Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50646
Title: ความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยในบริเวณชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Housing inequality in the northern suburban areas of Bangkok
Authors: ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ
Advisors: อภิวัฒน์ รัตนวราหะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Apiwat.R@Chula.ac.th,rapiwat@gmail.com
Subjects: ที่อยู่อาศัย
เคหะ
ความเสมอภาค
Dwellings
Housing
Equality
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ ศึกษาภาพรวมของความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นในบริเวณชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานครว่าเกิดขึ้น และปรากฏอยู่ในรูปแบบลักษณะใด และศึกษาว่าความแตกต่างของนโยบายที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยอาจเป็นเหตุให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยในบริเวณชานเมืองด้านทิศเหนือ ของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยนั้น มีกลไกและกระบวนการเกิดขึ้นได้อย่างไร กระบวนการที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นการผสมผสานระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในส่วนการศึกษาเชิงปริมาณเป็นการศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย ในบริเวณชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวคิดความขาดแคลนโดยเปรียบเทียบร่วมกับการศึกษาโดยใช้แบบจำลองสถิติเป็นเครื่องมือหลักในการศึกษา ในอีกด้านหนึ่งการศึกษาเชิงคุณภาพในการศึกษานี้จะประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการสัมภาษณ์กลุ่ม ข้อค้นพบจากการศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยแม้จะมีความเป็นนามธรรมสูงแต่ก็สามารถวัดค่าได้อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ ความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยที่ตรวจพบนั้นมิได้เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางด้านสังคมเศรษฐกิจของครัวเรือน หากทว่าขึ้นอยู่กับความแตกต่างของระดับความสามารถขั้นพื้นฐานของครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัย ความสามารถในการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ และความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน นอกจากนี้ยังพบว่าความแตกต่างในการดำเนินนโยบายที่อยู่อาศัยเป็นสาเหตุสำคัญที่สามารถทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัย ทั้งยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่สามารถนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยได้อีกด้วย จากการศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยในบริเวณชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร พบว่า ในเชิงการวางแผนที่อยู่อาศัยนั้น การส่งมอบเพียงที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพและมีพื้นที่พอเพียงในระดับราคาที่ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงได้นั้น อาจกล่าวสรุปได้ว่าไม่เพียงพอ ทั้งนี้ เนื่องจากกระบวนการพัฒนาและส่งมอบที่อยู่อาศัย ตลอดจนกระบวนการอยู่อาศัยเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนซับซ้อนต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการเดียว การเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการส่งมอบที่อยู่อาศัยตั้งแต่จุดเริ่มต้น โดยการเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหาที่ดิน จะช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถเลือกทำเลที่ตั้งที่อยู่อาศัยของตนให้อยู่ในบริเวณที่ไม่ไกลแหล่งงาน สาธารณูปการและแหล่งบริการ ตลอดจนการเดินทางที่ไม่ลำบากหรือแพงจนเกินไป จะสามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยได้อย่างเป็นระบบ ทั้งยังพบว่า ภายใต้สภาวะความจำกัดของงบประมาณ ผู้มีรายได้น้อยมีแนวโน้มที่จะเลือกทำเลที่ตั้งที่อยู่อาศัย โดยยอมให้มีการชดเชยระหว่างคุณภาพของทำเลที่ตั้งและคุณภาพของที่อยู่อาศัย ดังนั้น การศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับทางเลือกในการตัดสินใจบริโภคที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย จึงเป็นประเด็นสำคัญที่อาจนำไปสู่การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยในอนาคตได้
Other Abstract: Housing reveals one’s economic status and quality of living. Housing inequality, therefore, can be considered as a clearer form of economic inequality. To tackle this issue, examining about clearer structure of housing inequality is necessary. This study aims to empirically examine housing inequality, using Sen’s opportunity and capability approach together with Morris et al.’s normative deficit approach to form the core theoretical concept of the study. Then, Jöreskog and Sörbom’s LISREL and regression techniques are employed to estimate the estimation model. The model is trained on a low-income household survey of 587 cases, whose housings are located in the northern corridor of Bangkok. The findings reveal that housing inequality can be systematically measured. According to the results, a clearer structure of the housing inequality and low-income households’ basic capability is pointed out. This enlightens the issue of considering basic capability of households as an important issue of housing policy implication. Finally, the empirical results indicate that direct improvements in housing practices can also systematically improve housing inequality.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50646
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.452
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.452
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5374401925.pdf10.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.