Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50552
Title: คุณภาพชีวิตและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Quality of life and preparing for quality aging society of registered nurses in private hospital, Bangkok Metropolis
Authors: นลินี ทิพย์วงศ์
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Siriluck.S@Chula.ac.th,siriluckspp@gmail.com
Subjects: พยาบาล
การวางแผนผู้สูงอายุ
คุณภาพชีวิต
Nurses
Quality of life
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและการเตรียมความพร้อมเข้าสูวัยสูงอายุขอพยาบาลวิชาชีพ ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน165คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามคุณภาพชีวิตและแบบสอบถามการเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมSPSS ใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test,F-test(One-way ANOVA), Pearson product moment correlation coefficient และทำนายปัจจัยโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน(Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่ (ร้อยละ74.5) มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านจิตใจด้านการเงิน ด้านบทบาทในครอบครัว ด้านสุขภาพกาย ด้านการใช้เวลา และด้านที่อยู่อาศัย พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับการศึกษา และ ตำแหน่งงาน และพบปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.01 คือการสนับสนุนด้านอารมณ์สังคมจากผู้บังคับบัญชา(r=0.444),จากเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน(r=0.462)และจากครอบครัว(r=0.281) ด้านข้อมูลข่าวสารจากเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน(r=0.214) และด้านทรัพยากรจากผู้บังคับบัญชา(r=0.442),จากเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน(r=0.562) และจากครอบครัว(r=0.432) และพบว่าการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ0.01โดยการเตรียมตัวด้านสุขภาพกาย(r=0.512),ด้านจิตใจ(r=0.383),ด้านการเงิน(r=0.472),ด้านที่อยู่อาศัย(r=0.324),ด้านบทบาทในครอบครัว(r=0.353)และด้านการใช้เวลา(r=0.370) ปัจจัยที่มีผลต่อการทำนายคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมด้านทรัพยากรจากเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน จากครอบครัว จากผู้บังคับบัญชา การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์สังคมจากผู้บังคับบัญชา การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกาย ด้านการเงิน และด้านที่อยู่อาศัย
Other Abstract: The purpose of this cross–sectional descriptive research was to study the quality of life and preparing for quality aging society of Registered nurses in private hospital, Bangkok Metropolis. The sample consisted of 165 registered nurses aged 40 years or more. Data collection using questionnaires consisted of 4 parts such as demographic, social support, quality of life and preparing for quality aging questionnaire. Statistical method used in data analysis included percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test (one way ANOVA), Pearson’s correlation coefficient and multiple linear regression analysis. Major findings were as follows: Most of the registered nurses (74.5%) had the quality of life as moderate level.Preparing for quality aging was at moderate level in all aspects; mental health, financial, role in the family, physical health, leisure time spending and accommodation.Educational level and job position were significantly associated with the quality of life of registers nurses in private hospital (p<0.05). There were positively significant correlation between quality of life and Social support; emotional support from team leader (r=0.444), friend/co-worker and family(r=0.462), and family(r=0.281), social support about information aspect from friend/co-worker (r=0.214) and social support for resources from team leader(r=0.442) , friend / co-worker(r=0.562) and family(r=0.432) and it was also found the correlation with preparing for quality aging in physical health (r=0.512) mental health (r=0.383), financial (r=0.472), accommodation (r=0.324), role in family (r=0.353) and leisure time spending (r=0.370). Variables that significantly predicted quality of life of registered were social support for resources from friends/co-worker, family, team leader , emotional support from team leader, preparing for quality aging in physical health, financial, and accommodation (r2=0.593,p<0.01).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50552
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.721
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.721
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774255030.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.