Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50451
Title: การวิเคราะห์ระดับอันตรายจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย
Other Titles: SEISMIC HAZARD ANALYSIS OF THAILAND
Authors: วรันธร ก่อกิจสุนทรสาร
Advisors: สุพจน์ เตชวรสินสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Supot.T@chula.ac.th,tsupot@gmail.com,tsupot@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับอันตรายจากแผ่นดินไหวในประเทศไทยด้วยวิธีความน่าจะเป็น ในการวิจัยนี้ได้พิจารณาข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวภายในประเทศไทยและบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกสุมาตราอันดามัน โดยใช้แบบจำลองการลดทอนแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่เหมาะสมกับพื้นที่ประเทศไทยและประยุกต์ใช้ผังต้นไม้ในการวิเคราะห์ เพื่อหาโอกาสเกิดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวที่ส่งผลกระทบในแต่ละพื้นที่ และจัดทำแผนที่ระดับอันตรายจากแผ่นดินไหวในประเทศไทยสำหรับชั้นหินในรูปของค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดินและค่าความเร่งสเปกตรัมที่คาบเวลา 0.2, 1.0 และ 2.0 วินาที ที่มีโอกาสเกิดเกินค่าความเร่งที่กำหนด 10% และ 2% ในรอบ 50 ปี จากผลการศึกษาพบว่ากรณีในรอบ 50 ปี ประเทศไทยมีโอกาส 10% ที่จะเกิดความเร่งสูงสุดของพื้นดินมากกว่า 0.37g และมีโอกาส 2% ที่จะเกิดความเร่งสูงสุดของพื้นดินมากกว่า 0.52g บริเวณภาคเหนือของประเทศ สำหรับค่าความเร่งสเปกตรัมที่คาบเวลา 0.2 วินาที มีโอกาส 10% และ 2% ที่จะมีค่ามากกว่า 0.87g และ 1.21g ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this study is to analyze the seismic hazard in Thailand with the concept of probability. In the present study, the seismicity was collected and the seismic source zones in Thailand and adjacent area, including the Sumatra-Andaman subduction zone were considered. The appropriate strong ground motion attenuation models were used to estimate ground motion intensity by the application of a logic tree approach. The probabilistic seismic hazard map is presented in terms of peak ground acceleration and spectral acceleration at 0.2, 1.0, and 2.0 second periods for 10% and 2% probabilities of exceedance in 50 years. The expected peak ground accelerations are 0.37g at 10% and 0.52g at 2% in 50-year level. For the spectral accelerations at 0.2 second periods with 10% and 2% probabilities of exceedance in 50 years, the estimated values are about 0.87g and 1.21g, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50451
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770293021.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.