Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49013
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิสิฏฐ์ สุรวดี-
dc.contributor.authorสุภัควดี ตันชีวะวงศ์-
dc.contributor.authorอุษาพร ศรีสุวัจฉรีย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-06-12T00:55:54Z-
dc.date.available2016-06-12T00:55:54Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.otherSepr 5/55 ค1.14-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49013-
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยในที่มีการใช้ยาต้านชักและมีการตรวจติดตามระดับยาในเลือดที่โรงพยาบาลตารวจใน 1 ปี (มิถุนายน พ.ศ.2554 – พฤษภาคม พ.ศ. 2555) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการให้ยาต้านชัก 2) แบบแผนการตรวจวัดระดับยาในเลือด 3) อันตรกิริยาระหว่างยาต้านชักกับยาอื่นที่ใช้ร่วมกัน 4) อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านชัก และ 5) มูลค่าของค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจ จากการศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านชัก (phenytoin, valproic acid, carbamazepine และ phenobarbital) จานวน 522 คน เป็นผู้ป่วยในที่มีการตรวจวัดระดับยาในเลือด 57 คน (10.9%) สามารถสืบค้นข้อมูลจากเวชระเบียนได้ทั้งหมด 46 คน เป็นเพศชาย 21 คน เพศหญิง 25 คน มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 98 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 57.8 ± 23.4 ปี สาเหตุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มาด้วยอาการชักกาเริบ 24 คน (52.2%) โรคเกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง 12 คน (27.1%) และความผิดปกติอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง 10 คน (21.7%) ยาต้านชักที่มีการตรวจวัดระดับยาในเลือด ได้แก่ phenytoin, valproic acid และ phenobarbital รูปแบบการให้ยาต้านชักที่พบมากที่สุด คือ phenytoin ชนิดแคปซูล 100 มิลลิกรัม วันละ 3 เม็ด ก่อนนอน คิดเป็นขนาดยา 300 มิลลิกรัมต่อวัน จานวน 13 คน (28.3%) การตรวจวัดระดับยาในเลือดจากจานวนทั้งหมด 71 ครั้ง พบสาเหตุการตรวจวัดระดับยา ได้แก่ สงสัยระดับยาต่ากว่าช่วงที่ให้ผลการรักษา 38 ครั้ง (53.5%) สงสัยการเกิดอาการพิษจากยา 1 ครั้ง (1.4%) และสาเหตุอื่นๆ 32 ครั้ง (45.1%) เวลาที่เก็บตัวอย่างเลือดมีการบันทึกอย่างชัดเจน 4 ครั้ง (5.6%) ไม่ชัดเจน 67 ครั้ง (94.4%) ซึ่งเป็นเวลาที่เก็บก่อนให้ยาในครั้งถัดไป ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจวัดระดับยาในเลือดนับตั้งแต่มีการสั่งตรวจวัดจนถึงการพิมพ์ผลของระดับยา พบว่าใช้เวลาน้อยกว่า 1 วัน 53 ครั้ง (74.6%) 1 ถึง 2 วัน 8 ครั้ง (11.3%) และมากกว่า 2 วัน 2 ครั้ง (2.8%) การปรับขนาดยาที่สอดคล้องกับผลของระดับยาในเลือดซึ่งไม่อยู่ในช่วงที่ให้ผลการรักษา 21 ครั้ง (42.9%) อันตรกิริยาที่มีนัยสาคัญทางคลินิกระดับ 1 ระหว่างยาต้านชักกับยาอื่นที่ใช้ร่วมกัน คือ การใช้ยา phenytoin ร่วมกับ dopamine เป็นจานวน 2 ครั้ง อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านชักพบเพียง 1 คน ที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการพิษจากยา phenytoin ในด้านมูลค่าที่ใช้ในการส่งตรวจระดับยาต้านชักต่อปี คิดเป็นเงิน 16,400 บาท ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลการตรวจติดตามระดับยาในเลือดซึ่งยังไม่มีการมอบหมายให้เภสัชกรเข้าไปดูแลการให้บริการ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการให้บริการการตรวจติดตามระดับยาในเลือดของกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตารวจต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ป่วยen_US
dc.subjectยาต้านชักen_US
dc.titleการตรวจติดตามระดับยาในเลือดของยาต้านชัก ณ โรงพยาบาลตารวจen_US
dc.title.alternativeTherapeutic drug monitoring of antiepileptic drugs at Police general hospitalen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลตำรวจen_US
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisit_Su.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.