Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49644
Title: | การเปรียบเทียบการปรับปรุงกระบวนการทำงานระหว่างแนวทางลีน และ แนวทางลีน-ทีคิวเอ็มในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ |
Other Titles: | A comparison of process improvement between lean approach and Lean-TQM approach in a wood furniture plant |
Authors: | วทัญญู ทัศนเอี่ยม |
Advisors: | จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jeirapat.N@Chula.ac.th |
Subjects: | การผลิตแบบลีน การบริหารคุณภาพโดยรวม อุตสาหกรรมเครื่องเรือน Lean manufacturing Total quality management Furniture industry and trade |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หลายปีที่ผ่านมาแนวทางลีนได้รับความนิยมในการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการปรับปรุงกระบวนการในหลากหลายองค์กร แต่ผลจากการปรับปรุงไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังของผู้นำไปใช้เสมอไป หลักการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับปรุงและแนวทางลีนไม่ได้ให้ความสำคัญนั่นคือ การมีส่วมร่วมของพนักงาน แต่สำหรับแนวทางทีคิวเอ็มแล้ว การมีส่วนร่วมของพนักงานในการปรับปรุงองค์กรถือเป็นหัวใจสำคัญโดยการถือว่าผู้ปฏิบัติงานจะรู้ปัญหา และสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามแนวทางลีนจะมีขั้นตอนการปรับปรุงที่ชัดเจนกว่าและสามารถใช้เวลาในการปรับปรุงที่สั้นกว่า ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการนำข้อดีจากสองแนวทางนี้มาประยุกต์ใช้ร่วมกันด้วยแนวทางลีน-ทีคิวเอ็ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปรับปรุงในเวลาที่สั้นกว่า ผลของงานวิจัยพบว่า แนวทางลีนสามารถลดรอบเวลาการผลิตของ 5 สถานีงานได้ 44.16 ชั่วโมงการทำงานต่อเดือนจาก 289.20 เป็น 245.04 ชั่วโมงหรือคิดเป็น 15.27% และแนวทางลีน-ทีคิวเอ็มสามารถลดรอบเวลาการผลิตได้ 72.72 ชั่วโมงการทำงานต่อเดือนจาก 289.20 เป็น 216.48 ชั่วโมงหรือคิดเป็น 25.15% โดยการนำข้อเสนอแนะของพนักงานมาช่วยปรับปรุงสามารถลดจากแนวทางลีนได้ 28.56 ชั่วโมงจาก 245.04 เป็น 216.48 ชั่วโมงหรือคิดเป็น 11.66% จึงสามารถสรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมของพนักงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจากแนวทางลีนได้อย่างมีนัยสำคัญโดยใช้ระยะเวลาเพียง 9 เดือนสามารถลดรอบเวลาการผลิตได้ถึง 25.15% ซึ่งคุ้มค่าต่อการนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ภายใต้เงื่อนไขของกระบวนการผลิตที่ใช้ทักษะของพนักงานเป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นการช่วยปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้กับองค์กรเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป |
Other Abstract: | Lean approach has been applied for organizational improvement over the years. But the results from improvement are not always expected. One factor that important and have much impact on improvement and lean approach ignores or doesn't focus on, is participation of employee but TQM approach has done. Employee involvement for improving organization is concept of TQM. However road map to implement Lean is more obviously and Lean's implementing timeframe is shorter. Therefore, researcher has an opinion that combination between Lean's strength, obvious roadmap and employee involvement from TQM's concept will increase effective organizational improvement in shorter timeframe. According to the result of case study, The cycle time in five stations were reduced by Lean approach for 44.16 man-hour/month or from 289.20 to 245.04 hour or 15.27% while Lean-TQM approach can reduce 72.72 man-hour/month or from 289.20 to 216.48 hour or 25.15%. So the incremental improvement from TQM's concept was shown and that is 11.66%. Finally, the conclusion of this research is the participation of employee can increase efficiency of improvement, reducing cycle time 25.15% for only 9 months of implement time. That is worth for implementation in condition of skill labor manufacturing moreover it also educate a culture of organization to achieve sustainable development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49644 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1541 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1541 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wathanyu_ta.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.