Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49138
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตติมา ชัชวาลย์สายสินธ์-
dc.contributor.advisorวรธัช ฐิติกรพงศ์-
dc.contributor.authorรุ่งอรุณ กรุดนิ่ม-
dc.contributor.authorภาวิตรา แก้วไทรหงวน-
dc.contributor.authorรวิธิดา คุณานพรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-06-13T02:42:31Z-
dc.date.available2016-06-13T02:42:31Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.otherSepr 14/55 ค2.16-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49138-
dc.description.abstractไอโซฟลาโวนเป็นองค์ประกอบในถั่วเหลืองที่มีฤทธิ์ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนให้แก่ร่างกาย สามารถลดกลุ่มอาการหมดประจำเดือน ซึ่งเกิดจากการที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับยาเม็ดเคี้ยวผสมไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองที่มีลักษณะทางกายภาพเหมาะสม และสามารถแตกกระจายตัวในนํ้าได้เร็ว สูตรตำรับยาเม็ดเคี้ยวผสมไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองที่มีปริมาณไอโซฟลาโวนร้อยละ 20 นํ้าหนักเม็ดยา 1000 มิลลิกรัม พัฒนาด้วยวิธีการตอกตรง โดยศึกษาผลของ ชนิดของสารช่วยแตกตัว อัตราส่วนระหว่างไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสซึ่งใช้เป็นสารช่วยตอกตรงและแล็กโทสซึ่งใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณ และปริมาณของสารช่วยแตกตัวในสูตรตำรับ ต่อความกร่อนของยาเม็ดและเวลาที่ใช้ในการแตกตัวในนํ้าที่อุณหภูมิ 37 และ 50 องศาเซลเซียส คัดเลือกสูตรตำรับยาเม็ดที่มีความกร่อนตํ่า และมีระยะเวลาในการแตกตัวเร็ว เพื่อประเมินคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและความคงตัวภายใต้สภาวะความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 75 และอุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าสูตรตำรับที่เหมาะสมมีครอสพอวิโดนเป็นสารช่วยแตกตัวปริมาณร้อยละ 5 และมีอัตราส่วนระหว่างไมโครคริสตัลลีนเซลลูโลสและแล็กโทสเป็น 1:1 โดยเม็ดยา ที่ได้มีความแข็ง 5.9 กิโลปอนด์ ความกร่อนร้อยละ 0.03 ระยะเวลาในการแตกตัวของเม็ดยาในนํ้าอุณหภูมิ 37 และ 50 องศาเซลเซียส เป็น 2.2 และ 6.0 นาที ตามลำดับ การวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญพบว่ายาเม็ดเคี้ยวผสมไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง 1 เม็ดที่ผลิตได้มีปริมาณจีนีสทีน 60.7 มิลลิกรัม และผลการศึกษาความคงตัว พบว่าเม็ดยามีปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้น และมีความแข็งลดลงเมื่อเก็บในสภาวะเร่ง ส่วนการกลบรสของตัวยาสำคัญให้มีรสที่น่าพึงพอใจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectยาเม็ดเคี้ยวen_US
dc.subjectไอโซฟลาโวนen_US
dc.titleการพัฒนาสูตรตำรับยาเม็ดเคี้ยวผสมไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองen_US
dc.title.alternativeFORMULATION OF SOY ISOFLAVONE CHEWABLE TABLETen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.subject.keywordถั่วเหลืองen_US
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungarun_Kr.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.