Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50117
Title: การศึกษาความสบายเชิงความร้อนของผู้อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้หน้าต่างกระจกที่มีการติดตั้งมู่ลี่
Other Titles: A study of thermal comfort of a person sitting near a glass window with a venetian blind installed.
Authors: นภารัตน์ พานิชชีวะกุล
Advisors: สมศักดิ์ ไชยะภินันท์
นพรัตน์ คำพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somsak.Ch@Chula.ac.th,Somsak.Ch@chula.ac.th
afluid98@hotmail.com
Subjects: มู่ลี่
ภาวะสบาย
ที่อยู่อาศัย -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ที่อยู่อาศัย -- การทำความร้อนและการระบายความร้อน
Blinds
Human comfort
Dwellings -- Mathematical models
Dwellings -- Heating and ventilation
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ทำนายผลของความสบายเชิงความร้อนของผู้อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้หน้าต่างกระจกที่ติดตั้งมู่ลี่ให้มีความแม่นยำ ซึ่งการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้กระทำด้วยการปรับปรุงในหลายๆ ส่วน ได้แก่ การปรับปรุงค่าสัมประสิทธิ์การพาความร้อนในส่วนต่างๆของระบบหน้าต่างกระจกติดมู่ลี่ สภาพนำความร้อนของชั้นมู่ลี่ การปรับปรุงสัดส่วนของรังสีแสงอาทิตย์แบบกระจายจากท้องฟ้าและพื้นดินที่ตกกระทบระบบหน้าต่างกระจกติดมู่ลี่ และเพิ่มเติมการดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์แบบกระจายในชั้นของกระจกและมู่ลี่ จากนั้นตรวจสอบความแม่นยำของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้นกับผลการทดลองของหน้าต่างกระจกใสกับมู่ลี่สีครีมที่มุมบิดใบมู่ลี่เท่ากับ 0, 45 และ -45 องศา พบว่าค่าที่ได้มีความสอดคล้องกันดี จากนั้นจึงทำการศึกษาผลของพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของหน้าต่างกระจกและมู่ลี่ที่มีต่อค่าความสบายเชิงความร้อนของผู้อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้หน้าต่างกระจกที่มีการติดตั้งมู่ลี่ ได้แก่ ชนิดของกระจกที่ใช้ ค่าการสะท้อนรังสีของใบมู่ลี่ และสัดส่วนของรังสีแสงอาทิตย์แบบกระจายจากท้องฟ้าและพื้นดินที่ตกกระทบระบบหน้าต่างกระจกติดมู่ลี่ โดยในส่วนของชนิดของกระจกที่ใช้พบว่าการใช้กระจกที่มีค่าการส่งผ่านรังสีแสงอาทิตย์ต่ำ จะช่วยลดปริมาณรังสีแสงอาทิตย์ที่ส่งผ่านเข้ามาภายในห้องได้มาก ผู้อยู่อาศัยจึงมีความไม่สบายเชิงความร้อนลดลง ในส่วนของค่าการสะท้อนรังสีของใบมู่ลี่ พบว่ายิ่งใบมู่ลี่มีค่าการสะท้อนรังสีสูง ผู้อยู่อาศัยจะมีความไม่สบายเชิงความร้อนลดลงเช่นเดียวกัน และในส่วนของสัดส่วนของรังสีแสงอาทิตย์แบบกระจายจากท้องฟ้าและพื้นดินที่ตกกระทบระบบหน้าต่างกระจกติดมู่ลี่ พบว่าเมื่อสัดส่วนของรังสีแสงอาทิตย์แบบกระจายจากพื้นดินเพิ่มขึ้นและสัดส่วนของรังสีแสงอาทิตย์แบบกระจายจากท้องฟ้าลดลง สัดส่วนนี้แทบจะไม่มีผลกระทบต่อความไม่สบายเชิงความร้อนของผู้อยู่อาศัยเลยเมื่อใบมู่ลี่ทำมุมบิด 0 องศา แต่เมื่อใบมู่ลี่ทำมุมบิด 45 องศา ผู้อยู่อาศัยจะมีความไม่สบายเชิงความร้อนเพิ่มขึ้น และเมื่อใบมู่ลี่ทำมุมบิด -45 องศา ผู้อยู่อาศัยจะมีความไม่สบายเชิงความร้อนลดลง
Other Abstract: This thesis is about the development of a mathematical model for predicting the thermal comfort of a person sitting near a glass window with a venetian blind installed. The mathematical model is developed in many parts that are the convective heat transfer coefficient used in various points in the fenestration system, the thermal conductivity of the blind layer, the ratio between the sky diffuse solar radiation and the ground diffuse solar radiation affecting on the fenestration system and the addition of diffuse solar radiation absorbed in the fenestration system. The accuracy of the mathematical model is verified by comparing the predicted results with the experimental results in case of clear glass window with the cream venetian blind at slat angle 0, 45 and-45 degree and the agreement is good. Besides, the effects of parameters of a glass window and a venetian blind on the thermal comfort of a person sitting near a glass window with a venetian blind installed are also investigated that are the type of the glass, the slat reflectivity and the ratio between the sky diffuse solar radiation and the ground diffuse solar radiation affecting on the fenestration system. Firstly, using the glass that has the low value of solar transmittance can decrease the thermal discomfort of a person. Secondly, the increasing of the slat reflectivity can also decrease the thermal discomfort of a person. Last but not least, the increasing of sky diffuse ratio and reducing of ground diffuse ratio almost affects nothing on the thermal discomfort of a person when the slat angle is at 0 degree. But it increases the thermal discomfort of a person when the slat angle is at 45 degree and decreases the thermal discomfort of a person when the slat angle is at -45 degree.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50117
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1409
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1409
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770205921.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.