Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49037
Title: การศึกษาเพื่อเสนอแนะรูปแบบเคหะชุมชนของผู้มีรายได้ต่ำในเมือง กรณีศึกษา "สลัมคลองเตย"
Other Titles: A study of planning model for urban low income housing case study "Slum Klong Toey"
Authors: สมศักดิ์ ธรรมเวชวิถี
Advisors: ประภาภัทร นิยม
ปรีดิ์ บูรณศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: คนจน -- ไทย
อาคารสงเคราะห์ -- ไทย
ที่อยู่อาศัย -- ไทย
ชุมชนแออัด -- ไทย
กรุงเทพฯ -- ที่อยู่อาศัย
ชุมชนแออัดคลองเตย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชุมชนแออัดหรือแหล่งเสื่อมโทรมนับเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของผู้มีรายได้ต่ำซึ่งอพยพจากชนบทเข้ามาหางานทำในกรุงเทพมหานคร อันเป็นผลมาจากการที่รัฐไม่สามารถกระจายผลประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับการเน้นการพัฒนาและลงทุนเฉพาะแต่ในกรุงเทพมหานคร จากสภาพความยากจนทำให้ผู้ที่อพยพเหล่านี้มาสามารถซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยซึ่งมีราคาเกินกว่าจะรับภาระได้ จึงบุกรุกเข้าไปปลูกสร้างที่พักชั่วคราวในที่ดินซึ่งถูกทิ้งว่างเปล่าใกล้กับแหล่งงานของตน และขยายตัว เพิ่มขึ้นโดยไม่ได้รับการควบคุมดูแลจากหน่วยงานของรัฐหรือแม้กระทั่งจากเจ้าของที่ดิน ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจของประเทศได้ขยายตัวอย่างมาก พื้นที่เมืองก็ขยายตัวตามสภาวะดังกล่าว ที่ดินซึ่งแต่เดิมถูกทิ้งว่างเปล่า ถูกนำไปสร้างอาคารและโครงการต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไรซึ่งรวมถึงที่ดินที่เป็นชุมชนแออัดด้วย ทำให้เกิดปัญหาการไล่ที่ วางเพลิง และฟ้องร้องทางกฏหมาย ถึงแม้ว่าหน่วยงานของรัฐจะพยายามแก้ปัญหาโดยจัดหาที่อยู่อาศัย รูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแฟลต ซึ่งสาเหตุประการสำคัญคือที่ดินในเมืองมีราคาแพงและเนื้อที่ค่อนข้างจำกัด จึงต้องขึ้นทางสูง ต่อมาเปลี่ยนเป็นโครงการบ้านสร้างบางส่วนไม่ว่าจะเป็นที่ชุมชนรังสิต ชุมชนทุ่งสองห้อง และชุมชนลาดกระบังก็เกิดจากปัญหาที่ดิน จึงหันไปหาที่ดินแถบชานเมือง แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ และเมื่อกลับมาใช้วิธีปรับปรุงชุมชนก็ประสบปัญหาไม่สามารถเข้าทำการปรับปรุง เพราะไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดิน หากพิจารณาจากปัญหาและรูปแบบโครงการต่างๆ จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงการให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินที่ขาดแคลน และความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัยทั้งสิ้น วิธีการศึกษาได้กำหนดแนวทางในการวิเคราะห์ไว้ 2 แนวทาง คือ วิเคราะห์จากงานวิจัย รายงานการประชุม เชิงปฏิบัติการและหนังสือวิชาการเป็นประการแรก ประการที่สอง เป็นการวิเคราะห์จากชุมชนตัวอย่างที่คัด เลือกไว้จำนวนทั้งสิ้น 169 หน่วย (ประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากร) ในบริเวณชุมชนสลัมคลอง เตย เนื่องจากลักษณะกายภาพของที่อยู่อาศัยมีสภาพที่ค่อนข้างซับซ้อน การคัลเลือกตัวอย่าง (Sampling) ไม่อาจใช้วิธีที่เป็นระบบได้ จึงใช้วิธีสุ่มแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) โดยทำการประเมินสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรมการใช้สอยอาคาร ลักษณะกายภาพของที่อยู่อาศัย ตลอดจนประเมินทัศนะและความพอใจในที่อยู่อาศัย ปัจจุบันและอนาคต การประเมินผลได้ใช้วิธีการเปรียบเทียบเชิงปริมาณ โดยพิจารณาจากค่าร้อยละ ค่ามัธยฐานและฐานนิยม ผลสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์แนวทางแรก (จากงานวิจัย) พบว่าปัญหาที่อยู่อศัยสำหรับผู้มีรายได้ต่ำที่ร้ายแรงที่สุดคือ ปัญหาเรื่องที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยและวิธีการแก้ปัญหาเหล่านี้ควรจะเน้น “การให้ความมั่นคงในการอยู่อาศัย” และ “การครอบครองที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” ซึ่งรัฐจำเป็นต้องนำเครื่องมือที่มีอยู่มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (ได้แก่ พระราชบัญญัติเขตการปรับปรุงชุมชนแออัด และพระราชบัญญติเวนคืนที่ดินเพื่อการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ต่ำ) หากสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้จะเป็นการเพิ่มจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ต่ำ จากนั้น สภาพกายภาพของที่อยู่อาศัยและชุมชนก็จะสามารถได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยผู้อยู่อาศัยเอง สำหรับการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินดังกล่าว เท่าที่รัฐเคยดำเนินการได้ใช้วิธีการ “แบ่งปันที่ดิน” (Land Sharing) และ “การโยกย้ายชุมชน” (Relocation) นอกจากนี้การจัดรูปแบบด้านกายภายรัฐได้พยายามใช้วิธีการปรับปรุงชุมชน (Upgrading) และ “การจัดที่ดินพร้อมสาธารณูปโภค” (Sites and Services) ในกรณีของชุมชนสลัมคลองเตย จาการศึกษาพบว่ามีปัญหาเรื่องที่ดิน เช่นกันกล่าวคือ จะต้องถูกรื้อย้าย ซึ่งรัฐก็เข้าแก้ปัญหาด้วยวิธีการเช่าที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 20 ปี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยไม่ต้องกังวลในเรื่องการไล่ที่ แต่มีเงื่อนไขต้องย้ายมาในบริเวณที่กำหนดให้ซึ่งก็อยู่ใกล้กับบริเวณเดิม จากเงื่อนไขดังกล่าวเมื่อพิจารณาสถานะทางเศรษฐกิจของผู้อยู่อาศัย (พบว่าจำนวนสมาชิกในครัวเรือนโดยเฉลี่ยมี 5-3 คน ระดับรายได้ของครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ กล่าวคือครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 7,000 บาทต่อเดือนมีจำนวนถึงร้อยละ 79 และกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือนมีจำนวน ร้อยละ 56.9 ในขณะที่รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 3,650 บาท) พบว่าแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยโดยให้ผู้อาศัยสร้างเองนั้น นับว่าเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม และสามารถที่จะนำไปใช้กับชุมชนอื่นๆ ต่อไป สำหรับข้อเสนอแนะทางด้านกายภาพแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนการจัดผัง ควรคำนึงที่การใช้ที่ดินให้มีประสิทธภาพสูงสุด ลักษณะผังจะต้องจัดระบบสาธารณูปโภคให้พร้อมและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากลายเป็นสลัมขึ้นอีก ซึ่งอาจจะใช้วิธีการควบคุมการก่อสร้างและวางระบบให้ดี โดยคำนึงถึงการถ่ายเทของอากาศด้วย สำหรับขั้นตอนที่ 2 คือการก่อสร้างหน่วยพักอาศัย ควรให้ผู้อยู่อาศัยเป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งอาจจะทำในลักษณะร่วมกันสร้าง (Building Together) รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่เพียงช่วยให้คำแนะนำเทคนิคในการก่อสร้าง การใช้วัสดุให้เหมาะสมกับโครงสร้าง และที่สำคัญที่สุดคือ หลักการในการวางตัวบ้านให้มีลักษณะที่สามารถรับลมได้จะดีกว่าการออกแบบบ้านต้นแบบให้ ซึ่งมักไม่สนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้อย่างแท้จริงดังจะเป็นได้จากหลายๆ โครงการที่เคยดำเนินการมาแล้ว สำหรับในเรื่องขนาดแปลงที่ดิน หากดำเนินตามวิธีการจัดที่อยู่อาศัยแบบ Sites and Services ขนาดแปลงที่ดินที่เหมาะสมที่สุด โดยเฉลี่ยเท่ากับ 15 ตารางวา หรือต่ำสุดไม่น้อยกว่า 12 ตารางวา และสูงสุดไม่เกิน 20 ตารางวา โดยมีสัดส่วนแปลงที่ดิน เท่ากับ 1: 1.7-2.1 และข้อเสมอสุดท้ายก็คือ “การให้ความสนับสนุนทางด้านการเงิน” โดยวิธีการจัดตั้งในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อให้กู้ยืมวัสดุก่อสร้าง จะสามารถช่วยลดภาระดอกเบี้ยและปัญหาความเดือดร้อนทางด้านการเงินแก่ผู้มีรายได้ต่ำเหล่านี้ได้ ซึ่งจะช่วยให้มีผู้มีรายได้ต่ำเหล่านี้มีที่อยู่อาศัยมั่งคงต่อไป
Other Abstract: Congested community or slum area is dwellings of low-income people who migrate to work in Bangkok as a result of lack of economic distribution of income among the populace and the concentration of development and investment in Bangkok. Due to poverty, the migrants who cannot buy or rent a dwelling-place which are priced beyond their means, encroach into unoccupied land near their places of work. The number expands rapidly without any constraints by state agencies or land-owners. During the past 20 years, Thai economic scenario has expanded by leaps and bounds. City areas are also extended. Originally unoccupied land is turned into buildings and housing projects which are commercially feasible. Purchase of land is based on speculation, including prices of land in slums. Eviction arson and legal proceedings ensue. Though state agencies endeavour to solve the problems by establishing many types of housing projects such as apartments, since those pieces of land in the inner area are too expensive and restricted. The later alternative is to find the available land in the urban fringe. There had been Rangsit Community, Toong Songhong and Laadkrabang projects which were launched as a result of scarcity of land area in the city. However, the projects did not achieve a satisfactory success back to the upgrading schematic which come up as an cheaper alternative, the consent of the land-owners are major constrain to the implementation of this alternative. If we take the problems and forms of projects into consideration, we shall find that all of the projects mentioned ealier, are readjusted to resolve problems related to land scarcity and