Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48846
Title: พฤติกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Learning behaviors promoting physics learning achievement as perceived by upper secondary education students, Bangkok Metropolis
Authors: ศิริวัฒน์ สงวนหมู่
Advisors: ธีระชัย ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: พฤติกรรมการเรียน
การเรียน
ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การเรียนรู้ (จิตวิทยา)
การรับรู้
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ที่มีส่วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรุงเทพมหานคร ในด้านพฤติกรรมก่อนการเรียน พฤติกรรมระหว่างเรียน พฤติกรรมหลังการเรียน และการร่วมกิจกรรมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างประชากรคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 แผนการเรียนคณิตศาตร์-วิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2532 จาก 108 โรงเรียน จำนวน 453 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ระดับสูง 161 คน ระดับปานกลาง 106 คน และระดับต่ำ 186 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ระดับสูง รับรู้ว่าพฤติกรรมที่มีส่วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ ในระดับมากที่สุด คือ การเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอและทันเวลา การมีสมาธิในการเรียน ฟังคำอธิบายและติดตามเรื่องที่ครูสอนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 2. นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ระดับปานกลาง รับรู้ว่าพฤติกรรมที่มีส่วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ในระดับมากที่สุด คือ การเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอและทันเวลา 3. นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ระดับต่ำ รับรู้ว่าพฤติกรรมที่มีส่วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ในระดับมากที่สุด คือ การเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และทันเวลา ปรึกษาครูเมื่อมีปัญหาในการทำการบ้าน ฝึกทำโจทย์เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ครูกำหนดให้จากหนังสือประกอบต่างๆ ซักถามปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนกับผู้รู้ และสรุปความคิดรวบยอดในแต่ละบทเรียนได้อย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน
Other Abstract: The purpose of this research was to study learning behaviors promoting physics learning achievement as perceived by upper secondary education students in Bangkok Metropolis. Those behaviors were : the behaviors before learning, the behaviors during learning, the behaviors after learning and the behaviors in participating in co-curricular activities in science subjects. The subjects were 453 mathayom suksa five mathematics-science programme students in 1989 academic year which were multi-stage random sampled from 108 secondary schools. The subjects then were divided into three groups of 161 high, 106 moderate, and 186 low physics achievement students. The research instrument was the questionnaire which was constructed by the researcher. The data were analyzed by means of arithmetic mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1. The high physics achievement students perceived that the behaviors promoting physics learning achievement at the highest level were : always attending physics classes in time, having concentration in learning and listening to and following teacher’s instructions all the time. 2. The moderate physics achievement students perceived that the behavior promoting physics learning achievement at the highest level was always attending physics classes in time. 3. The low physics achievement students perceived that the behaviors promoting physics learning achievement at the highest level were : always attending physics classes in time, consulting teacher when confronting with homework problems, doing more physics problems than teacher requirements from other supplementary books, asking questions concerning the subject matter with others, and making a concept conclusion in each lesson.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48846
ISBN: 9745776262
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwatana_sa_front.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Siriwatana_sa_ch1.pdf993.77 kBAdobe PDFView/Open
Siriwatana_sa_ch2.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open
Siriwatana_sa_ch3.pdf959.24 kBAdobe PDFView/Open
Siriwatana_sa_ch4.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open
Siriwatana_sa_ch5.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Siriwatana_sa_back.pdf5.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.