Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50557
Title: ภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์
Other Titles: Work Stress and Burnout Among Lawyers Who Have Licenses to Practice Law at Thai Lawyers Council under The Royal Patronage
Authors: วลีรัตน์ เช็ค เทิดทูนภูภุช
Advisors: พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Peeraphon.L@Chula.ac.th,peeraphon_tu@yahoo.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ณ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ วิธีการศึกษา ศึกษาในทนายความผู้มีอนุญาตทนายความที่มีการติดต่อดำเนินการกับสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 จนครบ 400 ราย (เสร็จสิ้นการเก็บข้อมูลเดือนมกราคม พ.ศ. 2559) โดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองจำนวนทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามด้านการทำงาน 3) แบบสอบถามวัดภาวะเครียดจากการทำงาน และ 4) แบบสอบถามวัดภาวะหมดไฟ วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายภาวะเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟโดยการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก และวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องระหว่างความเครียดจากการทำงานและภาวะหมดไฟโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบอัตราความชุกของภาวะเครียดจากการทำงานในทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความ ร้อยละ 22.3 (89 ราย) และภาวะหมดไฟ ร้อยละ 7.0 (28 ราย) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก พบว่า ปัจจัยทำนายภาวะเครียดจากการทำงาน ได้แก่ รายได้เฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไปและประเภทใบอนุญาตทนายความใหม่-ประเภท2ปี (p < 0.01) ส่วนปัจจัยทำนายภาวะหมดไฟ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป ประสบการณ์การทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี (p < 0.01) ทำงานให้คำปรึกษา/แนะนำทางกฎหมายกลุ่มงานอาญาบ่อยที่สุด และจำนวนชั่วโมงการทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชม.ต่อวัน (p < 0.05) และผลการทดสอบไคสแควร์ พบว่า ภาวะเครียดจากการทำงานเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟ (p < 0.01) สรุปผลการศึกษา ทนายความผู้มีใบอนุญาตทนายความที่มีภาวะเครียดจากการทำงานร้อยละ 22.3 (89 ราย) เป็นผู้ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาตทนายความ-ใบอนุญาตทนายความประเภท 2 ปี และมีรายได้จากการทำงานเฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป และพบว่า มีภาวะหมดไฟ ร้อยละ 7.0 (28 ราย) เป็นผู้ที่มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 40,000 บาท และมีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี โดยอยู่ในกลุ่มที่ทำงานด้านให้คำปรึกษา/แนะนำทางกฎหมายด้านงานอาญาเพียงอย่างเดียว และทำงานในเวลาน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชม.ต่อวัน โดยภาวะเครียดจากการทำงานเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟด้วย
Other Abstract: Objectives: To identify the prevalence of work stress (occupational/job stress) and burnout, and the associated factors with work stress (occupational/job stress) and burnout among licensed lawyers at Thai Lawyers Council under The Royal Patronage. Method: Licensed lawyers who contacted at Thai Lawyers Council under The Royal Patronage were recruited from August 2015 to January 2016 until reached 400 lawyers. All subjects completed four questionnaires themselves including 1) Personal data form; 2) Work information questionnaire 3) Thai version of the Karasek’s Job Content Questionnaire with 45 items (Thai JCQ-45); and, 4) Thai Version of Maslach Burnout Inventory with 22 items (Thai MBI-22). The associated factors of work stress and burnout were analysed by chi-square test. Logistic regression was used to identify the predictor of work stress (occupational/job stress) and burnout licensed lawyers. And chi-square test was used to analyse the association between occupational stress and burnout. Result: The prevalence of work stress and burnout among licensed lawyers were 22.3% (89 subjects) and burnout 7.0% (28 subjects). Logistic regression showed that the predictors of work stress were average income above 40,000 baht and new and 2-year type of lawyer licenses (p < 0.01). For those with burnout were average income above 40,000 baht, work experience less than or equal 10 years (p < 0.01), regular practice on legal advice on criminal cases and working hours less than or equal 8 hours per day (p < 0.05). And chi-square test showed that occupational stress was associated to burnout (p < 0.01). Conclusion: 22.3% (89 persons) of licensed lawyers were considered work stress. Those with work stress were new and 2-year type of licenses, and average income above 40,000 baht per month. Burnout were 7.0% (28 persons) of licensed lawyers. Those with burnout were average income above 40,000 baht per month, work experiences less than or equal 10 years, practicing legal advice on criminal cases only, and working hours less than or equal 8 hours per day. Also, the occupational stress was associated to burnout occurrence.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50557
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774265230.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.