Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50059
Title: การวิเคราะห์ภูมิทัศน์เพื่อการจำแนกพื้นที่ลุ่มน้ำของเกาะลันตาใหญ่ จังหวัดกระบี่
Other Titles: LANDSCAPE ANALYSIS FOR WATERSHED CLASSIFICATION OF KO LANTA YAI,CHANGWAT KRABI
Authors: วิภาวี สุรินทร์เซ็ง
Advisors: อังสนา บุณโยภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Angsana.B@Chula.ac.th,angsana.b@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำมาใช้กำหนดแนวทางพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยเฉพาะกับพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำอย่างจำกัดเช่น เกาะลันตาใหญ่ โดยปกติหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จะจัดทำแผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำไว้เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดการใช้ที่ดินลักษณะต่างๆ ที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ตามศักยภาพของชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ อย่างไรก็ดีเนื่องจากเกาะลันตาใหญ่เป็นเกาะขนาดเล็กจึงไม่พบว่ามีการจัดทำแผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ประกอบกับการเติบโตของเมืองและการท่องเที่ยวบนเกาะลันตาใหญ่ ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นต้นน้ำ และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป เกาะลันตาใหญ่จะประสบปัญหาเรื่องทรัพยากรน้ำที่จะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ลดลง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดสร้างแผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และกำหนดมาตรการในการใช้ที่ดินที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่เกาะลันตาใหญ่ ในการศึกษาใช้การวิเคราะห์ทางภูมิทัศน์ ที่นำเอาปัจจัยในการจำแนกชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่ประกอบด้วย ระดับความสูง ลาดชัน ลักษณะทางธรณีวิทยา คุณสมบัติของดิน สิ่งปกคลุมดิน และการใช้ที่ดิน มาทำการวิเคราะห์ในระบบภูมิสารสนเทศตามเกณฑ์ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและกรณีศึกษาต่างๆ พบว่าปัจจุบันมีการใช้ที่ดินที่ไม่สอดคล้องกับแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงได้มีการปรับปรุงมาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินของแผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำของเกาะลันตาใหญ่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โดยให้ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่ 1A เป็นพื้นที่อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ห้ามใช้ประโยชน์ใดๆ หากถูกบุกรุกให้ทำการรื้อถอน เช่นเดียวกับชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B ที่ให้เป็นพื้นที่ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่ 2 ยังคงเป็นพื้นที่อนุรักษ์ป่า บริเวณที่ถูกบุกรุกทำสวนยางต้องปรับปรุงสภาพให้พื้นที่ป่า และต้องควบคุมการบุกรุก ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่ 3 ให้ทำการเกษตรได้แต่ต้องอนุรักษ์ดินและน้ำ และใช้ในการเก็บน้ำได้ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่ 4 และ 5 ใช้ประโยชน์ตามปกติแต่ต้องอนุรักษ์ดินและน้ำ ส่วนชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 5A ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ป่าชายเลน
Other Abstract: The Watershed Classification Map is a tool to guide land use development, particularly for an area with limited water supply such as Ko Lanta Yai. The government organizations responsible for natural resources management usually provide a Watershed Classification Map to control land use in each area according to its potential and its watershed class. However, the watershed map for Ko Lanta Yai which is a small island, is not available. In addition, due to tourism expansion, this island is facing encroachment on areas that should be conserved for headwater. If this problem is not properly handled, the island will soon experience water problems in terms of quantity and quality. The objectives of this study are to create a Watershed Classification Map and to propose protection measures for each watershed class to guide land development of Ko Lanta Yai. The landscape analysis method was used in this study. The factors taken into consideration for identifying Ko Lanta Yai’s Watershed Classification Map were elevation, slope, geological features, soil quality, land cover and land use. The analysis was then performed with Geographic Information System using criteria compiled from literature review and relevant case studies. Therefore, protection measures for each watershed class were modified: watershed class 1A was preserved for headwater forest and prohibited any use, any invasion must be removed; this measures also applied for class 1B which reforestation may be necessary.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50059
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673345525.pdf14.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.