Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50513
Title: การรับรู้ความรู้สึกปลอดภัยและประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานของระบบไฟฟ้าแสงสว่างบนทางสัญจรทางเท้า
Other Titles: Safety perception and energy saving of pedestrian lighting
Authors: พนัชกร ประกอบปราณ
Advisors: วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorapat.I@Chula.ac.th,vorapat.i@chula.ac.th
Subjects: ทางเท้า -- แสงสว่าง
พื้นที่คนเดินเท้า -- แสงสว่าง
การให้แสงทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง
ความปลอดภัยในที่สาธารณะ
Sidewalks -- Lighting
Pedestrian areas -- Lighting
Lighting, Architectural and decorative
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ลักษณะของแสงสว่างบนทางสัญจรทางเท้ามีความสำคัญต่อความรู้สึกปลอดภัยและช่วยขยายขอบเขตการใช้งานเส้นทางสัญจรในเวลากลางคืน รูปแบบการติดตั้งดวงโคมที่มีการใช้งานในปัจจุบันเป็นรูปแบบการติดตั้งดวงโคมบนเสาสูงซึ่งสามารถให้แสงในวงกว้างได้ดี อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่อาจมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถติดตั้งดวงโคมบนเสาสูงได้ จึงต้องติดตั้งดวงโคมในระดับความสูงที่ลดลงและให้แสงสว่างแบบเฉพาะที่ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของตำแหน่งและระยะห่างในการติดตั้งดวงโคมที่ส่งผลต่อการรับรู้ความรู้สึกปลอดภัย โดยมีตำแหน่งการติดตั้งดวงโคม 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบ A (ติดตั้งที่ระดับ 0.20 เมตร) รูปแบบ B (ติดตั้งที่ระดับ 1.00 เมตร) และรูปแบบ C (ติดตั้งที่ระดับ 0.20 และ 1.00 เมตร) และมีระยะห่างในการติดตั้งดวงโคม 3 ระยะ ได้แก่ ทุกระยะ 1.00 เมตร, 2.00 เมตร และ 3.00 เมตร งานวิจัยชิ้นนี้เก็บข้อมูลจากสถานที่จริงในเวลากลางคืน โดยสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคคลทั่วไป สัญชาติไทย คละเพศและอายุ จำนวน 59 คน ผลการวิจัยพบว่า ตำแหน่งและระยะห่างในการติดตั้งดวงโคมส่งผลกระทบต่อความรู้สึกปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการติดตั้งดวงโคมรูปแบบ B1 (ติดตั้งดวงโคมที่ระดับ 1.00 เมตร ด้วยระยะห่าง 1.00 เมตร) และ C1 (ติดตั้งดวงโคมที่ระดับ 0.20 และ 1.00 เมตร ด้วยระยะห่าง 1.00 เมตร) ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้านความเพียงพอของแสงสว่าง ความรู้สึกปลอดภัย ความชัดเจนในการมองเห็นใบหน้าของผู้สัญจรที่เดินสวนทางมาและความไม่สบายทางสายตาจากแสงบาดตามีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของรูปแบบการติดตั้งดวงโคมบนเสาสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาประเด็นด้านการรับรู้ความรู้สึกปลอดภัยควบคู่กับอัตราการใช้พลังงานพบว่า การติดตั้งดวงโคมรูปแบบ B1 เป็นรูปแบบเดียวที่มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้านความรู้สึกปลอดภัยมากกว่ารูปแบบการติดตั้งบนเสาสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีค่าการใช้พลังงานตามมาตรฐาน ASHRAE90.1-2007
Other Abstract: Pedestrian lighting has an important role in perceived safety. Good lighting can extend duration of walkway usage at night. Nowadays, post top lighting is generally utilized due to its good light distribution. However, in some areas where limitations exist or there is no post to install any lamps, there are needs to install the luminaires at lower mounting height and distribute localized lighting. This research aimed to study the impact of mounting height and spacing of light fixtures that affect pedestrains' perceived safety. Three types of luminaires mounting height include A (0.20 m. above ground level), B (1.00 m. above ground level) and C (both 0.20 m. and 1.00 m. above ground level) position. In terms of luminaire spacing, this research proposed three lengths which are 1.00 m., 2.00 m., and 3.00 m. between each lamp. The experiment was conducted on-site after the sunset and 5-point scale questionnaires were sent out to 59 Thai participants. This research found that both mounting height and luminaire spacing have significant effect on participants' perceived safety. Lighting installation type B1 (1.00 m. mounting height with 1.00 m. spacing) and C1 (0.20 m. and 1.00 m. mounting height with 1.00 m. spacing) initiate significantly higher average scores than post top lighting's. Those average scores included light sufficiency, perceived safety, facial recognition and discomfort glare. Moreover, considering in perceived safety and energy saving comparison, B1 is the only installation type which has average safety score more than post top's and also has energy consumption less than ASHRAE standard 90.1-2007.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50513
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.546
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.546
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773568225.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.