Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50315
Title: | การออกแบบระบบการวางแผนการผลิตล้ออัลลอย |
Other Titles: | Design of production planning system for alloy wheel manufacturing |
Authors: | มัลลิกา บุญเพ็ง |
Advisors: | ปวีณา เชาวลิตวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Paveena.C@Chula.ac.th,paveena.c@chula.ac.th |
Subjects: | ล้อ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ การวางแผนการผลิต Wheels Automobile supplies industry Production planning |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการวางแผนการผลิตในระดับปฏิบัติการ (Operational Plan) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตล้ออัลลอย จากการศึกษาพบว่ากระบวนการผลิตล้ออัลลอยจะประกอบไปด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ การหล่อขึ้นรูป การกลึงลวดลายและการพ่นสี โดยทั้ง 3 กระบวนการนั้นต้องทำเรียงต่อกันเป็นลำดับและต้องผ่านทุกกระบวนการ เนื่องจากผลผลิตจากกระบวนการก่อนหน้าจะถูกเลือกนำไปผลิตยังกระบวนการถัดไป ซึ่งการผลิตของผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จะเป็นการผลิตแบบล็อตซึ่งแต่ละล็อตจะมีรายละเอียดของการผลิตที่แตกต่างกันในเรื่องของขนาด ลวดลายและเฉดสี ทำให้เกิดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรขึ้น แต่หากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในลำดับต่อกันมีขนาดและลวดลายที่เหมือนกันจะสามารถลดการปรับตั้งเครื่องจักรที่กระบวนการหล่อและการกลึงลงได้ และหากมีขนาดเท่ากัน ลวดลายคล้ายกันและเฉดสีเหมือนกันจะสามารถลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรที่กระบวนการพ่นสีลงได้ ดังนั้นการใช้วิธีเรียงลำดับการผลิตและจัดงานลงบนเครื่องจักรที่แตกต่างกันย่อยส่งผลให้การปรับตั้งค่าเครื่องจักรนั้นแตกต่างกันด้วย จากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนมากยังไม่มีระบบการวางแผนการผลิตที่เหมาะสมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ส่งผลให้เกิดจำนวนครั้งของการปรับตั้งเครื่องจักรในการพ่นสีสูง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ออกแบบระบบการวางแผนการผลิตที่ช่วยในการลดการปรับตั้งค่าเครื่องจักรลงภายใต้ข้อจำกัดด้านกำลังการผลิต โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการวางแผนแบบถอยหลัง (Backward Scheduling) ซึ่งเริ่มต้นที่การพ่นสีด้วยวิธีการเรียงลำดับการผลิตตามเวลาเริ่มต้นช้าที่สุดที่จะไม่ทำให้งานสาย (Latest start time) จากนั้นจะทำการรวมกลุ่มงานเพื่อลดการปรับตั้งค่าเครื่องจักร (Job Grouping) โดยผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยคือระบบการวางแผนการผลิตที่ช่วยให้ผู้วางแผนสามารถเห็นถึงภาพรวมของการผลิตก่อนทำการผลิตจริงและแสดงให้เห็นถึงการปรับตั้งเครื่องจักรในการพ่นสีที่ลดลงโดยที่ทุกคำสั่งซื้อยังทันต่อกำหนดส่งมอบเมื่อทำการเปรียบเทียบกับวิธีการวางแผนการผลิตของโรงงานตัวอย่าง จากการทดลองพบว่าวิธีการวางแผนที่พัฒนาขึ้นสามารถที่จะลดการปรับตั้งเครื่องจักรได้ 57% โดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับวิธีการปัจจุบันของโรงงานตัวอย่าง |
Other Abstract: | The aim of this research is to design shop floor production planning support system for alloy wheel manufacturing. Generally, an alloy wheel manufacturing composes of 3 main processes: casting, machining, and painting. All finished products must be operated in these three processes with the same sequence. This product is usually produced in a small size lot which each lot is different in product specification. This difference normally cause machine setup time. However, in casting and machining processes, setup time can be avoided by consecutively producing the same size and pattern alloy wheels. In painting process, setup time can be avoided by consecutively producing the same color alloy wheels. Therefore, it can be seen that using different scheduling methods probably result in different amount of setup time. Nowadays, most of alloy wheel manufacturers rely on their planner's experiences which do not integrate all relevant production parameters into consideration. Consequently, a large amount of setup times is incurred, especially in a painting process. Therefore, in this research, a shop floor production planning that help reducing amount of setup time with respect to capacity and due date constraints is designed. This planning system is designed based on a backward scheduling concept starting with a painting process. At first, in painting process production jobs are sequenced with respect to their latest start time. Finally, jobs in painting process are re-sequenced to reduce setup time. As a result, the proposed production planning system makes a production planner know the overall scopes of production before starting the production and it shows the machine setup reduction in painting. The result of the experiment show that the proposed system can reduce amount of setup time by 57% compared to the current method. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50315 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.566 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.566 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670342021.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.