Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50793
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์en_US
dc.contributor.authorชุติมา ศรีทองแท้en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:03:59Z-
dc.date.available2016-12-02T02:03:59Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50793-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงหลักการให้ความคุ้มครองผู้ซื้อสินค้า จากการซื้อขายสินค้าที่ผู้ขายมีการส่งมอบตัวทรัพย์ที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อโดยใช้บริการไปรษณีย์ ตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 463 ผู้ขายซึ่งต้องส่งทรัพย์สินที่ซื้อขายจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง เมื่อได้ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ไปรษณีย์ถือว่าการชำระหนี้ของผู้ขายสมบูรณ์แล้ว การส่งมอบให้แก่ไปรษณีย์ของผู้ขายเท่ากับเป็นการส่งมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อได้รับทรัพย์ที่สั่งซื้อและทรัพย์สินนั้นเสียหาย หรือบุบสลาย หรือสูญหายระหว่างทางผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิด ซึ่งในการซื้อขายสินค้า ผู้ซื้อควรจะต้องได้รับทรัพย์สินที่ซื้อในสภาพสมบูรณ์มิฉะนั้นผู้ขายต้องรับผิด จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 463 ของไทยรับมาจากประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน มาตรา 447 แต่รับมาเพียงบางส่วน ทำให้ถือว่าเมื่อผู้ขายส่งมอบให้แก่ไปรษณีย์เท่ากับส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสำเร็จ ซึ่งแท้จริงแล้วการใช้ในกฏหมายแพ่งเยอรมันนั้น จะถือว่าส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสำเร็จ ในกรณีที่ผู้ขายนั้นขายสินค้าที่ผู้ซื้อนั้นต้องรับสินค้าที่ซื้อไปเอง หรือผู้ซื้อนั้นต้องขนสินค้าที่ซื้อไปเองแต่ผู้ซื้อต้องการให้ผู้ขายส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ จึงตกลงกันให้ผู้ขายใช้ผู้ขนส่งในการส่งสินค้ามาให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น อย่างไรก็ตามในกฎหมายไทยเมื่อสินค้าที่ซื้อเสียหายในขณะทำการขนส่งทางไปรษณีย์ ผู้ขายนั้นถือว่าชำระหนี้ในการส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อแล้วเมื่อส่งมอบสินค้าที่ขายให้แก่ผู้ขนส่ง ผู้ขายจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายหรือบุบสลายที่เกิดขึ้นระหว่างขนส่ง ผู้ซื้อจึงต้องรับในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อ โดยตามสัญญาขนส่งผู้ซื้อเป็นบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ และสิทธิของผู้ซื้อนั้นแตกต่างไปตามประเภทของผู้ให้บริการไปรษณีย์ที่ผู้ขายได้เลือกใช้เพื่อส่งมอบสินค้า คือ ไปรษณีย์เอกชนที่เป็นผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในสัญญาขนส่งที่ผู้ขายทำไว้กับไปรษณีย์ตกไปแก่ผู้ซื้อเมื่อสินค้ามาถึงมือผู้ซื้อและมีความบุบสลาย แต่หากเป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดที่มีพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2557 กำหนดไว้เป็นผู้ส่ง ผู้ซื้อจะได้รับค่าเสียหายตามบริการส่งไปรษณีย์ที่ผู้ขายเลือกไว้ และผู้ซื้อไม่มีสิทธิเรียกให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดให้จ่ายค่าเสียหายตามสัญญาขนส่งไปรษณียภัณฑ์ได้ หากไม่ได้มีการทักท้วงก่อนหรือขณะทำการนำจ่ายไปรษณียภัณฑ์ ทำให้สิทธิของผู้ซื้อจึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเพียงพอ ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอว่าควรแก้ไขการตีความการใช้ มาตรา 463 ของไทยก่อนในเบื้องต้น และควรมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 463 ของไทย ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหานี้ในภายหลัง โดยแก้ไขตามความเป็นมาทางประวัติศาสตร์จากกฎหมายแพ่งเยอรมัน มาตรา 447 เพื่อให้การส่งมอบสินค้าที่ผู้ขายต้องส่งให้แก่ผู้ซื้อเองแต่ผู้ขายใช้ไปรษณีย์ขนส่งแทน ถือว่ามือของผู้ขนส่งคือมือของผู้ขาย เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้ไปรษณีย์ทำการขนส่งไม่มีผลเป็นการส่งมอบทรัพย์ที่ขายแก่ผู้ซื้อสำเร็จ และควรมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ความรับผิดในไปรษณียนิเทศ ข้อ 192 ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยดูจากแนวทางของไปรษณีย์ในประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ผู้ซื้อมีสิทธิในการเรียกให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด รับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างขนส่งได้en_US