housing insecurity. This study is based on 2 types of analysis. First, it involves researches, reports on meeting concerning operation and technical texts. Secondly, this study is related to analysis of 169 units of demonstration communities (10% of the entire population) in Klongtoey slum area. Since the physical feature of the dwelling-place is complex, sampling can not be systematic and requires convenience sampling based upon evaluation of economic and social status, structure functioning behavior, physical types of dwelling-places as well as assessment of opinions and satisfaction in present and future dwelling-place. The evaluation involves quantitative comparison based upon qualitative calculation of percentage of medians and modals. The finding of the first type indicates that the hardest problem faced by low-income slum-dwellers is access to the available land for dwelling. Solution to the problem should aim at “Housing Security” with “Legal Land Ownership” which require the state to intervene effectively (Through royal decre for upgrading and if the problem can be resolved, the affordable land shall be increased land expropriation act for low-income earners, the physical feature of the dwelling-places and communities shall be upgraded by itself automatically. As for the above problem the state had undertaken to use land-sharing method and relocation. Besides, as setting up the physical feature of communities, state agencies have used the upgrading as well as sites and services. In the case of Klongtoey slum community, the findings indicate that the land for housing is the major, then the relocation is to be their alternative to the solution. The state agencies solved the problem by renting the land from Port Authority of Thailand for the 20 years term so that dwellers may not be subject to eviction. The only condition is that they have to move to a nearby designated area. Considering to the financial status of the dwellers (the findings indicate that each household has 5.3 persons on the average. Those whose income is lower than 7,000 baht per month account for 79% those with income lower than 5,000 baht constitute 56.9% whereas average express per month is 3,650), it is found that the construction of dwelling units should be left to their affordabilities which are flexible overtime this methods used in resolving problems in Klongtoey are tentatively suitable and should be applicable to in other areas. Recommendation regarding physical feature involves 2 stages. Planning stage show required maximum utilization of land. There must be proper public utilities services in order to prevent the area from becoming another slum community. Depending on the good construction and system planning as well as ventenlation and site orientation. The second stage involving construction of housing units should be undertaken by the dwellers. Concerned agencies should only give guidances and suggestions regarding the building techniques, materials, model, ventilation system so as to satisfy the needs of dwellers, as already undertaken in many previous projects. As for the size of land, if it is allotted by sites and services system, the most ideal average size is 15 sq.wah, or not less than 12 sq.wah and not more than 20 sq.wah, with a proportionate ratio of 1:1.7-2.1 The last recommendation is “Financial Support” through establishing savings cooperative to give loan in construction at lower interest rate so as to assure the low-income earners of housing security.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49037
ISBN: 9745677833
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_tha_front.pdf13.16 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_tha_ch1.pdf8.77 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_tha_ch2.pdf8.61 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_tha_ch3.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_tha_ch4.pdf16.65 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_tha_ch5.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_tha_back.pdf8.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.