Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50191
Title: การพัฒนาโมเดลมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Other Titles: The development of a dissertation quality value-added model for humanities and social sciences programs in private higher education institutions
Authors: ธัญสินี เล่าสัม
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.K@Chula.ac.th,sirichai.k@chula.ac.th
ptaweewat@hotmail.com
Subjects: วิทยานิพนธ์ -- การควบคุมคุณภาพ
มนุษยศาสตร์ -- วิจัย
สังคมศาสตร์ -- วิจัย
Dissertations, Academic -- Quality control
Humanities -- Research
Social sciences -- Research
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) วิเคราะห์ปัจจัยระดับนิสิตนักศึกษา ระดับอาจารย์ที่ปรึกษา และระดับสถาบันที่ส่งผลต่อคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 3) พัฒนาโมเดลมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 4) ตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีขนาดกลางกับขนาดใหญ่ และอายุของสถาบันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 29 ปี กับอายุของสถาบันมากกว่า 29 ปี กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 12 แห่ง ที่ดำเนินการแล้วเสร็จระหว่างปีการศึกษา 2550-2556 จำนวน 750 เรื่อง ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลโดยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่สำเร็จการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2550-2556 ซึ่งเป็นผู้ทำวิทยานิพนธ์ที่นำมาใช้ในการศึกษานี้ จำนวน 633 คน 2) อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระหว่างปีการศึกษา 2550-2556 ของวิทยานิพนธ์ที่สุ่มได้ จำนวน 108 คน และ 3) ผู้บริหารสถาบัน เป็นผู้รับผิดชอบหรือบริหารหลักสูตรระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 12 คน จากสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 12 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพวิทยานิพนธ์ และแบบสอบถามสำหรับนิสิตนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้บริหารสถาบัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การตรวจสอบการแจกแจงปกติ การเปรียบเทียบคะแนนมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์ด้วยสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (one-way analysis of variance) โดยใช้โปรแกรม SPSS version 20 วิเคราะห์โมเดลมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์ โดยใช้โมเดลเชิงเส้นระดับลดหลั่น (hierarchical linear model) ด้วยการวิเคราะห์พหุระดับ โดยใช้โปรแกรม HLM version 7.01 และวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์ โดยใช้โปรแกรม Mplus version 7.3 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) คุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยภาพรวมทั้ง 750 เรื่อง อยู่ในระดับมาตรฐาน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเรียงลำดับตามขนาดสัมประสิทธิ์การถดถอยจากมากไปน้อยในแต่ละระดับดังนี้ ระดับนิสิตนักศึกษา คือ ลักษณะนิสัยที่เอื้อต่อการทำวิจัย ระดับอาจารย์ที่ปรึกษา ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำวิจัย ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการวิจัย และสัดส่วนของนิสิตนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษา และระดับสถาบัน คือ ระบบและกลไกการควบคุมติดตามการวิจัยจากสถาบัน 3) โมเดลมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยในระดับนิสิตนักศึกษา ระดับอาจารย์ที่ปรึกษา และระดับสถาบันได้ร้อยละ 6, 27 และ 76 ตามลำดับ และโมเดลทั้ง 3 ระดับ สามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยได้ร้อยละ 36 ส่วนการเปรียบเทียบคะแนนมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษา พบว่า อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกต่างกัน มีคะแนนมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกมากกว่า 20 ปี มีคะแนนมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์มากกว่าอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ระหว่าง 10-20 ปี และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกมากกว่า 20 ปี มีคะแนนมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์มากกว่าอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 10 ปี 4) โมเดลมูลค่าเพิ่มคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ไม่มีความแปรเปลี่ยนด้านรูปแบบระหว่างขนาดและอายุของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน แต่มีความแปรเปลี่ยนในแต่ละค่าพารามิเตอร์
Other Abstract: The purposes of this study were to 1) evaluate the quality of dissertations in humanities and social sciences of private higher education institutions, 2) analyze factors affecting the quality at the student, the advisor, and the institute levels, 3) develop the quality value-added model of the dissertations, and 4) test the invariance of the quality value-added model of the dissertations in humanities and social sciences of private medium- and large-size private higher education institutions with the age of 29 and below and over 29 years old. Samples of the study were divided into two groups: 1) the 750 dissertations in humanities and social sciences carried out from 2007 to 2013 at 12 private higher education institutions; and 2) the questionnaire respondents including 633 doctoral graduates in humanities and social sciences who graduated from those 12 private higher education institutions from 2007 to 2013, 108 dissertation advisors in humanities and social sciences of those 750 doctoral graduates, and 12 senior administrators of the 12 participating private higher education institutions. The 5-point rating dissertation evaluation scale used by the researcher and her assistants was developed. Three sets of dissertation attribution questionnaire used by the students, the advisors, and the senior administrators were also developed and administered. The descriptive statistics such as frequency count, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product-moment correlation coefficient were used. The t-test and one-way analysis of variance were used to compare the value-added scores of dissertations by supervising different groups of different private higher education institutions. The SPSS for Windows version 20 was used in the data analysis. The 3-level HLM version 7.01 package was used to analyze the quality value-added model of the dissertations. The Mplus version 7.3 was used for testing the invariances of the quality value-added models. The results were as follows: 1) the overall quality of the 750 dissertations was at the standard level; 2) there were 5 factors at three different levels influencing the dissertation quality including one student factor-the favorable characteristics in conducting research, three advisor factors-experience in research, the up-to-date knowledge in research, and the advisor-student ratio, one institutional factor-the close monitoring and management system; 3) the quality value-added model was able to predict the variance of the student, the advisor, and institution factors at the 6%, 27% and 76% respectively. The quality value-added model was able to predict the overall variance of the dissertation quality at 36%, and through the comparison of the quality value-added scores of the dissertations under the different groups of advisor, the advisors with different advisory experience made the quality value-added scores of their advisees’ dissertations significantly different at the .05 level; and 4) The quality value-added model of the dissertation indicated invariance of the model form in the size and the age of the institution but vary in each type of parameter.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50191
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1153
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1153
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484213027.pdf10.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.