Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49906
Title: การลดข้อบกพร่องในกระบวนการย้อมผ้า
Other Titles: Defect reduction in fabric dyeing process
Authors: สุวพิชญ์ ภวดีธนเศรษฐ์
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.R@Chula.ac.th,mr_chukiat@yahoo.com
Subjects: อุตสาหกรรมสิ่งทอ
อุตสาหกรรมฟอกย้อม
Textile industry
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในกระบวนการย้อมผ้าโพลีเอสเตอร์ จากการศึกษาพบว่า กระบวนการย้อมผ้าเกิดข้อบกพร่องขึ้นจำนวนมาก คิดเป็นข้อบกพร่องสีไม่เหมือนและข้อบกพร่องด่างคราบสีสำหรับกรณีผ้ามอสเครป 18.43% และ 7.62% ส่วนข้อบกพร่องสีไม่เหมือนและข้อบกพร่องด่างคราบสีสำหรับกรณีผ้าชีฟองคิดเป็น 16.10% และ 6.59% การดำเนินงานวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาและรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการย้อมผ้าแล้วพบว่ามีปัญหาการตรวจวัดลักษณะข้อบกพร่องสีไม่เหมือนที่ไม่ถูกต้อง จึงได้ดำเนินการแก้ไขก่อนเพื่อให้การตรวจวัดลักษณะข้อบกพร่องสีไม่เหมือนมีความถูกต้องและแม่นยำ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องในกระบวนการย้อมผ้ามอสเครปและผ้าชีฟองโดยใช้ FTA แล้วจึงใช้ FMEA เพื่อคัดเลือกสาเหตุหลักที่มีค่า RPN สูงมาจัดทำแผนการดำเนินการแก้ไขและดำเนินการแก้ไขก่อนตามแผนพร้อมทั้งทำการควบคุมและติดตามผลการดำเนินการแก้ไข ผลการดำเนินงานวิจัย พบว่าการแก้ไขโดยใช้เครื่องวัดสี ทำให้การตรวจวัดลักษณะข้อบกพร่องสีไม่เหมือนมีความถูกต้องและแม่นยำ 100% ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องมาจากขั้นตอนทำความสะอาด ขั้นตอนเซตตัวด้วยความร้อนและขั้นตอนย้อม ซึ่งได้แก่ 1) การใช้สารละลายโซดาไฟใช้ซ้ำ 2) ขาดการทวนสอบน้ำหนักรถเข็น 3) พนักงานชั่งสีไม่ได้ตามที่กำหนด 4)พนักงานผสมสารเคมีไม่ถูกต้อง 5) สีตกค้างที่ถังสี และ 6) การปรับตั้งเครื่องย้อมไม่เหมาะสม การดำเนินการแก้ไขปรับปรุงได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนของกระบวนการย้อมผ้า ดังนี้ 1) การใช้สารละลายโซดาไฟบริสุทธิ์ 2) การทวนสอบน้ำหนักรถเข็น 3) การปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานเรื่องการชั่งสี 4) การปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานในการผสมสารเคมี 5) การปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานในการผสมสี และ 6) การออกแบบการทดลองเพื่อปรับตั้งเครื่องย้อมที่เหมาะสม หลังการดำเนินการแก้ไขจนครบทุกแนวทางแล้ว พบว่า ข้อบกพร่องสีไม่เหมือนและข้อบกพร่องด่างคราบสีในผ้ามอสเครปลดลงเหลือ 9.79% และ 4.55% ตามลำดับ และข้อบกพร่องสีไม่เหมือนและข้อบกพร่องด่างคราบสีในผ้าชีฟองลดลงเหลือ เหลือ 5.78% และ 4.05% ตามลำดับ ทั้งนี้การใช้สารละลายโซดาไฟบริสุทธิ์ในขั้นตอนทำความสะอาดทำให้ข้อบกพร่องลดลงสูงกว่าแนวทางอื่นๆ
Other Abstract: The objective of this research was to reduce the defects in polyester dyeing process. The study results found that there were a lot of color variation defects and dye mark defects. The color variation defects and dye mark defects in Moscrepe fabric were 20.71% and 7.62% respectively. The color variation defects and dye mark defects in Chiffon fabric were 16.10% and 6.59% respectively. The steps of this research were a) studying and gathering data for defining the problems b) improving the measurement system of color variation defects c) using FTA to analyze causes and FMEA to screen the significant causes d) setting up and implementing the plans for improvement and e) monitoring the results. As the results, the significant causes with high RPN values were occurred in scouring, heat setting and dyeing process. Those causes consisted of 1) using reused sodium hydroxide 2) no calibration of weight carts 3) incorrect weight of dyes 4) having residual dyes after pouring 5) wrong orders of mixing chemical 6) improper parameters setting of dyeing machine. Above all, the improvements were concluded as 1) using pure sodium hydroxide 2) calibration of weight 3) improving work instruction of weighting of dyes 4) improving work instruction of mixing chemical 5) improving work instruction of mixing dyes and 6) using design of experiment to found the proper parameters setting of dyeing machine. After the improvements were completely implemented, the percentage of defects of color variation defects and dye mark defects in Moscrepe fabric were reduced to 9.79% and 4.55% respectively. The percentage of color variation defects and dye mark defects in Chiffon fabric were reduced to 5.78% and 4.05% respectively. Finally, using pure sodium hydroxide was the action which reduced higher the percentage of defects than the others.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49906
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1393
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1393
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570429021.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.