Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50685
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิตา รักษ์พลเมืองen_US
dc.contributor.advisorพรรณี บุญประกอบen_US
dc.contributor.authorมูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:01:50Z
dc.date.available2016-12-02T02:01:50Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50685
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เหมาะสมสำหรับเด็กมุสลิมในบริบทสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นทักษะในศตวรรษที่ 21 ของเด็กมุสลิม 3) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของเด็กมุสลิม และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของเด็กมุสลิมตามบริบทสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่ม การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เหมาะสมสำหรับเด็กมุสลิมในสามจังหวัดจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม เรียงตามลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) ทักษะอัลกุรอานและการใช้ชีวิตวิถีอิสลาม 2) ทักษะความร่วมมือและการสื่อสาร 3) ทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ทักษะการจัดการตนเอง 5) ทักษะวัฒนธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม และ 6) ทักษะการคิดและการเรียนรู้ โดยมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นรายด้าน (PNI) เท่ากับ 0.459, 0.449, 0.441, 0.436, 0.405 และ 0.403 ตามลำดับ สำหรับองค์ประกอบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของเด็กมุสลิมมี 5 ด้าน คือ 1) การเลี้ยงดูวิถีอิสลาม 2) การจัดการเรียนรู้ในบ้านแบบบูรณาการอิสลาม 3) การร่วมมือกับโรงเรียน 4) การร่วมมือกับชุมชน 5) การพัฒนาตนเองด้านการศึกษาของผู้ปกครองและการศึกษาสำหรับผู้ปกครอง ปัจจัยเงื่อนไขของการมีส่วนร่วมตามการรับรู้ของผู้ปกครองมุสลิมมี 10 ด้าน คือ 1) ความรู้ด้านการมีส่วนร่วมและการเลี้ยงดู 2) เวลา 3) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว 4) การเป็นแบบอย่างที่ดี 5) การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 6) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 7) ความมุ่งมั่น 8) การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน 9) ความสัมพันธ์กับโรงเรียน 10) ความสัมพันธ์กับชุมชน สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของเด็กมุสลิม ประกอบด้วย 1) แนวทางสำหรับผู้ปกครองกับ 2) แนวทางสำหรับโรงเรียนและชุมชนในการสนับสนุนผู้ปกครองen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to analyze 21st century skills for Muslim children within the social context of three Southern provinces, 2) to analyze the needed 21st century skills for Muslim children, 3) to analyze parental involvement in providing education to develop Muslim children's 21st century skills, and 4) to propose educational guidelines for Muslim parental involvement in developing 21st century skills for their children in the three Southern provinces’ context. Mixed methods research design was employed by using documentary research, focus group discussion, survey research, participatory action research (PAR), and interviews. Research findings showed six Muslim children's 21st century skills; namely, 1) Quranic and Islamic way of life skills, 2) communication and collaboration skills, 3) information and communication technology (ICT) skills, 4) self-management skills, 5) cultural and social responsibility skills and 6) thinking and learning skills. Those categories of skills were ranked by the Priority Needs Index (PNI) as 0.459, 0.449, 0.441, 0.436, 0.405, and 0.403, respectively. It was also found that the five necessary components for parental involvement in developing Muslim children's 21st century skills included 1) Islamic parenting, 2) Islamic integrated home-based learning, 3) collaboration with the school, 4) community involvement, and 5) self-improvement and parental education. Ten conditional factors needed to engage Muslim parents in educating their children were 1) knowledge about parental involvement and parenting, 2) time, 3) family relationship, 4) role model, 5) continuity, 6) ICT skills, 7) commitment, 8) home environment, 9) parent-school relationship, and 10) parent-community relationship. Two guidelines for Muslim parental involvement in developing 21st century skills for their children included 1) guidelines for parents and 2) guidelines for schools and communities in supporting parental involvement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1253-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษา -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา -- ไทย (ภาคใต้)
dc.subjectเด็กมุสลิม -- การศึกษา -- ไทย (ภาคใต้)
dc.subjectEducation -- Parent participation -- Thailand, Southern
dc.subjectMuslim children -- Education -- Thailand, Southern
dc.titleการนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของเด็กมุสลิมตามบริบทสังคมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้en_US
dc.title.alternativeProposed guidelines of parental involvement in education to develop the Muslim children's twenty-first century skills in accordance with social context in three southern border provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanita.R@Chula.ac.th,drchanita@gmail.comen_US
dc.email.advisorpannee@g.swu.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1253-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484235827.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.