Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50302
Title: การส่งผ่านราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นไปยังราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย
Other Titles: PASS-THROUGH OF EX-REFINERY PRICES TO THAILAND DOMESTIC RETAIL PRICES
Authors: วรุตม์ ลิ่มชูเชื้อ
Advisors: ฐิติศักดิ์ บุญปราโมทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Titisak.B@Chula.ac.th,tboonpra03@yahoo.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นกับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย ว่ามีความสัมพันธ์กันในเชิงสถิติหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนของราคาที่สูงขึ้นและลดลงในแต่ละช่วงเวลาว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันหรือไม่ พร้อมกันนี้กรณีพบความไม่สัมพันธ์ของราคาได้พิจารณาเพิ่มเติมถึงองค์ประกอบของราคาที่อาจส่งผลให้เกิดความไม่สัมพันธ์กันดังกล่าว จากการจำแนกราคาน้ำมันแต่ละชนิดออกเป็น 4 ระดับ คือ 1)ระดับราคาตลาดสิงคโปร์ 2)ระดับราคาหน้าโรงกลั่น 3)ระดับราคาขายส่ง 4)ระดับราคาขายปลีก และองค์ประกอบที่เกิดขึ้นระหว่างระดับราคาต่างๆ ดังกล่าว โดยทำการศึกษาราคาน้ำมันรายวันระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555 โดยเริ่มจากการพิจารณาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันจากการสร้างกราฟเพื่อเลือกช่วงเวลาที่สังเกตเห็นความไม่สัมพันธ์ของระดับราคาต่างๆ แล้วจึงทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และเน้นวิเคราะห์ข้อมูลรายวันในช่วงเวลาที่พบความไม่สัมพันธ์ของราคา ผลจากการวิจัยพบว่า น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 โดยภาพรวมปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน คือ ค่าการตลาด ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างราคาขายปลีกกับราคาขายส่ง และค่าขนส่ง ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างราคาหน้าโรงกลั่นกับราคาตลาดสิงคโปร์ ขณะที่ในน้ำมันดีเซล ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในช่วงปี พ.ศ.2551-2553 คือ ค่าการตลาด ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างราคาขายส่งกับราคาขายปลีก และค่าขนส่ง ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างราคาหน้าโรงกลั่นกับราคาตลาดสิงคโปร์ และในช่วงปี พ.ศ.2554-2555 คือ ภาษีและกองทุนต่างๆ ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างราคาขายส่งกับราคาหน้าโรงกลั่น
Other Abstract: This research aims to study the statistical correlation of price between ex-refinery price and retail price at gas stations in Thailand. Based on markets, gas price is classified into 4 groups, including, 1) Singapore oil price 2) Ex-refinery price 3) Wholesale price and 4) Retail price. By observing the pattern of increase and decrease in price, this research mainly focuses to detect the abnormal patterns of price correlation between each market level and to identify the price components causing these abnormalities, The research observes daily pricing trends from 2008-2012 to initially highlight any abnormalities, following by, statistically tests the correlation using Pearson Product Moment Correlation Coefficient between each price level. The study also emphasizes to analyze the abnormality of daily pricing correlation. As a result, for gasohol 95 and gasohol 91, uncorrelated price trend of wholesale price to retail price, and Singapore price to ex-refinery price is a consequence of marketing margin and transportation cost respectively. In the same manner, a study of diesel price during 2008-2010 also shows that marketing margin and transportation cost cause diesel price volatility. The result is the difference in price trends of wholesale price to retail price, and Singapore price to ex-refinery price respectively. Nevertheless, uncorrelated price trend in 2011-2012 of ex-refinery price to wholesale price is from government taxation and oil price subsidy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50302
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5587611720.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.