Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48855
Title: ความขัดแย้งในการเมืองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองอุทัยธานี (พ.ศ. 2528-2533)
Other Titles: Conflicts in local politics : a case study of Uthai Thani Municipality (B.E. 2528-2533)
Authors: ศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา
Advisors: วิทยา สุจริตธนารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เทศบาลเมืองอุทัยธานี
อุทัยธานี -- การเมืองและการปกครอง
กลุ่มวุฒิไกร-รังษี
ความขัดแย้งทางการเมือง
การปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- อุทัยธานี
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แม้ว่าการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลของไทย ได้ถูกนำมาใช้เป็นระยะเวลาอันยาวนานอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่อาจที่จะเป็นสถาบันหลักในการพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะปัญหาอันเนื่องมาจากความไม่พร้อมของกลุ่มทางการเมืองท้องถิ่น ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อระบบการเมืองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะของการก่อกำเนิดกลุ่มทางการเมืองท้องถิ่นในระบบเทศบาล และความเข้มแข็งหรือความอ่อนแอของกลุ่มดังกล่าว ตลอดจนศึกษาถึงลักษณะและสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า การรวมตัวกันขึ้นเป็นกลุ่มทางการเมืองท้องถิ่นนั้น อาศัยรากฐานของความสัมพันธ์ส่วนตัว ตามระบบของพรรคพวกและระบบอุปถัมภ์ ระหว่างผู้นำของกลุ่มกับบรรดาสมาชิก การเข้าร่วมกับกลุ่มของสมาชิก ด้วยเพราะเห็นความสำคัญของหัวหน้ากลุ่มและผลประโยชน์ที่อาจได้รับจากการเป็นผู้รับการอุปถัมภ์ หรือ จากการเข้ามาทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายบริหาร ลักษณะดังกล่าวเป็นการยึดถือตัวบุคคลมากกว่าหลักการ หรือนโยบายของกลุ่ม ทำให้กลุ่มมีความอ่อนแอ และง่ายต่อการเกิดปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพราะสมาชิกมีความต้องการที่จะเข้าไปมีอำนาจ และให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเมืองท้องถิ่นต่างๆ นั่นเอง แต่กลุ่มไม่สามารถจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์ดังกล่าวได้อย่างเป็นที่พึงพอใจของสมาชิก และส่งผลต่อการสลายของกลุ่มในที่สุด
Other Abstract: Although the municipality as a form of local government has been in long and continuous existence, still it cannot function as main institution to help develop democratic system government in Thailand. This is due partly from the unpreparedness of local political groups which are essential to the effective functioning of the municipality. This study has as its aim to find out the characteristics of the formation of groups at the level of municipality, their strength and weakness, including the nature and causes of conflicts within the groups. What is learned from the research points to the fact that the basis of local political group formation are the personal relationship among friends and the patronage system between the leader and followers. People join the group because of the realization of the significance of leader and benefits to be had within the patronage system or from serving as local executive. Thus, personality is highlighted more than the principle. This helps to weaken the group and leads to conflicts within the group. Conflicts stem mainly from the desire for power of each member and to reap benefits. The inability of the group to provide such things causes dissatisfaction among members and, thus disintegration of the group in the end.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48855
ISBN: 9745782297
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirisak_si_front.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Sirisak_si_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Sirisak_si_ch2.pdf7.12 MBAdobe PDFView/Open
Sirisak_si_ch3.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Sirisak_si_ch4.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open
Sirisak_si_ch5.pdf7 MBAdobe PDFView/Open
Sirisak_si_ch6.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sirisak_si_back.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.