Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50772
Title: | การพัฒนาแบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | The development of environmental literacy scale for lower secondary school students |
Authors: | สิขเรศ อำไพ |
Advisors: | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangkamol.T@Chula.ac.th,duangkamol.t@chula.ac.th |
Subjects: | สิ่งแวดล้อมศึกษา เด็กกับสิ่งแวดล้อม การวัดผลทางการศึกษา Environmental education Children and the environment Educational tests and measurements |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดในด้านความตรงและความเที่ยง 3) สร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายของคะแนนการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งศึกษาในโรงเรียนที่สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,993 คน ได้ตัวอย่างจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองและเปรียบเทียบคะแนนระหว่างกลุ่มที่ทราบผลด้วยการทดสอบค่าเฉลี่ยเลขคณิตของตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบวัดด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และสูตรของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน KR-20 วิเคราะห์หาเกณฑ์ปกติของคะแนนการรู้สิ่งแวดล้อมจากคะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ โปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์คือโปรแกรม SPSS for windows เวอร์ชัน 21.0 และโปรแกรมลิสเรล เวอร์ชัน 8.53 ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม ความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อม และความสามารถทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยแบบวัดความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมและความสามารถทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก ส่วนแบบวัดความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ 2) คุณภาพของแบบวัดในด้านความตรงเชิงโครงสร้างพบว่าโครงสร้างของแบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 67.59 ค่าความน่าจะเป็น 0.086 ที่ค่าองศาอิสระ 53 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.99 ค่า RMR เท่ากับ 0.189 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.012) รวมถึงแบบวัดสามารถมีคุณภาพในการจำแนกนักเรียนที่มีการรู้สิ่งแวดล้อมตรงตามสภาพจริงของนักเรียน ดังเห็นได้จากนักเรียนกลุ่มที่เป็นสมาชิกชมรมสวนพฤกษศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ไม่ใช่สมาชิกชมรม และด้านความเที่ยงอยู่ในระดับสูงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ของแบบวัดความรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อม ความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมและความสามารถทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่ากับ 0.727, 0.747 และ 0.700 ตามลำดับ 3) การสร้างเกณฑ์ปกติในการแปลความหมายของคะแนนโดยการแปลงเป็นเปอร์เซ็นต์ไทล์ พบว่า นักเรียนที่อยู่ในตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 80 – 99.99 หมายความว่าเป็นผู้ที่มีการรู้สิ่งแวดล้อมสูง ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 60 – 79.99 หมายความว่าเป็นผู้ที่มีการรู้สิ่งแวดล้อมค่อนข้างสูง ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 40 – 59.99 หมายความว่าเป็นผู้ที่มีการรู้สิ่งแวดล้อมปานกลาง ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 20 – 39.99 หมายความว่าเป็นผู้ที่มีการรู้สิ่งแวดล้อมค่อนข้างต่ำ และตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 0 – 19.99 หมายความว่าเป็นผู้ที่มีการรู้สิ่งแวดล้อมต่ำ |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop environmental literacy scale for lower secondary school students, 2) to test the validity of environmental literacy model and the reliability of environmental literacy scale, 3) to provide criteria for standard norm. A sample of 1,993 students was drawn by stratied random sampling from lower secondary school students, Office of the basic education commission. The construct validity was detected through second order confirmatory factor analysis and the comparison between scores of known group was analyzed by using independent samples T-test. The reliability of this instrument was analyzed by using Cronbach’s alpha coefficient, and Kuder-Richardson KR-20 method. Norm of the instrument was percentile. Data were analyzed by using SPSS for windows version 21.0 and LISREL version 8.53. The major findings were: 1) the environmental literacy scale consisted of 3 dimensions: environmental knowledge, dispositions toward the environment and environmental competencies. Data were collected by environmental knowledge and environmental competencies test, 5 multiple-choice questions, and dispositions toward the environment questionnaire, 5 rating scale. 2) the environmental literacy model was valid and fit the empirical data (Chi-square= 67.59, p= 0.086, df= 53, GFI= 0.99, AGFI= 0.99, RMR= 0.189, RMSEA= 0.012). The environmental literacy scale was able to categorize each student's environmental literacy accurately based on their actual status, as the average score of botany club member students were higher than students who were not in the botany club. The high reliability of the environmental knowledge, dispositions toward the environment and environmental competencies scale were 0.727, 0.747 and 0.700 respectively. 3) Establishment of the criteria in order to show student’s literacy by converting into percentile found that the students who had percentile in the range of 80 – 99.99 are high environmental literacy, 60 – 79.99 are Upper-middle environmental literacy, 40– 59.99 are middle environment literacy, 20 – 39.99 are lower-meddle environmental literacy and 0 – 19.99 are low environmental literacy. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50772 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1258 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1258 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5583829527.pdf | 5.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.