Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50219
Title: | การดูดซับแบบคัดเลือกของคาร์บามาซีปีนบนตัวกลางดูดซับชนิดคาร์บอนภายใต้การมีอยู่ของสารอินทรีย์ธรรมชาติและอิออนชนิดต่างๆ |
Other Titles: | Selective adsorption of carbamazepine on carboneceous adsorbents under the presence of natural organic matters and ions |
Authors: | มัชฌิมา ทองจีน |
Advisors: | ปฏิภาณ ปัญญาพลกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Patiparn.P@Chula.ac.th,p_patiparn@yahoo.com |
Subjects: | คาร์บามาซีปีน -- การดูดซึมและการดูดซับ การดูดซับ Carbamazepine -- Absorption and adsorption Adsorption |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของพีเอช อิออนต่างๆ สารอินทรีย์ธรรมชาติ และสารตกค้างร่วมจากซัลฟาเมทอซาโซล ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดูดซับคาร์บามาซีปีนบนตัวกลางดูดซับชนิดคาร์บอน (ถ่านกัมมันต์ชนิดผง ถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ด และ กราฟีนออกไซด์) จากผลการวิจัยพบว่า ตัวกลางดูดซับทุกชนิดดูดซับคาร์บามาซีปีนได้อย่างรวดเร็วในช่วง 20 นาทีแรก และการดูดซับทั้งหมดเป็นไปตามสมการจลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับ 2 เสมือน จากการศึกษาผลของพีเอชต่อการดูดซับพบว่าพีเอชที่ศึกษา (6.2 7 และ 8.2) ไม่ส่งผลต่อการดูดซับคาร์บามาซีปีนบนถ่านกัมมันต์ชนิดผงและเกล็ด แต่ไม่สามารถสรุปผลของพีเอชต่อการดูดซับคาร์บามาซีปีนของกราฟีนออกไซด์ได้อย่างแน่ชัด จากการศึกษาการดูดซับคาร์บามาซีปีนภายใต้การมีอยู่ของอิออนชนิดต่างๆพบว่า การมีอยู่ของโมโนวาเลนซ์อิออน Na+ และ Cl- ร่วมกับมลสารตกค้างจากยา ไม่ทำให้ประสิทธิภาพการดูดซับของยาบนตัวกลางดูดซับชนิดคาร์บอนลดลง สำหรับอิออน K+ ไม่ทำให้ประสิทธิภาพการดูดซับคาร์บามาซีปีนบนกราฟีนออกไซด์ลดลง แต่ทำให้การดูดซับคาร์บามาซีปีนบนถ่านกัมมันต์ชนิดผงและถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดลดลง อิออนประจุลบ NO3-, CO32- นั้นส่งผลให้ประสิทธิภาพการดูดซับคาร์บามาซีปีนบนทุกตัวกลางดูดซับลดลง จากการศึกษาพบว่า อิออน SO42- Mg2+ และ Ca2+ เพิ่มการดูดซับคาร์บามาซีปีนบนกราฟีนออกไซด์ให้สูงขึ้นเป็นอย่างมาก แต่กลับส่งผลให้การดูดซับคาร์บามาซีปีนบนถ่านกัมมันต์ชนิดผงและถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ ยังพบว่าสารอินทรีย์ธรรมชาติทำให้การดูดซับคาร์บามาซีปีนบนถ่านกัมมันต์ชนิดผงลดลง แต่กลับเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับคาร์บามาซีปีนบนถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ดอย่างมาก จากการศึกษาการดูดซับเชิงสารผสมระหว่างคาร์บามาซีปีนและซัลฟาเมทอซาโซล พบว่า ถ่านกัมมันต์ชนิดผงและเกล็ดเลือกที่จะดูดซับคาร์บามาซีปีนมากกว่าซัลฟาเมทอซาโซล ในทางตรงกันข้ามกราฟีนออกไซต์มีเลือกที่จะดูดซับซัลฟาเมทอซาโซลมากกว่าคาร์บามาซีปีน ซึ่งจากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โมโนวาเลนซ์ ไดวาเลนซ์ สารอินทรีย์ธรรมชาติ และซัลฟาเมทอซาโซล ส่งผลกระทบต่อการดูดซับคาร์บามาซีปีนบนตัวกลางดูดซับชนิดคาร์บอน |
Other Abstract: | In this study, The adsorption of carbamazepine (CBZ) onto three carbonaceous adsorbents (powdered activated carbon; PAC, granular active carbon; GAC and graphene oxide; GO) was investigated under co-existing with cations, anions, sulfamethoxazole (SMX) and natural organic matter (NOM). The study of sorption kinetic was found that all studied adsorbents adsorbed CBZ rapidly in first 20 minutes. The adsorption kinetic data obtained were best described by pseudo-second-order kinetic rate model. The impact of pH on adsorption capacity of CBZ was examined at three values of pH (6.2, 7 and 8.2). The sorption capacity of CBZ onto PAC and GAC was not influenced by the pH, but the sorption of CBZ onto GO did not provide sufficient information to distinguish their sorption capacities. The experiment demonstrated that the presence of Na+ and Cl- in adsorption of CBZ did not effect on adsorption capacity of CBZ onto carbonaceous adsorbents. Monovalent K+ did not reduce the sorption capacity of CBZ onto GO, whereas the adsorption of CBZ onto PAC and GAC was affected by the K+, NO3-, CO32-, resulted in the decrease adsorption of CBZ onto all the tested adsorbents. SO42- Mg2+ and Ca2+ made intense increase in the adsorption CBZ onto GO, whereas the presence of those ions solely caused reduction in adsorption of CBZ onto PAC and GAC. Moreover, NOM decreased the CBZ sorption onto PAC, whereas it greatly enhanced the sorption of CBZ onto GAC. The analysis of co-sorption systems between CBZ and SMX showed that PAC and GAC selectively adsorbed CBZ over SMX. In contrast, GO preferred to adsorb SMX than CBZ. These results suggest that monovalent ions, divalent ions, NOM and sulfamethoxazole are notable factors affecting the adsorption of CBZ onto carbonaceous adsorbents. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50219 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1408 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1408 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570334021.pdf | 5.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.