Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49680
Title: | การปรับปรุงการประเมินความคล้ายคลึงเชิงโครงสร้างและเชิงความหมายเพื่อการค้นคืนเว็บเซอร์วิซ |
Other Titles: | Improving structural and semantic similarity evaluation for web service retrieval |
Authors: | นิติพันธ์ ป้อมพันธ์ |
Advisors: | ทวิตีย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | twittie.s@chula.ac.th |
Subjects: | เว็บเซอร์วิส Web services |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เว็บเซอร์วิซได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยเนื่องจากการเป็นหน่วยของซอฟต์แวร์บนเครือข่ายที่สามารถให้บริการฟังก์ชันงานบางอย่างและถูกเรียกใช้ในการสร้างแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ได้อย่างยืดหยุ่น เช่นเดียวกับซอฟต์แวร์อื่น ๆ เว็บเซอร์วิซอาจได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดความล้มเหลวในการทำงาน จนทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยแอพพลิเคชันของผู้ใช้บริการ ในกรณีนี้แอพพลิเคชันของผู้ใช้บริการจึงจำเป็นต้องหาบริการทางเลือกอื่น ๆ หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิผลคือการประเมินความคล้ายคลึงกันทั้งในเชิงโครงสร้างและเชิงความหมายระหว่างคำอธิบายการให้บริการของเว็บเซอร์วิซที่ใช้อยู่กับของผู้ให้บริการเว็บเซอร์วิซอื่น ๆ เพื่อที่จะค้นหาบริการทางเลือก วิทยานิพนธ์นี้ใช้แนวทางตามวิธีการที่เรียกว่า ยูอาร์บีอี เพื่อพิจารณาความคล้ายคลึงกันทั้งในเชิงโครงสร้างและเชิงความหมายของเว็บเซอร์วิซ โดยเพิ่มการประเมินความคล้ายคลึงกันของชนิดข้อมูลโดยพิจารณาในกลุ่มของชนิดข้อมูลและหลักการโคแวเรียนซ์/คอนทราแวเรียนซ์ร่วมด้วย อีกทั้งยังพิจารณาความคล้ายคลึงกันของชื่อโดยพิจารณาความคล้ายคลึงกันของรูปคำ อัลกอริทึมที่เพิ่มความสามารถในการประเมินความคล้ายคลึงนี้เรียกว่า เอ็ม-ยูอาร์บีอี ผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยูอาร์บีอีแล้ว เอ็ม-ยูอาร์บีอีสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของการค้นคืนเว็บเซอร์วิซได้ นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาระบบค้นคืนเว็บเซอร์วิซซึ่งรองรับอัลกอริทึมเอ็ม-ยูอาร์บีอี และสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างเว็บเซอร์วิซที่ใช้งานอยู่กับเว็บเซอร์วิซที่สามารถทำงานทดแทนได้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเตรียมการรับมือกับความแตกต่างก่อนที่จะใช้งานเว็บเซอร์วิซตัวแทน |
Other Abstract: | Web services have been used widely in modern software applications since they, as networked software units, provide certain functionality that can be incorporated into building software applications in a flexible manner. Like other software, Web services may experience changes and failures which make them inaccessible to service consuming applications. In this case, it is then necessary for those applications to find other alternative services. One of the effective approaches is to evaluate both structural similarity and semantic similarity between the description of the service in use and those of other candidate services in order to identify an alternative. This thesis follows an approach called URBE to determine structural and semantic similarity between Web services. In particular, we enhance the evaluation on data type similarity, by also considering family of data types and covariance/contravariance principle, and on name similarity, by also considering text similarity. The enhanced algorithm is called M-URBE. An experiment shows that, in comparison with URBE, M-URBE can improve the performance of Web service retrieval. In addition, a web service retrieval system is developed. It supports the M-URBE algorithm and analyzes the difference between the service is use and potential substitute services so that the service consumer can prepare for the difference before using any substitute service. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49680 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1557 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1557 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nitipan_po.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.