Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50773
Title: การส่งเสริมปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการร่วมมือรวมพลังของครูมัธยมศึกษา: พหุกรณีศึกษา
Other Titles: ENHANCEMENT FACTORS AND PROCESSES FACILITATING COLLABORATIONS OF SECONDARY TEACHERS: A MULTIPLE-CASE STUDY
Authors: เพียรกิจ นิมิตรดี
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@Chula.ac.th,duangkamol.t@chula.ac.th
Auyporn.Ru@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยพหุกรณีศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์สภาพการร่วมมือรวมพลังของครู 2) วิเคราะห์ปัจจัยและกระบวนการที่ส่งผลต่อการร่วมมือรวมพลังของครู 3) สังเคราะห์วิธีการส่งเสริมปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการร่วมมือรวมพลัง ของครูวางแผนการวิจัยเป็น 2 ระยะ เริ่มด้วยการวิจัยเชิงปริมาณตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพตัวอย่างวิจัยในระยะ ที่ 1 คือครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 จำนวน 417 คน จาก 13 โรงเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มสองขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับใช้วัดตัวแปรการร่วมมือรวมพลัง และตัวแปรปัจจัยที่เอื้อต่อการร่วมมือรวมพลังและแบบเลือกตอบ 2 ตัวเลือกใช้วัดตัวแปรกระบวนการที่เอื้อต่อการร่วมมือรวมพลัง เครื่องมือวิจัยมีคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา ความเที่ยงและความตรงเชิงโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยโปรแกรม SPSS ตัวอย่างวิจัยในระยะที่ 2 คือกรณีศึกษาจากกลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 12 กลุ่ม จากกลุ่มงานพิเศษจำนวน 12 กลุ่ม ที่มาจากโรงเรียนขนาดต่างกันจำนวน 5 โรงเรียน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงโดยคัดเลือกจากตัวอย่างวิจัยในระยะที่ 1 ที่มีระดับการร่วมมือรวมพลังแตกต่างกัน 4 รูปแบบตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการเปรียบเทียบข้อมูลจากพหุกรณี ศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. โดยภาพรวมระดับการร่วมมือรวมพลังของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ (M= 3.88, SD= 0.49) สูงกว่าระดับการร่วมมือรวมพลังในกลุ่มงานพิเศษ (M= 3.78, SD= 0.70) ทุกด้าน 2. ปัจจัยที่เอื้อต่อการร่วมมือรวมพลังประกอบด้วย บรรยากาศแบบร่วมมือรวมพลัง ลักษณะนิสัยแบบร่วมมือรวมพลัง ทรัพยากรในการทำงานร่วมกัน คุณลักษณะของสมาชิกในกลุ่ม การบริหารงานของหัวหน้ากลุ่มและผู้บริหารโรงเรียน และวัฒนธรรมองค์กร กระบวนการที่เอื้อต่อการร่วมมือรวมพลังประกอบด้วย การรวบรวมก่อตั้ง การระดมกำหนดกฎเกณฑ์ การลงมือปฏิบัติ และการปรับเปลี่ยน โดยพบว่า 2.1 บรรยากาศแบบร่วมมือรวมพลัง (β = 0.35, p< 0.05) และลักษณะนิสัยแบบร่วมมือรวมพลัง (β = 0.24, p< 0.05) มีอิทธิพลต่อการร่วมมือรวมพลังของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2 บรรยากาศแบบร่วมมือรวมพลัง (β = 0.52, p< 0.05) ลักษณะนิสัยแบบร่วมมือรวมพลัง (β = 0.12, p< 0.05) และทรัพยากรในการทำงานร่วมกัน (β = 0.20, p< 0.05) มีอิทธิพลต่อการร่วมมือรวมพลังของครูในกลุ่มงานพิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการส่งเสริมปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการร่วมมือรวมพลังของครูทำ ได้ดังนี้ 1) คัดสรรหัวหน้ากลุ่มที่มีความสามารถในการบริหารงานกลุ่มเป็นที่ยอมรับของ สมาชิก 2) สร้างบรรยากาศการทำงานแบบร่วมมือรวมพลังให้เกิดขึ้นในกลุ่มงาน 3) คัดสรร มอบหมายหรือแต่งตั้งให้มีผู้อำนวยความสะดวกในการทำงานกลุ่ม และ 4) สร้างความตระหนักในการทำงานกลุ่มตามขั้นตอน ACAT (assembly, criterion creating, action, transforming)
Other Abstract: This multiple-case study research aimed to: 1) analyze collaboration conditions of teachers; 2) analyze factors and processes affecting collaboration of teachers; and 3) synthetize methods of promoting factors and processes facilitating collaboration of teachers. The research was divided into two phases: quantitative research, followed by qualitative research. The sample group in the first phase was 417 teachers from 13 schools affiliated with the Secondary Educational Service Area Office 36, which were randomly selected in two steps. The research tool was questionnaires with a five-score scale measuring parameters of collaboration and parameters factors facilitating collaboration and questionnaires with two choices measuring processes facilitating collaboration. The instruments had content validity, reliability, and construct validity. Data were analyzed using descriptive statistics, different means compare and multiple regression analysis by SPSS. The sample group in the second phase was 12 groups of learning area and 12 groups of extra work area, which were purposively selected from the list of participants in the first phase and which had four levels of collaboration according to the criteria created by the author. The findings were as follows: 1. Overall, teachers in the learning area group (M= 3.88, SD= 0.49) had a higher level of collaboration than teachers in the extra work group (M= 3.78, SD= 0.70) in all aspects. 2. Factors facilitating collaboration include collaborative climate, collaborative habit, collaborative resources, characteristics of group members, administration of group leaders and the administrators, and organizational culture. Processes facilitating collaboration include assemble and form, storm and order, perform, and transform. 2.1 Collaborative climate (β = 0.35, p< 0.05) and collaborative habit (β = 0.24, p< 0.05) were the factors statistic significantly affecting the teacher collaboration in Learning area group. 2.2 Collaborative climate (β = 0.52, p< 0.05) collaborative habit (β = 0.12, p< 0.05) and collaborative resources (β = 0.20, p< 0.05) were the factors statistic significantly affecting the teacher collaboration in Extra Work area group. 3. Methods of promoting factors and processes of facilitating collaboration were: 1) selecting group leaders with management and leadership skills; 2) creating a collaborative work climate; 3) selecting, providing facilitators for each work group and 4) creating awareness in an ACAT process in working group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50773
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584219927.pdf6.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.