Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50796
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริกัญญา โฆวิไลกูลen_US
dc.contributor.authorนฤพนธ์ ทั่งสุวรรณen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:04:02Z
dc.date.available2016-12-02T02:04:02Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50796
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎเกณฑ์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในการเปิดเสรีการประกอบธุรกิจสายการบินต่างชาติที่เข้ามามาประกอบกิจการในประเทศไทยอันมีผลกระทบต่อกฎหมายของไทยในด้านการเข้าสู่ตลาด กรรมสิทธิ์และการควบคุม การแข่งขันทางการค้า และการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันปัญหาทางกฎหมายของไทย วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยทางเอกสารโดยจะใช้วิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ด้วยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารทั้งของไทยและต่างประเทศ หลังจากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของไทยในการประกอบธุรกิจสายการบินต่างชาติ ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายของไทยที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ (1) กรรมสิทธิ์และการควบคุม ซึ่งไม่มีกฎหมายควบคุมการถือครองหุ้นและผู้ควบคุมกิจการของสายการบินต่างประเทศ (2) การแข่งขันทางการค้า ที่ไม่มีกฎเกณฑ์กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณค่าโดยสารและค่าระวางในการขนส่งระหว่างประเทศ เกณฑ์การกำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดกว้างเกินไป สภาพบังคับของกฎหมายแข่งขันทางการค้าที่เป็นคดีอาญาอันไม่เหมาะสม และมีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายกับรัฐวิสาหกิจ และ (3) การคุ้มครองผู้บริโภค ที่ไม่มีการคุ้มครองผู้โดยสารสายการบินระหว่างประเทศกรณีการลดระดับการให้บริการที่ต่ำกว่า การปฏิเสธการขนส่ง การยกเลิกเที่ยวบิน และเที่ยวบินล่าช้า แต่ไม่มีผลกระทบต่อกฎหมายของไทยในการเข้าสู่ตลาดของสายการบินต่างชาติตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และการบินภายในประเทศตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ข้อเสนอแนะสำหรับวิทยานิพนธ์นี้ คือ การแก้ไขพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 เกี่ยวกับการควบคุมสายการบินต่างชาติจากการถือครองหุ้นและผู้ควบคุมกิจการและการออกกฎเกณฑ์กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณค่าโดยสารและค่าระวางการขนส่งระหว่างประเทศ รวมทั้งการแก้ไขพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ให้บังคับใช้กฎหมายกับรัฐวิสาหกิจที่แข่งขันกับภาคเอกชน และการแก้ไขสภาพบังคับของกฎหมายแข่งขันทางการค้าให้เป็นคดีแพ่ง ตลอดจนให้ธุรกิจสายการบินเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study the regulations on Asean Economic Community (AEC) for liberalization of foreign airlines which access to Thailand that affect on Thai laws and regulations relating to market access, ownership and control, competition law and consumer protection. This thesis is a documentary research in a manner of descriptive analysis of Thai and foreign documents. Then, the comparative analysis is used to compare these documents with Thai laws about foreign airline business based on AEC Agreement. The thesis finds that after the liberalization of foreign airline, Thai laws have been affected on three main issues. The first issue is ownership and control which lacks of law on shareholding and controller of foreign airlines business. The second one is competition law which lacks of regulations on procedures for calculating international air fares and freights. The criteria of business operators with market domination is excessive. Competition law is inappropriate on criminal law enforcement and is not applied to the state enterprises. The last one is consumer protection which lacks of international air passenger rights in case of involuntary downgrading in a class of service, denied boarding, cancellation, and long delays. However, Thai laws about market access of foreign airlines are not affected in accordance with Air Navigation Act B.E. 2497 and the Declaration of the Revolutionary Council No.58. This thesis recommends that there should be amendment on Air Navigation Act B.E. 2497 on shareholding and controller of foreign airlines business and enactment the regulations on procedures for calculating international air fares and freights. Moreover, there should be revision on Competition Act B.E. 2542 to be civil case and application for state enterprises to compete with private sector. Lastly, airline business should be regulated to be a controlled business with respect to contract according to Consumer Protection Act B.E. 2522.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.678-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการขนส่งทางอากาศ -- กลุ่มประเทศอาเซียน
dc.subjectสายการบิน
dc.subjectอุตสาหกรรมการบิน
dc.subjectAeronautics, Commercial -- ASEAN countries
dc.subjectAirlines
dc.subjectAerospace industries
dc.titleปัญหาของกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจสายการบินต่างชาติที่จะมาประกอบกิจการในประเทศไทยตามความตกลงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนen_US
dc.title.alternativeThe problem of law and regulations on foreign airlines business which access to Thailand according to ASEAN economic community agreementen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirikanya.K@Chula.ac.th,ksirikanya@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.678-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585993034.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.