Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50517
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันล่า กุลวิชิตen_US
dc.contributor.authorเกรียงไกร ถวิลไพรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:09:01Z-
dc.date.available2016-12-01T08:09:01Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50517-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ พยาธิสตรองจิรอยด์จัดเป็นพยาธิตัวกลม สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในสิ่งแวดล้อมตามพื้นดินหรือภายในร่างกายมนุษย์ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน มีความชุกของการติดเชื้อพยาธิสตรองจิรอยด์สูง โดยทั่วไปพยาธิตรองจิรอยด์ไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง ยกเว้นในผู้ป่วยที่มีการทำงานลดลงของระบบภูมิคุ้มกันเช่นได้รับยาสเตียรอยด์ขนาดสูง จะทำให้สามารถติดเชื้อแบบรุนแรงได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 59 การให้ยาฆ่าพยาธิเพื่อป้องกันการติดเชื้อน่าจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ โดยมีการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ใช้ยา thiabendazole เปรียบเทียบกับยาหลอกสามารถลดการติดเชื้อพยาธิสตรองจิรอยด์ได้ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยา ivermectin เป็นยาฆ่าพยาธิที่มีประสิทธิภาพดีกว่ายา thiabendazole และมีผลข้างเคียงที่น้อยกว่า การรับประทานยา ivermectin ในผู้ป่วยที่รับประทานยาสเตียรอยด์ขนาดสูง น่าจะทำให้อัตราการติดเชื้อพยาธิตรองจิรอยด์ลดลง ผู้ป่วยและวิธีวิจัย ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีได้รับประทานยาสเตียรอยด์ตั้งแต่ 1,000 มก. ขึ้นไป มีผลการตรวจอุจจาระไม่พบเชื้อสตรองจิรอยด์ ยินยอมเข้าร่วมโครงการที่เป็นผู้ป่วยใน รพ.จุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการจะถูกสุ่มให้รับประทานยา ivermectin หรือยาหลอก ครั้งละ 2 เม็ด เดือนละ 1 ครั้ง หลังจากเข้าร่วมการศึกษาอย่างน้อย 1 เดือน จะตรวจอุจจาระอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยถ้ามีการตรวจพบเชื้อพยาธิจะถือว่าล้มเหลวในการป้องกันการติดเชื้อ ผลการวิจัย จากผู้ป่วย 34 คนที่เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ มีผู้ป่วยที่มาติดตามการรักษาจำนวน 23 คนที่สามารถนำมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการรับประทานยา โดยไม่มีการตรวจพบเชื้อสตรองจิรอยด์จากผู้ป่วยทั้ง 23 คน ผลสรุปการวิจัย ไม่สามารถสรุปได้ว่าการรับประทานยาสามารถป้องกันการติดเชื้อสตรองจิรอยด์ได้ เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมการศึกษาไม่เพียงพอและระยะเวลาในการติดตามอาการผู้ป่วยสั้นเกินไปen_US
dc.description.abstractalternativeObjectives Thailand is an endemic area for Strongyloides stercoralis, a round worm that can cause severe infection in immunocompromised patients, especially patients who received high dose of corticosteroids, with 59% mortality rate. Antihelminthic prophylaxis may reduce the incidence of S. stercoralis infection in high risk patients. Thiabendazole used to prescribe for strongyloidiasis prevention but the result is not statistical significance. Ivermectin is antihelminthic drug that has 90% efficacy, more than thiabendazole and lesser toxicity. So ivermectin may reduce the incidence of strongyloidiasis in high risk patients. Patients and methods Adult patients aged over 18 years, currently prescribed high dose of corticosteroids (cumulative dose at least 1,000 mg of prednisolone or equivalence) and no S. stercoralis detected from stool were included in this study during December 1, 2015 to May 31, 2016. The patients were allocated randomly to receive ivermectin (6 mg) or placebo. At least 1 month after enrollment, patients were required to collect stool sample for S. stercoralis detection tests. The results of the tests were analyzed as primary outcome. Results From 34 patients that enroll in this study, there were 23 patients completing the follow up schedule. There was no S. stercoralis detected from stool samples of these patients. Conclusions We cannot conclude any benefit of ivermectin administration for strongyloidiasis prevention due to low prevalence of infection and a short follow up period.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.699-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพยาธิตัวกลม
dc.subjectโรคเกิดจากหนอนพยาธิ -- การรักษาด้วยยา
dc.subjectNematodes
dc.subjectStrongyloidiasis
dc.subjectHelminthiasis -- Chemotherapy
dc.titleการวิจัยศึกษาการรับประทานยาไอเวอร์เมคติน ในผู้ป่วยที่รับประทานยาสเตียรอยด์ขนาดสูง เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อสตรองจิรอยด์: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมen_US
dc.title.alternativeIvermectin prophylaxis for strongyloidiasis in patients significantly exposed to corticosteroid: a randomized-controlled trial.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWanla.K@Chula.ac.th,Wanla.K@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.699-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774005430.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.