dc.description.abstractalternativeThis Thesis aims to study the protective principle for goods purchasers from purchasing the goods which are delivered to the purchasers by post under Section 463 of the Civil and Commercial Code, whereby the seller, who has to deliver the properties so sold from one place to another place to the purchasers by post, upon delivery of the properties so sold by post, shall be deemed to have already performed the obligation. Delivery of the goods to the purchasers via post is regarded as delivery to the creditors who are the purchasers; as a result, when the purchasers have received the properties so ordered and such properties are damaged or lost in transit, the seller needs not to be liable therefor. Upon purchase and sale of goods, the purchasers ought to receive the properties so ordered in a complete condition; or else, the seller shall be liable therefor. These are the origin of the study and research in this Thesis. According to the Study, Section 436 of the Civil and Commercial Code of Thailand partially adopts Section 447 of the Civil Code of Germany; in consequence, it is deemed that when the seller has delivered the goods by post, it is equal to have completed delivery to the purchasers. In the case where the Seller sells the goods in the manner that the purchasers have to receive the goods so purchased by themselves or that the purchasers have to carry the goods so purchased by themselves but the purchasers need the seller to deliver the goods to the purchasers, both parties shall mutually agree that the seller uses the carrier to deliver the goods to the purchasers merely. Nonetheless, pursuant to Thai laws, when the goods so purchased are damaged during delivery by post, it shall be deemed by the seller that the seller has already performed the obligation for the purchasers. Hence, upon delivery of the goods so sold to carrier, the seller shall not be liable for the damage in transit. Thus, the purchasers shall be liable therefor as the owners of the properties so purchased. In pursuance of the transportation contract, the purchasers are the third parties obtaining benefits, and the rights of the purchasers are different in line with the category of post providers whose services are used by the seller to deliver the goods, namely, private post who is the transporter in accordance with the Civil and Commercial Code. The rights in the transportation contract as executed by the seller with the private post shall be vested in the purchasers when the goods arrive the place of the purchasers and are damaged. Nevertheless, in the case of Thailandpost Co., Ltd., as provided by the Postal Act B.E. 2477 (1934) and the Postal Directive B.E. 2557 (2014) to be the sender, the purchasers shall be indemnified from the postal services as opted by the seller and the purchasers are not entitled to claim Thailandpost Co., Ltd. to pay the damages under the parcel post transportation contract. In the event of no objection prior to or during sending parcel posts, the rights of the purchasers have not yet been protected in a sufficient manner. Therefore, this Thesis proposes that the construction of application of Section 463 of Civil and Commercial Code of Thailand ought to be initially amended and Section 463 of Civil and Commercial Code of Thailand ought to be revised, which is the best guidelines in solving this problem later on, by revising the historical backgrounds from Section 447 of Civil Code of Germany to deem that the delivery of goods, which must be sent by the seller to the purchasers but is sent via post, arriving the place of the carrier is to arrive the place of the seller. The delivery of the properties to the post for transportation shall not be considered as complete delivery of the properties as sold to the purchasers. Furthermore, the criteria on liability for postal directive (Article 192) of Thailandpost Co., Ltd. ought to be revised, based upon the guidelines of the posts in Australia and Japan to enable the purchasers to have their right to claim Thailandpost Co., Ltd. for liability for the damages as incurred during transportation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleปัญหาความรับผิดทางแพ่งของไปรษณีย์เมื่อรับส่งสินค้าที่เกิดจากการซื้อขายen_US
dc.title.alternativeCIVIL LIABILITY PROBLEMS IN POST SERVICE FROM CONTRACTS OF SALEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSanunkorn.S@Chula.ac.th,jumpee_sot@yahoo.comen_US
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585973534.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.