Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49022
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorสมศรี อ่ำสำอางค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-12T01:38:46Z-
dc.date.available2016-06-12T01:38:46Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745764337-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49022-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบัณฑิตของโรงเรียนนายเรืออากาศตามการรับรู้ของอาจารย์โรงเรียนนายเรืออากาศและผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต เปรียบเทียบการรับรู้ของอาจารย์โรงเรียนนายเรืออากาศกับผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต เปรียบเทียบการรับรู้ของอาจารย์จำแนกตามเพศและวุฒิการศึกษา เปรียบเทียบการรับรู้ของผู้บังคับบัญชาจำแนกตามชั้นยศ อายุ ระยะเวลาการทำงาน และเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตโรงเรียนนายเรืออากาศ ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์โรงเรียนนายเรืออากาศรับรู้คุณภาพบัณฑิตของโรงเรียนนายเรืออากาศน้อยกว่าการรับรู้ของผู้บังคับบัญชาบัณฑิตในทุกด้าน ได้แก่ คุณภาพด้านความเป็นทหาร คุณภาพด้านความรู้ ความสามารถ คุณภาพด้านการทำงาน คุณภาพด้านคุณธรรม และคุณภาพด้านคุณภาพชีวิต เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้คุณภาพแต่ละด้าน พบว่า คุณภาพด้านความเป็นทหารและคุณภาพด้านความรู้ความสามารถ อาจารย์และผู้บังคับบัญชารับรู้คุณภาพด้านดังกล่าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 คุณภาพด้านการทำงานและด้านคุณธรรม อาจารย์และผู้บังคับบัญชารับรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 และด้านคุณภาพชีวิต อาจารย์และผู้บังคับบัญชารับรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 อย่างไรก็ตามการรับรู้คุณภาพทุกด้านอยู่ในระดับมาก (X̅= 3.50-4.49)ตามเกณฑ์ของ Best W. John สำหรับแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของโรงเรียนนายเรืออากาศ ควรสอดแทรกความเป็นจริงในชีวิตการทำงานและสังคมนอกโรงเรียนเข้าไว้ในการเรียนการสอน ควรให้นักเรียนนายเรืออากาศได้มีส่วนในการคิดรู้จักการวางแผน มองการณ์ไกล และควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมด้านคุณธรรมตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยมีอาจารย์หรือนายทหารคอยดูแลให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe proposes of this research were to study the quality of the Royal Thai Air Force Academy graduates as perceived by their instructors and their commanders, to compare the perceptions of the instructors as classified by sexes and qualifications, to compare the perceptions of the commanders as classified by ranks ages and working experiences, and to propose guidelines to develop the qualities of the Royal Thai Air Force Academy graduates. The result of the research revealed that the quality as perceived by the instructors was less than the commanders in all aspects. Five aspects, of the quality were : Military quality, knowledge and ability quality, working quality, Moral quality and life quality. To compare the perception between the instructors and the commanders, both had different perception on military quality, knowledge and ability quality. Their different perception was statistically significant at .01. The working and moral quality were perceived statistically significant at .001. And the life quality was perceived statistically significant at .05 by both the instructors and the commanders. However the average of quality perception was at good level (X̅ = 3.50-4.49) which based on Best W.John’s standardization. The proposed guidelines for graduates quality development were to reflect working and social life reality in the teaching procedure. Students should have participation in planning and having opportunities to create moral activities with their instructors’ and commanders’ assistance in order to improve the good status of quality to be better.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงเรียนนายเรืออากาศ -- บัณฑิตen_US
dc.subjectบัณฑิต -- ไทยen_US
dc.subjectการติดตามผลen_US
dc.subjectหลักสูตรen_US
dc.titleคุณภาพบัณฑิตของโรงเรียนนายเรืออากาศตามการรับรู้ ของอาจารย์โรงเรียนนายเรืออากาศ และผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตen_US
dc.title.alternativeThe quality of the Royal Thai Air Force Academy gradurtes as perceived by their instructors and their commandersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisordwallapa@dpu.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri_am_front.pdf12.3 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_am_ch1.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_am_ch2.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_am_ch3.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_am_ch4.pdf11.42 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_am_ch5.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_am_back.pdf8.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.