Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50784
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์en_US
dc.contributor.authorเมธี เสรีชวโรจน์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:03:56Z-
dc.date.available2016-12-02T02:03:56Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50784-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพของระดับการใช้ทรัพยากรในแต่ละโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและวิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดความมีประสิทธิภาพแต่ละโรงเรียน มีกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร เขต 2 ด้วยวิธีการวัดประสิทธิภาพในเชิงเปรียบเทียบระหว่างแต่ละโรงเรียน ที่เรียกว่า แบบจำลอง DEA ในมุมมองปัจจัยการผลิตเพื่อหาระดับในใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดโดยยังคงได้รับผลการเรียนคงเดิม จากนั้นวัดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องเทียบกับความมีประสิทธิภาพของโรงเรียนและเทียบกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้วยวิธีการประมาณค่า วิธีวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนในกลุ่มนี้มีเพียง 11 โรงเรียนหรือคิดเป็นร้อยละ 24.44 ของโรงเรียนทั้งหมดที่มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา โดยส่วนใหญ่ยังใช้ทรัพยากรในระดับที่ไม่เหมาะสม คิดเป็นจำนวนร้อยละ 12.72 โดยเฉลี่ยที่แต่ละโรงเรียนสามารถลดการใช้ทรัพยากรลงได้โดยยังได้รับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเท่าเดิม ปัจจัยที่ส่งเสริมให้โรงเรียนมีประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญ มีดังนี้ ฐานะของนักเรียนที่ดี สภาพแวดล้อมของชุมชนของนักเรียนที่ไม่แออัดจนเกินไป ขนาดของโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ และจำนวนนักเรียนหญิงที่มากกว่านักเรียนชาย ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีอย่างมีนัยสำคัญ มีดังนี้ จำนวนครูที่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน คุณภาพของครู ขนาดของโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ นักเรียนเพศหญิงโดยรวมทำได้ดีกว่านักเรียนเพศชาย พบในทุกรายวิชายกเว้นวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ไม่พบความสัมพันธ์ โดยสรุปการศึกษานี้สนับสนุนให้มีนโยบายในการศึกษาถึงระดับการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาของแต่ละโรงเรียนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยส่วนต่างของทรัพยากรที่ไม่เพิ่มมูลค่า ควรจัดสรรไปอยู่ในส่วนที่ขาดแคลน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยรวมได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to measure the efficiency of resource utilization by secondary schools in Bangkok for reduce unnecessary resource and share it to insufficient school therefrom we analyze factors that can affect the level of school’s resource The study uses DEA input-oriented model to examine the level of resource efficiency we uses regression analysis to find relation between any resource and efficiency and to find relation between any resource and learning achievement. According to the research, it shows we have only 11 efficient schools or 24.44% of the total is efficient. For the rest can reduce the level of resource about 12.72% of total resource and still have same level of learning achievement Factors that give benefit to efficiency is good financial statement of student ,good environment in student’s home , the large school and more ratio of female student than male student. Factors that give benefit to learning achievement is a lot of teacher ,quality of teacher , large school and more ratio of female student can give more learning achievement in any subject but not found in mathematics and science Finally, we propose policies on education’s resource allocation to give maximum learning achievement by sharing unnecessary to insufficient schoolen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการวัดประสิทธิภาพและปัจจัยกำหนดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาen_US
dc.title.alternativeEDUCATION EFFICIENCY MEASUREMENT AND OUTPUT DETERMINANTS AT SECONDARY EDUCATION LEVELSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChairat.A@Chula.ac.th,chairat.a@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585167029.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.