Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49814
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการจัดการตนเองในการอนุรักษ์ป่าชุมชน |
Other Titles: | The development of a community learning model for self-management in conserving community forests |
Authors: | วาสนา เตชะวิจิตรสาร |
Advisors: | มนัสวาสน์ โกวิทยา อาชัญญา รัตนอุบล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Manaswas.K@Chula.ac.th,manaswas@yahoo.com Archanya.R@Chula.ac.th |
Subjects: | การศึกษาชุมชน ป่าชุมชน -- การจัดการ -- การศึกษาและการสอน Community education Community forests -- Management -- Study and teaching ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการจัดการตนเองในการอนุรักษ์ป่าชุมชน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการจัดการตนเองในการอนุรักษ์ป่าชุมชน 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขของรูปแบบการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการจัดการตนเองในการอนุรักษ์ป่าชุมชน และ 4) เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการจัดการตนเองในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนามแบบพหุกรณีศึกษา การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตชนิดไม่มีส่วนร่วม ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการจัดการตนเองในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ประกอบด้วย 1) เนื้อหา/ความรู้ 2) กิจกรรมการเรียนรู้ 3) แหล่งเรียนรู้ 4) ผู้เรียนรู้ที่รู้จักตนเอง เข้าใจสังคมและพร้อมที่จะเรียนรู้ 5) เนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับบริบทสังคมและวัฒนธรรม 6) ผู้ส่งเสริมที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 7) การกระทำเชิงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน และ 8) การเข้าถึงข้อมูลเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์และเข้าใจง่าย และกระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการจัดการตนเองในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การรับข้อมูล 2) การประมวลข้อมูล 3) การสรุปและใช้ข้อมูล และ 4) การประเมินผลการใช้ข้อมูลและสร้างความรู้ 2. รูปแบบการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการจัดการตนเองในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ประกอบด้วย 1) ปรัชญา ได้แก่ ป่าคือชีวิต 2) แนวคิดสำคัญที่ใช้ ได้แก่ (1) การเรียนรู้ตลอดชีวิต (2) การเรียนรู้ชุมชน (3) การกระทำเชิงการสื่อสาร และ(4) การอนุรักษ์ป่าชุมชน 3) องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ (1) เนื้อหา/ความรู้ (2) กิจกรรมการเรียนรู้ (3) แหล่งเรียนรู้ (4) ผู้เรียนรู้จักตนเอง เข้าใจสังคม และพร้อมที่จะเรียนรู้ (5) เนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับบริบทสังคมและวัฒนธรรม (6) ผู้ส่งเสริมที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (7) การกระทำเชิงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน และ (8) การเข้าถึงข้อมูลเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์และเข้าใจง่าย 4) หลักการที่ยึดถือในการเรียนรู้ ได้แก่ (1) คนพึ่งป่า ป่าพึ่งคน และ (2) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และ 5) กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) รับข้อมูล (2) ประมวลข้อมูล (3) สรุปและใช้ข้อมูล และ (4) ประเมินผลการใช้ข้อมูลและสร้างความรู้ 3. ปัจจัยของรูปแบบ ประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) ภูมิความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 2) ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน 3) ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง 4) ความตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ และปัจจัยภายนอกได้แก่ ภาคีเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนต่อเนื่อง เงื่อนไขของรูปแบบ ประกอบด้วย 1) การมองเห็นปัญหา 2) การมีข้อตกลงร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และ 4) การเรียนรู้ตามอัธยาศัย 4. ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการจัดการตนเองในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชนด้วยการศึกษาตามอัธยาศัย 2) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน 3) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนรู้การจัดทำแผนการจัดการป่าร่วมกัน |
Other Abstract: | The purposes of this research were to: 1) analyze and synthesize the components and processes of community learning for self-management in conserving community forests; 2) develop the development of community learning model for self-management in conserving community forests; 3) analyze the factors and conditions of a community learning model for self-management in conserving community forests; and 4) strategy for promoting in community learning model for self-management in conserving community forests. The research methodology was the qualitative research by documentary study, field study, focus group discussion, in-depth interview guideline. The qualitative data were analyzed and synthesize by using the content analysis. The results were as follow: 1. Components of community learning for self-management in conserving community forests comprised: 1) learning content /knowledge; 2) learning activities; 3) learning source; 4) learners’ self-awareness, understanding society, ready to learn; 5) conformity to culture and social context of content; 6) self-directed learning supporters; 7) communicative action for participatory learning; and 8) learners’ easy information accessibility. learning processes comprised four stages as follow: 1) acquisition; 2) analysis; 3) action; and 4) appraisal. 2. Community learning model for self-management in conserving community forests comprised: 1) philosophy was the forest is life; 2) key concepts were (1) lifelong learning; (2) community learning; (3) communicative action; and (4) and community forest conservation; 3) key components were (1) learning content /knowledge; (2) learning activities; (3) learning source; (4) learners’ self-awareness, understanding society, ready to learn; (5) conformity to culture and social context of content; (6) self-directed learning supporters; (7) communicative action for participatory learning; and (8) learners’ easy information accessibility; 4) key principles were (1) people and forest live together; and (2) community members participation; and 5) learning processes comprised four stages as follow: 1) acquisition; 2) analysis; 3) action; and 4) appraisal. 3. Supporting factors of learning model comprised internal factors were 1) body of knowledge on natural resources management of the community members; 2) guru, local wise men; 3) strong community leader; 4) awareness of forest values amongst community members; and external factor was continuing supportive networks. conditions of learning model comprised 1) problem insight; 2) agreement on community forest utilization; 3) knowledge sharing via communication; and 4) informal learning. 4. Strategies to support community learning for self-management in conserving community forests consisted 1) strategy to enhance unity of community through informal learning; 2) strategy to support participatory communicative culture for cooperative learning; and 3) strategy to support learning for enhancing forest management plan through community participation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49814 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1032 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1032 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5284289527.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.