Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50194
Title: | การพัฒนาต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกระบบสำหรับครูในมูลนิธิที่ดูแลเด็กด้อยโอกาส |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF NON-FORMAL EDUCATION ACTIVITIES MODEL FOR TEACHERS IN FOUNDATIONS FOR DISADVANTAGED CHILDREN |
Authors: | ศิริพร จินะณรงค์ |
Advisors: | สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล รังสิพันธุ์ แข็งขัน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suwithida.C@Chula.ac.th,suwithida@yahoo.com Rangsiphan.K@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากปัญหาจำนวนเด็กด้อยโอกาสที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้กลายเป็นปัญหาระดับประเทศ เด็กเหล่านี้ต้องการการดูแลที่แตกต่างจากเด็กทั่วไปเนื่องจากเด็กมีปัญหาทางด้านอารมณ์และสังคมอันเนื่องมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องเช่นขาดผู้ปกครองดูและหรือผู้ปกครองไม่อยู่ในสภาวะที่จะดูแลเด็กได้ ฯลฯ โดยได้มีการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือดูแลเด็ก ดังนั้นครูผู้ดูแลเด็กที่ทำงานอยู่ในมูลนิธิมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ งานวิจัยเรื่องการพัฒนาต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกระบบสำหรับครูในมูลนิธิที่ดูแลเด็กด้อยโอกาส มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ และคุณลักษณะของครูผู้สอนเด็กด้อยโอกาส และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกระบบสำหรับครูในมูลนิธิที่ดูแลเด็กด้อยโอกาส (2) เพื่อการพัฒนาต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกระบบสำหรับครูในมูลนิธิที่ดูแลเด็กด้อยโอกาส และ (3) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการพัฒนาต้นแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกระบบสำหรับครูในมูลนิธิที่ดูแลเด็กด้อยโอกาสไปสู่การพัฒนาและการปฏิบัติ โดยมีการศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและคุณลักษณะของครูผู้สอน เด็กด้อยโอกาสจาก 5 มูลนิธิ ทำการทดลองต้นแบบการจัดกิจกรรมที่ โรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรักมูลนิธิเด็กเป็นเวลา 2 ภาคการศึกษา และการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ผลการวิจัยพบว่า ครูในมูลนิธิที่ดูแลเด็กด้อยโอกาสเป็นผู้มีความเสียสละและได้จัดการเรียนการสอนเด็กด้อยโอกาสเป็นอย่างดี แต่ยังขาดความรู้ในด้านการจัดกิจกรรมเฉพาะทาง เช่น ดนตรี ศิลปะ และการเคลื่อนไหว (1) สภาพปัญหาและความต้องการในการจัดกิจกรรมของครูในมูลนิธิคือทักษะในการจัดกิจกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านอารมณ์และสังคมของเด็กที่เกิดจากสภาวะการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องก่อนได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิ (2) ต้นแบบกิจกรรมควรเน้นด้านการปฏิบัติที่ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับประสบการณ์สุนทรียะที่มีนัยเชิงบวก และมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมีการทำซ้ำแบบแตกต่าง มีผลทำให้เกิดวงจรของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์และทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านอารมณ์และสังคมได้ในเด็กด้อยโอกาส และ (3) ในการนำไปพัฒนาและปฏิบัติจริง กิจกรรมการเรียนรู้ควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับประเภทของความด้อยโอกาส ตัวกิจกรรมควรมุ่งเน้นแก้ปัญหาทางด้านอารมณ์และสังคมของเด็ก มีการพัฒนาครูและผู้ดูแลเด็กอย่างเป็นระบบ และมีการจัดแหล่งเรียนรู้สำหรับครูและผู้ดูแลเด็ก |
Other Abstract: | The dramatic increased in number of disadvantaged children in Thailand has become the national concerns. These children include orphans, in jail parents, drug addicted parents, parents with mental illness and family with poverty. Foundations, charity organizations, were established to help these types of target group. Teachers who works in Foundations has important role in developing these children. This research has 3 objectives: (1) to find need analysis and characteristics of teachers in Foundations, and to find non-formal education activities for teachers (2) to develop non-formal activities for teachers in Foundations and (3) to come up with recommendations. The need analysis was done from survey 5 foundations for children. Then activities were designed and tested at Moo Baan Dek Sarnrak Kindergarten, Children Foundations for 2 semesters. The final step was to organized focus group of experts for a discussion to come up with suggested policies. The result founded that Foundation’s teachers are devoting to their work and children’s developments. However, they are lacking of skills in arranging specialized activities such as music arts and movements. (1) The needs analysis result found that the music arts and movements can help enhance children’s emotion and social skills. (2) The suggested activities model should be type of aesthetic experiences which consists of hands-on repeated actions with the cycle of Experiential Learning fashion. These activities should implied positivity and should be continuous over time therefore the children’s brain could be developed properly according to their age. The repeated optimistic aesthetic experiences over time may result in children realizing the desired behavior. (3) For further development and practice, the activities should suitable for types of disabilities, and focus on enhancing children’s social and emotion abilities. Systematic teachers’ development should be created. Lastly, special teachers’ learning center for teachers who teach disadvantaged children should be created. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50194 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484272027.pdf | 7.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.