Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/491
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวิมล ว่องวาณิช | - |
dc.contributor.advisor | สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | เกื้อ กระแสโสม, 2511- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-06-24T07:28:16Z | - |
dc.date.available | 2006-06-24T07:28:16Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745316723 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/491 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดการรับรองผู้ประเมินภายนอกและนำเสนอสมรรถภาพที่จำเป็นของผู้ประเมินภายนอกสำหรับการประเมินสถานศึกษา (2) พัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถภาพผู้ประเมินภายนอกสำหรับใช้ในการรับรองผู้ประเมินภายนอก และ (3) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นในด้านความตรง ความเที่ยง และกำหนดเกณฑ์ตัดสินสำหรับการรับรอง การวิจัยดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์สมรรถภาพที่จำเป็นของผู้ประเมินภายนอก โดยวิธีแบบผสมและเก็บข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น ศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 ท่าน วิเคราะห์งานจากเอกสารและกับกลุ่มผู้ประเมินภายนอกที่มีประสบการณ์ตรงในการประเมินสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 18 ท่าน อภิปรายกลุ่มผู้ประเมินภายนอกที่ประสบผลสำเร็จในการประเมินสถานศึกษา จำนวน 25 ท่าน โดยวิธี MACR และสอบถามความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามที่เก็บจากกลุ่มผู้ประเมินภายนอก จำนวน 455 ท่าน ระยะที่ 2เป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถภาพผู้ประเมินภายนอก และกำหนดเกณฑ์ตัดสินสำหรับการรับรอง โดยทดลองใช้เครื่องมือ 2 ครั้ง กับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด จำนวน 246 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.51 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สมรรถภาพที่จำเป็นของผู้ประเมินภายนอกสำหรับการประเมินสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยสมรรถภาพ 3 ด้าน ดังนี้ สมรรถภาพด้านความรู้ (2) ความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของผู้ประเมินภายนอกและหน่ยงานที่เกี่ยวข้อง (3) ความรู้เกี่ยวกับหลักการ วิธีการประเมินคุณภาพสถานศึกษา สมรรถภาพด้านทักษะ ประกอบด้วย (1) ทักษะการวางแผนการประเมินสถานศึกษา (2) ทักษะการดำเนินการประเมินสถานศึกษา (3) ทักษะการสรุปผลการประเมินและเขียนรายงานการประเมินสถานศึกษา (4) ทักษะการสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ (5) ทักษะทางการคิดเชิงตรรกะและการคิดวิเคราะห์ (6) ทักษะการทำงานเป็นทีม สมรรถภาพด้านคุณลักษณะประกอบด้วย (1) ความเป็นกัลยาณมิตรในการประเมิน และ (2) จรรยาบรรณในการประเมิน 2. แบบสอบที่พัฒนาขึ้นมีความเที่ยงตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคในสมรรถภาพ 3 ด้าน อยู่ในช่วง 0.672-0.692 ข้อสอบส่วนใหญ่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แบบสอบมีความตรงตามโครงสร้างอยู่ในระดับดี (X[superscript 2] = 5.67, df = 12, P = 0.93, GFI = 0.99, AGFI = 0.95, RMR = 0.01) แบบสอบสมรรถภาพด้านความรู้มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับคะแนนจากแบบสอบวัดความรู้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r[subscript xy] = 0.609) แบบสอบจากจำแนกผู้สอบกลุ่มรอบรู้มากและรอบรู้น้อยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. คะแนนจุดตัดของแบบสอบจากการกำหนดโดยวิธีทฤษฎีการตัดสินใจ ในสมรรถภาพด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านคุณลักษณะ และสมรรถภาพโดยรวมทุกด้าน มีค่าเท่ากับร้อยละ 58, 56, 75 และ 61 ตามลำดับ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were (1) to study the certification of the external evaluators and propose the essential competencies of external evaluators for school evaluation, (2) to develop the external evaluator competency test for certifying the external evaluators, (3) to inspect the quality of test on reliability, validity aspects and develop the external evaluator competency test’s criteria. This research was conducted in two main stages. The first stage was to find out the essential competencies of external evaluators by using the mixed methods and several data sources such as studying the related documents, surveying the opinion of 12 experts, doing a job analysis from documents and 18 external evaluators, doing multi-attribute consensus reaching from 25 external evaluators and finally surveying from 455 external evaluators. The second stage was to develop the external evaluator competency test and test’s criteria by collecting data from 246 examinees. Data were analyzed through use of descriptive statistics using SPSS and confirmatory factor analysis, LISREL version 8.51. The results were as follows: 1. The essential competencies of external evaluators by using the first four methods were 3 domains. The first one, knowledge competency domain, consisted of 3 factors which were educational knowledge relating to school evaluation, role and function of external evaluator and organization, school evaluation techniques and principles. The second one, skill competency domain, consisted of 6 factors which were preparing for school evaluation, implementing school evaluation, concluding and writing the result of evaluation, communication and coordination, logical and critical thinking and teamwork. The third one, character competency domain, consisted of 2 factors which were code of ethics in evaluation and amicability in evaluation. 2. The test’s reliability by Cronbach’s Alpha method for 3 competency domains ranged from 0.672-0.692. Most of the items had positive correlation with total score at .01 statistic significant level. The test had construct validity which was determined by confirmatory factor analysis indicated the Chi-square goodness of fit with 5.67, df = 12, P=0.93, GFI=0.99, AGFI =0.95 and RMR=0.01. The knowledge competency test had criterion related validity using the score of knowledge test of the Office for National Education Standards and Quality Assessment as criterion at .01 statistic significant level (r[subscript xy] = 0.609). The test could discriminate the sample into the high and low mastery groups at .01 statistic significant level. 3. The setting standards using decision-theoretic approach for knowledge, skill, character and composite score of three competency domains were equal to the percentages of 58, 56, 75, and 61, respectively. | en |
dc.format.extent | 7107554 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1012 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การประกันคุณภาพการศึกษา | en |
dc.subject | สมรรถภาพ | en |
dc.subject | โรงเรียน--การประเมิน | en |
dc.title | การพัฒนาการรับรองผู้ประเมินภายนอกตามแนวคิดที่เน้นสมรรถภาพสำหรับการประเมินสถานศึกษา | en |
dc.title.alternative | A development of the certification of the external evaluators based on competency approach for school evaluation | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Suwimon.W@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Somwung.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.1012 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.