Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50292
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคณพล จันทน์หอมen_US
dc.contributor.authorจิรภัทร ผลากรกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:04:24Z-
dc.date.available2016-12-01T08:04:24Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50292-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะของผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับขอบเขตของผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ถูกข่มเหง ตลอดจนขอบเขตการกระทำที่เป็นการข่มเหงซึ่งสามารถบันดาลโทสะได้ จากการศึกษาพบว่า การข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมซึ่งทำให้ผู้กระทำความผิดบันดาลโทสะได้นั้น อาจเป็นการข่มเหงต่อตัวผู้กระทำความผิด หรือเป็นการข่มเหงต่อผู้อื่นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้กระทำความผิดได้ เนื่องจากการข่มเหงผู้ใกล้ชิดเสมือนเป็นการข่มเหงถึงตัวผู้กระทำความผิดในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายมิได้กำหนดนิยามของความสัมพันธ์ใกล้ชิดว่าหมายถึงบุคคลใด ทำให้ศาลต้องวินิจฉัยความสัมพันธ์โดยปราศจากหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน บางกรณีศาลวินิจฉัยความสัมพันธ์ตามกฎหมาย บางกรณีศาลวินิจฉัยความสัมพันธ์ตามสาโลหิต นอกจากนี้ จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักร่วมเพศ คู่หมั้น คนรัก (แฟน) หุ้นส่วนทางธุรกิจ เพื่อนสนิท การข่มเหงอย่างร้ายแรงแก่บุคคลเหล่านี้ยังไม่มีหลักเกณฑ์พิจารณาที่ชัดเจนว่าจะถือเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงต่อผู้กระทำความผิดที่สามารถบันดาลโทสะได้หรือไม่ รวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการข่มเหงบุคคลเหล่านี้ว่าครอบคลุมการกระทำใดบ้าง ในต่างประเทศมีกลไกการพิจารณากรณีการข่มเหงผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้กระทำความผิดโดยบันดาลโทสะแตกต่างกัน บางประเทศศาลหรือคณะลูกขุนมีการใช้ดุลพินิจพิจารณาถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิด บางประเทศมีกฎหมายกำหนดความสัมพันธ์ใกล้ชิดไว้อย่างชัดเจน แตกต่างกันไปตามระบบกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรม หากประเทศไทยจะกำหนดปัจจัยที่ศาลจะนำมาใช้วิเคราะห์ถึงการข่มเหงผู้ใกล้ชิดให้มุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตามข้อเท็จจริงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการข่มเหงผู้้ใกล้ชิดไว้ในบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72 จะทำให้การใช้ดุลพินิจของศาลมีความแน่นอนเป็นเอกภาพ และอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้กระทำความผิดและผู้เสียหายในแต่ละคดี รวมทั้งสังคมมากยิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis mainly involved a discussion of the provocation as mitigating circumstance in Thai Criminal Law. Especially, close relatives attack was an adequate provocation which let a reasonable man to loss of self-control. However, Thai Criminal Code did not provide the definition of close relatives, so the court’s decision in this matter was not unity. The thesis researched the factors that indicate the close relationship of the offender and the maltreat person. The result of the study found that the doctrine of reasonable man had several defects because it did not consider the conditions of the offender which affect to the self-control, so considering the close relationship under ultimate reasonable man test was not justice. Moreover, the study found the factors that indicate the close relationship appeared in Criminal Law as well as in Sociology and Social Psychology. These factors were the deep and extensive interaction, the duration of relationship, the physical proximity and the reciprocity. In USA and England, the jury could determine the close relationship, hence the court’s decision was compatible the human nature. While, German Criminal Code set forth the definition of close relationship and the assault on them which was mitigating circumstance. In French, provocation defence did not appear as section, but the court could bring this circumstance in consider. This thesis suggest the factors determining the close relationship in Thai Criminal Code section 72 in order to help the court considering the close relation close relationship of the offender and the maltreat person. Moreover, it would make the court’s decision more unity and justice to the offender, the plaintiff and society.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะของผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ถูกข่มเหงen_US
dc.title.alternativeDECRIMINALIZATION FOR PROVOCATION OF THE MALTREATED PERSON’S INTIMATEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKanaphon.C@Chula.ac.th,Kanaphon.C@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585965534.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.