Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49902
Title: การเพิ่มสมรรถนะของสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้ค้ำยันที่กันการโก่งเดาะ
Other Titles: SEISMIC ENHANCEMENT OF RC BRIDGE BY BUCKLING RESTRAINED BRACES
Authors: วัชรพงษ์ นาคะวงค์
Advisors: อาณัติ เรืองรัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Anat.R@Chula.ac.th,aruangrassamee@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเพิ่มสมรรถนะทางด้านความต้านทานแผ่นดินไหวของสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีการเสริมกำลังโครงสร้างด้วยค้ำยันที่กันการโก่งเดาะ (Buckling Restrained Braces, BRB) และทำการเปรียบเทียบกับแบบที่ไม่ได้เสริมกำลังโครงสร้าง สะพานดังกล่าว เป็นไปตามแบบมาตรฐานของกรมทางหลวงชนบท คานยาว 12 เมตร 2 ช่วงสะพาน ความสูง 6.65 เมตร ตอม่อเป็นตอม่อเสาเข็ม (Pile bent) 0.4x0.4 เมตร 6 ต้น ในการจำลองได้ให้ฐานรากเป็นจุดรองรับแบบยึดแน่น โดยทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น (Nonlinear Dynamic Procedure) และมีคลื่นแผ่นดินไหวกระทำในทิศทางด้านข้างของสะพาน 3 ข้อมูล ความเร่งสูงสุดที่ผิวดิน 0.3g 0.4g และ 0.5g เพื่อศึกษาพฤติกรรมค่าตอบสนองต่างๆ ของโครงสร้างสะพานทั้งก่อนและหลังเสริมกำลัง 8 แบบ ค้ำยันที่กันการโก่งเดาะขนาดหน้าตัด 30, 50, 70 และ 90 ตร.ซม. วัสดุแกนกลางเหล็กและอลูมินัม จากการศึกษาพบว่า ก่อนเสริมกำลัง โครงสร้างสะพานมีค่าการเคลื่อนที่ทางด้านข้างค่อนข้างมาก ผลของโมเมนต์และค่าความโค้งในโครงสร้างมีการครากหลายตำแหน่ง หลังจากเสริมกำลัง การใช้ค้ำยันแบบพาดผ่าน 2 ช่วงคาน แต่ละชั้น มี 2 แห่ง หน้าตัด 70 ตร.ซม. วัสดุแกนกลางเหล็ก ทำให้สะพานมีค่าการเคลื่อนที่ทางด้านข้างลดลงสูงสุด 73% ลดผลของโมเมนต์และค่าความโค้งในโครงสร้าง แต่เกิดแรงเฉือนที่ฐานเพิ่มขึ้น 53% ค้ำยันที่กันการโก่งเดาะยังไม่มีการคราก และได้พิจารณาแกนกลางเป็นอลูมินัมขนาด 30, 50 และ 70 ตร.ซม. มีกำลัง 55และ 110 เมกะปาสคาล ขนาดที่เหมาะสมคือ 70 ตร.ซม. กำลังคราก 55 เมกะปาสคาล เปรียบเทียบกับก่อนเสริมกำลังทำให้แรงเฉือนที่ฐานเพิ่มขึ้น 6% การเคลื่อนที่ทางด้านข้างลดลง 29% มีการสลายพลังงานในค้ำยันอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: This research investigates seismic enhancement of reinforcement concrete bridge by buckling restrained braces. The studied bridge is designed according to the standard drawings by Department of Rural Roads. The bridge has two spans with a span length of 12 m and the pile bent has 6 0.4mx0.4m columns with a height of 6.65 m. The foundation is assumed to be the fix support. The nonlinear dynamic analysis is conducted with 3 earthquake ground motions with scaled peak ground accelerations of 0.3g, 0.4g and 0.5g. To study the response behaviors before and after retrofitting of reinforced concrete bridge, 8 types of BRB arrangement, the core areas of 30, 50, 70, 90 sq.cm., and the core materials of steel and aluminum are investigated. It is found that the original bridge suffers nonlinear response at various positions in beams and columns. The arrangement of BRBs crossing 2 beam spans and provided at two levels yield preferable results. The steel-cored BRB with 70 sq.cm. core area can provide the reduction by 73% in lateral displacement. However, the base shear increases 53%. The aluminum-cored BRBs with the areas of 30, 50 and 70 sq.cm. are investigated and it is found that the core area of 70 sq.cm and a yielding strength of 55 MPa can control the increase in the base shear increase to 6% while having 29% decrease in lateral displacement, energy dissipation of BRBs become more efficient.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49902
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570366021.pdf18.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.