Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50071
Title: ปัจจัยทำนายภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
Other Titles: Predicting factors of health status among patients after coronary artery bypass graft surgery
Authors: ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
สุชาต ไชยโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Noraluk.U@Chula.ac.th,noralukuakit@yahoo.com
schaiyaroj@gmail.com
Subjects: หัวใจ -- หลอดเลือด -- โรค -- ผู้ป่วย
หัวใจ -- หลอดเลือด -- ศัลยกรรม
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
พฤติกรรมสุขภาพ
Heart -- Bolld-vessels -- Diseases -- Patients
Heart -- Bolld-vessels -- Surgery
Self-care, Health
Health behavior
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ ความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของปัจจัยทำนายได้แก่ อายุ ระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัด ค่าการบีบตัวของหัวใจ ภาวะโรคร่วม ความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัด และพฤติกรรมการดูแลตนเองที่มีต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 18-59 ปี จำนวน 123 คน ที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดีและโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประเมินภาวะโรคร่วม แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัด แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง และแบบสอบถามภาวะสุขภาพ แบบสอบถามหาค่าความตรงตามเนื้อหาได้ค่าเท่ากับ .80, .90 และ .83 ตามลำดับ และได้ความเที่ยงเท่ากับ .96, .81, .83 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ มีภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 58.03, S.D. = 3.90) 2. พฤติกรรมการดูแลตนเอง ค่าการบีบตัวของหัวใจและความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .678, r = .583 และ r = .549 ตามลำดับ) ส่วนภาวะโรคร่วม อายุและระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.565, r = -.554 และ r = -.537 ตามลำดับ) และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ภาวะโรคร่วม ระดับสมรรถภาพของหัวใจก่อนผ่าตัด อายุ ค่าการบีบตัวของหัวใจและความรู้เรื่องโรคและการผ่าตัดสามารถร่วมทำนายภาวะสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 74 (R2 = .740, p < .05)
Other Abstract: The purposes of this predictive research study aimed to examine the health status and to examine whether ages, functional classes, ejection fraction, comorbidity, knowledge of the disease and operation, and self-care behavior could predict the health status in patients with coronary artery bypass graft surgery (CABG). Data were collected from 123 patients with CABG (males and females) aged between 18 and 59 years were recuited from a multistage random sampling in the cardiac clinic at the Ramathibodi Hospital and Pharmongkutklao Hospital. The instruments were composed of demographic information, comorbidity, knowledge of the disease and operation, self-care behavior, and the short form-36 health survey (SF-36) questionare. The content validity index (CVI) of these questionares were .80, .90, and .83 respectively and reliabilities of these questionares were .96, .81, .83, and .86 respectively. Descriptive and Stepwise multiple regression statistics were used to analyze data. The results revealed: 1. The mean score of the health status in CABG patients was good. (Mean = 58.03, S.D. = 3.90) 2. Self-care behavior, ejection fraction, and knowledge of the disease were positively related to health status in patients with CABG at the level of .05 (r = .678, .583, and .549, respectively) and comorbidity, ages, functional classes were negatively related to health status of patients with CABG at the level of .05 (r = -.565, -.554, and -.537, respectively). In addition, Self-care behavior, comorbidity, functional classes, ages, ejection fraction, and knowledge of the disease were good predictors with 74% of total variances explained for health status in patients with coronary artery bypass graft (R2 = .740, p < .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50071
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.758
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.758
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677176536.pdf10.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.