถใช้สื่อการสอนได้ทุกชนิด และควรมีการร่วมมือประสานงานกันระหว่างหน่วยงานสื่อการสอนของแต่ละคณะให้มากขึ้น 2. ควรจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในสาขาวิชานี้โดยตรงมาช่วยในการดำเนินงาน ให้คำปรึกษาแก่ผู้ขอใช้บริการ จัดหาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทางด้านสื่อการสอนให้มีเพิ่มมากขึ้น และส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่มีอยู่ได้มีโอกาสไปศึกษา ฝึกอบรมบ้างเพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพของบุคลากรให้สูงขึ้นในทุกคณะ 3. อุปกรณ์สื่อการสอนต้องมีการจัดหามาเพิ่มมากขึ้น อุปกรณ์ที่มีอยู่ก็ควรจัดเจ้าหน้าที่คอยเก็บรักษา ตรวจตราดูแลและซ่อมแซมให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ผู้บริหารในทุกระดับควรเห็นความสำคัญของสื่อการสอน จัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดซื้ออุปกรณ์ในการผลิตและบริการ และควรมีสื่อการสอนที่จำเป็นไว้ประจำห้องที่ใช้ในการเรียนการสอนอยู่เสมอen_US
dc.description.abstractalternativePurpose : To analyse the status, needs and problems involved in the utillzation of instructional media by science instructors at Prince of Songkla University. Procedure: Questionnaires and an interview were used in this research survey. The population of this study were science instructors in Prince of Songkla University. Simple random sampling was used to selected 469 out of 620 instructors which was 75.65 percent of the total population. The questionnaires were sent out, and 337 were sent back which was 71.86 percents of total questionnaires. The raw data including the data of an interview of seven officers, were computed to show the percentage, arithmetic mean and standard deviation. Results: 1. The status of instructional media of Science: Most instructors learned the use of instructional media by observing the other instructors and practiced the utilization of instructional media by themselves. The teaching used by instructors were lecture methods and self-study through the use of library materials. Most of the instructors produced instructional media in the division of Audio-Visual education in their faculty. There were more instructional media instruments available in the Faculty of Medicine than the other faculties. Most of the instructional media used by instructors were documents and texts. Other instructional media, such as overhead projectors, slide projectors, illustrations, experiments, and specimens were also used. 2. Comparing the need and the use of instructional media: It appeared that on average the need was much greater than that of the use. The most urgent instructional media needs were documents and texts. However overhead projectors, slide projectors, illustrations, experiments, specimens, demonstrations, charts, statistical tables, posters and models were used in random, and it revealed that following: The instructional media services most needed by instructors were the equipment to facilitate the production of instructional media, and an instructional media center responsible for systematically collecting and organizing all of the available teaching aids. 3. Problems and obstructions in the utilization of instructional media: Most of the instructors thought the university lacked leaders able to manage and produce instructional media. Classrooms were not convenient for some equipment and an insufficient budget was allocated by administrators; there were few instructional media and often these were unsuitable for the lessons ; the lack of a center of division of instructional media to collect instructional media equipment and service the faculty. Suggestion: 1. The instructional media divisions should increase their ability to produce instructional media both in quantity and quality. An organized service system is needed to serve the Faculties smoothly. Information should be provided to instructors as to which instrument each division can produce and lend. Improve the lecture rooms so that all instructional media instruments can be utilized. Encourage coorperation among the divisions of instructional media in each faculty. 2. There should be an expert in this specific field to help consult about the use and services. Provide more instructional media officers. Encourage the officers to continue their study and training to improve the quality of these officers. 3. Budgets should be increased to provide for purchasing of better equipment, provision of better facilities for the production of instructional media, and upgrading of the staff so they are better able to provide the necessary services for classroom instruction.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.subjectการสอน -- อุปกรณ์en_US
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.titleการวิเคราะห์สภานภาพ และความต้องการการใช้สื่อการสอน ของอาจารย์สาขาวิทยาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.title.alternativeAn analysis of status and needs in utilization of instructional media of science instructors at prince of Songkla Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Staporn_th_front.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_th_ch1.pdf905.95 kBAdobe PDFView/Open
Staporn_th_ch2.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_th_ch3.pdf692.82 kBAdobe PDFView/Open
Staporn_th_ch4.pdf5.84 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_th_ch5.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Staporn_th_back.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.