Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50549
Title: ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ที่เข้ารับบริการในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Depression after Childbirth among Mothers with Obstetrics Complications at King ChulalongkornMemorial Hospital.
Authors: กัลพร ยังดี
Advisors: ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chutima.Ro@Chula.ac.th,chutima.room@gmail.com
Subjects: ความเจ็บป่วยทางจิตในการตั้งครรภ์
ครรภ์ -- ภาวะแทรกซ้อน
Mental illness in pregnancy
Pregnancy -- Complications
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุผลของการทำวิจัย : มีการศึกษามากมายที่พบว่าภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ของหญิงตั้งครรภ์มีผลกระทบต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอย่างไรก็ตามการศึกษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ในประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษา วัตถุประสงค์ :เพื่อศึกษาความชุก ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ที่เข้ารับบริการในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รูปแบบการวิจัย :การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ทำการศึกษา :โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตัวอย่างและวิธีการศึกษา :เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอด จำนวน 116 คน ในช่วง 1 สัปดาห์หลังคลอด และ 4-6 สัปดาห์หลังคลอด โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป 2) ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS) 4) แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม Personal Resource Questionnaire (PRQ-part II) 5) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส Dyadic Adjustment scale (DAS) 6) แบบสอบถามข้อมูลหลังคลอด โดยใช้ Univariate Analysis ได้แก่ T-Test , Chi-squareเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ผลการศึกษา :มารดาหลังคลอดในช่วง 1 สัปดาห์หลังคลอด มีภาวะซึมเศร้า 13.7% โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ได้แก่ เวลาเฉลี่ยที่ทารกเข้านอน , ค่า BMI ของมารดาก่อนตั้งครรภ์ , ค่าBMI ของมารดาในปัจจุบัน , สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่ไม่ดี และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมที่น้อย ส่วนมารดาหลังคลอดในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด มีภาวะซึมเศร้า 6.1% โดยมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ได้แก่ ระดับการศึกษา , รายได้ , การมีประจำเดือนล่าช้า , การมีระยะเวลาในการคลอดที่ยาวนาน , การตื่นเป็นเวลานานในช่วงกลางคืนของทารก , สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสที่ไม่ดี และการได้รับการสนับสนุนจากสังคมน้อย สรุป : ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการศึกษาครั้งนี้ใกล้เคียงกับการศึกษาอื่นๆในมารดาหลังคลอดทั่วไป การทราบปัจจัยที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนการดูแล และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสมต่อไป
Other Abstract: Background :There are evidences that Obstetrics Complications has major impacts on postpartum depression. However, postpartum depression and associated factors among nursing mothers has not been studied. Objective :We aimed to examine the prevalence of depression after childbirth among mothers with obstetrics complications. Design : A Cross-Sectional Descriptive study Setting :King Chulalongkorn Memorial Hospital Method :Edinburgh Postnatal Depression Scale (EPDS), Personal Resource Questionnaire (PRQ-part II), and Dyadic Adjustment scale (DAS) were completed by 116 subjectsduring their first (T1) and 4-6 weeks (T2) after delivery. Using the EPDS score ≥ 11. Results :13.7% were depressed at T1 and 6.1 % were depressed at T2. Average time of baby to sleep ,BMI before pregnancy , BMI current , marital dissatisfaction and low social support were associated with depression at T1. Education level, income , delayed menarche, longer duration of labor , longer duration of baby nighttime awakening, marital dissatisfaction and low social support were associated with depression at T2. Conclusion :Postpartum depression and associated factors are comparable with other studies. Knowing the associated factors will help plan and provide appropriate assistance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50549
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774251430.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.