Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50509
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสริชย์ โชติพานิชen_US
dc.contributor.authorชูชีพ การสมดีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:08:50Z
dc.date.available2016-12-01T08:08:50Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50509
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractในปัจจุบันบันไดเลื่อนเป็นระบบขนส่งคนจำนวนมากในระหว่างชั้นอาคาร ซึ่งมีการติดตั้งในอาคารหลายลักษณะ เช่น อาคารศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน อาคารศูนย์ประชุม อาคารท่าอากาศยาน สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น และอัตราการติดตั้งจะเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของอาคารในธุรกิจต่างๆ ซึ่งเจ้าของสถานที่สามารถติดตั้งเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ดังนั้นความปลอดภัยของบันไดเลื่อนแต่ละที่จึงขึ้นอยู่กับ มาตรฐานในการติดตั้ง การดูแลและบำรุงรักษา ของเจ้าของสถานที่ หรือผู้ดูแลและบริหารอาคาร ซึ่งหากละเลยในการบำรุงรักษา โดยเฉพาะอุปกรณ์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย หากไม่ได้รับการเปลี่ยนตามรอบระยะเวลาอาจเป็นสาเหตุให้บันไดเลื่อนทำงานผิดพลาด เกิดอุบัติเหตุได้ จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาตามข้างต้นการดูแลและบำรุงรักษาบันไดเลื่อนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการดูแล และบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ตามช่วงอายุการใช้งานเพื่อลดผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุ และมีความปลอดภัยในการใช้งาน ผลการศึกษาบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์บันไดเลื่อนที่มีสัดส่วนยอดขายบันไดเลื่อนในประเทศไทยในลำดับต้นๆ จำนวน 5 ราย และเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในประเทศไทยแบ่งช่วงอายุการใช้งานของอุปกรณ์บันไดเลื่อนเป็น 5 กลุ่ม จำนวนอุปกรณ์ทั้งหมด 26 รายการ ได้ศึกษาอายุการใช้งานแล้ว พบว่าช่วงอายุการใช้งานอุปกรณ์บันไดเลื่อนมีอายุการใช้งานแตกต่างกัน อุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานสั้นที่สุดคือ 3-4 ปี ส่วนอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานนานที่สุดคือ 12-16 ปี การบำรุงรักษาบันไดเลื่อนพบว่าเป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และเป็นการบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance) มีการกำหนดแผนการบำรุงรักษาไว้ล่วงหน้าโดยมีรอบระยะเวลาในการบำรุงรักษาแบ่งเป็นเข้าบำรุงรักษาทุก ๆ เดือน และเพิ่มรายการบำรุงรักษาอุปกรณ์เพิ่มในทุก ๆ 3, 6, 12 เดือน การวางแผนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในการเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ตามรอบเวลาของช่วงอายุการใช้งานอุปกรณ์โดยวางแผนในระยะยาว 1-20 ปี ทำให้พบว่าในปีที่ 6, 18 และ 12 มีการใช้งบประมาณในการเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์มากที่สุดเรียงจากน้อยไปหามากตามลำดับ ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทำให้เราสามารถทราบถึงช่วงเวลาที่ต้องจัดเตรียมการวางแผนงบประมาณในการบำรุงรักษาในแต่ละปี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละปีen_US
dc.description.abstractalternativeNowadays escalators are widely used for carrying people between floors in many buildings such as malls, office buildings, convention centers, airports, mass transit systems etc. There is a growing numbers of escalator installation in many commercial buildings since owners can install freely. Consequently, levels of escalator safety are varied by each building installation and maintenance plan. Without standard maintenance procedure, malfunction of escalators can lead to many accidents. Based on statistic report from Thai News Agency, there are 7 escalator-related accidents during 2009-2015. This report enables Lift Association of Thailand to conduct escalator inspection, which finds that over 50 percent of escalators fail to meet safety standard. The root cause of this result is cost-saving reason. With this regard, it is essential to do regular maintenance on escalators throughout their lifetime in order to maintain safety as well as to prevent any accident from happen.This case study finds that there are top 5 well-known escalator companies with highest sales revenues. They categorizes escalator lifetime into 5 groups with 26 related pieces of equipment. Based on this case study, the shortest lifetime of escalators and related equipment is 3-4 year and 12-16 years respectively. It also finds that there is high rate of responsive and planned maintenance. The maintenance usually takes place in every month for escalators and every 3 months for related equipment. Budget planning for escalator maintenance and renew is based on product lifetime, up to 20 years. It finds that highest cost occurs in the, 12th, 18th and 6th year respectively. In summary, constant studying and analyzing data is required to effectively plan annual maintenance schedule and budgeting.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.454-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบันไดเลื่อน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
dc.subjectบันไดเลื่อน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม -- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
dc.subjectEscalators -- Maintenance and repair
dc.subjectEscalators -- Maintenance and repair -- Cost of operation
dc.titleลักษณะและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบันไดเลื่อนen_US
dc.title.alternativeType and cost of escalator maintenanceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSarich.C@Chula.ac.th,sarich.c@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.454-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773558025.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.