Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50407
Title: | การบริหารโรงเรียนดนตรี ตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ |
Other Titles: | Music school administration based on total quality management |
Authors: | ปรีชญา ธนาวัฒนเจริญ |
Advisors: | ชญาพิมพ์ อุสาโห |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chanyapim.U@Chula.ac.th,chayapim.u@chula.ac.th |
Subjects: | โรงเรียนดนตรี -- การบริหาร การบริหารคุณภาพโดยรวมทางการศึกษา Conservatories of music -- Administration Total quality management in education |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)สภาพการบริหารโรงเรียนดนตรีในปัจจุบัน 2)ปัญหาการบริหารโรงเรียนดนตรีในปัจจุบัน 3)แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนดนตรี ตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ (TQM) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี คือ โรงเรียนดนตรีภายใต้สังกัดของหน่วยงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ (กร.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา (สช.) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในพ.ศ. 2557 จำนวน 46 โรงเรียน และผู้ให้ข้อมูล คือ 1)ผู้บริหาร 2)ครูผู้สอน 3)เจ้าหน้าที่ 4)ผู้ปกครอง 5)นักเรียน รวมทั้งหมด 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพ ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารโรงเรียนดนตรี และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนดนตรี สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่(Frequency) ร้อยละ(Percentile) ค่าเฉลี่ย(Means) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารโรงเรียนดนตรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยการบริหารงานทั่วไปมีค่าเฉลี่ยสูงสุดและการบริหารงานบุคลากรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนปัญหาการบริหารโรงเรียนดนตรีโดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยการบริหารงานวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงสุดและการบริหารงานทั่วไปมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และเมื่อพิจารณาตามแนวคิดการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ สภาพการบริหารโรงเรียนดนตรีด้านการให้สมาชิกมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการให้ความสำคัญกับลูกค้า ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และด้านการสร้างเครือข่ายทางสังคมตามลำดับ และปัญหาการบริหารโรงเรียนดนตรีด้านการให้สมาชิกมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด รองลงมาคือด้านการให้ความสำคัญกับลูกค้า ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และด้านการสร้างเครือข่ายทางสังคมตามลำดับ แนวทางการพัฒนาการบริหารที่ควรเพิ่มเติมมีทั้งหมด 15 แนวทาง แบ่งเป็น ด้าน (1)การสร้างเครือข่ายทางสังคม 8 แนวทาง (2)การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 2 แนวทาง (3)การให้ความสำคัญกับลูกค้า 5 แนวทาง และ (4)การให้สมาชิกมีส่วนร่วม ไม่มีแนวทางที่ต้องเพิ่มเติม |
Other Abstract: | This research aims to 1) study of music school administration 2) study the issues currently cause from music school administration 3) study development approach of music school administration based on total quality management (TQM). Population is schools under the Non-Formal Education Promotion Unit, Office of The Private Education Commission (OPEC) in Bangkok as at 2014 totaling 46 samples. The information is received from 1) executives 2) teachers 3) administrative staffs 4) parents 5) students totaling 230 people. This research uses questionnaire and evaluation form asking issues and development approach of music school administration. Frequency, percentile, means and standard deviation are used to analyze statistical data. As the result, music school management is in high level. General administration has the highest average score. For the issues cause from music school is in low level. General administration has the lowest average score. When consider TQM in the result, the highest average score is members’ participation and the lowest average score is social network. For the issues of music school, members’ participation receives the lowest average score and the highest average score is social network. The music school administration should be improve are total 15 approaches including 8 approaches in social network, 2 approaches in continuous improvement and 5 approaches in customer focus. There is no approach need to improve in members’ participation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50407 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1243 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1243 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5683426327.pdf | 15.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.