Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50834
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดสีอะโซและผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาออโตออกซิเดชัน โดยกระบวนการบำบัดทางชีวภาพแบบสลับไร้อากาศและเติมอากาศ
Other Titles: Enhancement of Azo Dye Removal and Byproduct from Autoxidation Reaction by Alternating Anaerobic and Aerobic Biological Process
Authors: ศุภรัตน์ สวัสดิ์
Advisors: ศรัณย์ เตชะเสน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sarun.T@Chula.ac.th,sarunlor@gmail.com,Sarun.t@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สีย้อมอะโซเป็นสีย้อมที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและไม่สามารถบำบัดได้ด้วยระบบเอเอสทั่วไป งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพและอัตราการบำบัดสีอะโซด้วยกระบวนการบำบัดทางชีวภาพแบบไร้อากาศ และอัตราการเกิดสีใหม่จากระบบเติมอากาศ ทำการทดลองแบบแบทช์โดยใช้ถังกรองไร้อากาศและถังโปรยกรอง โดยใช้สีรีแอกทีฟไวโอเล็ต 5 ความเข้มข้น 10 25 50 100 150 200 และ 400 มก./ล ซึ่งเท่ากับความเข้มข้นสี 508 1,471 2,771 4,328 7,747 10,800 และ 21,800 เอดีเอมไอตามลำดับ ใช้น้ำตาลทรายความเข้มข้น 1,000 มก.ซีโอดี/ลิตร และควบคุมพีเอชภายในถังปฏิกิริยาให้อยู่ในช่วง 7-7.5 ผลการทดลองพบว่า ความเข้มข้นสีลดลงในถังกรองไร้อากาศ และน้ำเปลี่ยนสีจากม่วงเข้มเป็นเหลืองเขียว โดยมีประสิทธิภาพการบำบัดสีสูงสุด 97% และมีอัตราการบำบัดสีอยู่ในช่วง 678.7±21.1 ถึง 20,636.3±69.31 เอดีเอมไอ/วัน ซึ่งเป็นไปตามปฏิกิริยาอันดับที่ 1 โดยมีค่า k1 เท่ากับ 0.861±0.04 วัน-1 และเมื่อนำน้ำทิ้งจากระบบถังกรองไร้อากาศมาบำบัดต่อด้วยระบบถังโปรยกรองพบว่า ที่ความเข้มข้นสีเริ่มต้น 72±24.3 และ 113.3±32.1 เอดีเอมไอ น้ำทิ้งไม่เปลี่ยนสีและค่าความเข้มข้นสีไม่เพิ่มขึ้น แต่ที่ความเข้มข้นสีเริ่มต้น 175±50.4 ถึง 800 เอดีเอมไอ น้ำเปลี่ยนสีจากเหลืองเขียวเป็นส้มแดงโดยมีค่าความเข้มข้นสีของน้ำทิ้งเพิ่มขึ้น 134.1±11% จากปฏิกิริยาออโตออกซิเดชัน และอัตราการเกิดสีใหม่อยู่ในช่วง 30.65±14.8 ถึง 204.41±40.3 เอดีเอมไอ/วัน และจาก Modified monod equation พบว่า ค่า km เท่ากับ 334.09±55.46 เอดีเอมไอ/วัน และค่า Ks เท่ากับ 229.23±117.92 เอดีเอมไอ และเมื่อนำกลับไปบำบัดต่อด้วยระบบถังกรองไร้อากาศพบว่า ถังกรองไร้อากาศไม่สามารถบำบัดสีที่เกิดขึ้นใหม่ให้หายไปหรือลดลงจากเดิมได้ ถึงแม้ว่ามีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีเฉลี่ย 65.3% สรุปได้ว่า ระบบถังกรองไร้อากาศสามารถบำบัดสีอะโซได้เป็นอย่างดี และระบบถังโปรยกรองทำให้ความเข้มข้นสีของน้ำทิ้งเพิ่มสูงขึ้นที่ความเข้มข้นสีเริ่มต้นสูงกว่า 1,471 เอดีเอมไอ โดยสีที่เกิดขึ้นมีสีแตกต่างไปจากสีตั้งต้น จึงควรศึกษาชนิดของสีที่เกิดขึ้นเพื่อหาแนวทางในการบำบัดต่อไป
Other Abstract: Azo dye is commonly used in the textile industry which could not be treated with conventional activated sludge process. This research studied the efficiencies and removal rates of Azo dye by anaerobic process and autoxidation rate by aerobic process. Batch reactors using anaerobic filter and trickling filter were tested with Reactive Violet 5 color concentrations of 10, 25, 50, 100, 150, 200, and 400 mg/L, equally to 508, 1471, 2771, 4328, 7747, 10800, and 21800 ADMI respectively. Sugar was used as energy source at 1,000 mgCOD/L, and pH was controlled at 7-7.5. Results showed that dye concentrations were reduced significantly in anaerobic filter, color was changed from deep violet to pale yellow with maximum color removal efficiency at 97%, and the color removal rates were in range of 678.7±21.1 to 20,636.3±69.31 ADMI/h, following 1st order kinetic reactions at a rate constant (k1) of 0.861±0.04 day-1. Effluent from anaerobic filter was further treated by trickling filter. The results showed that there were no color reappearing at remaining color of 72±24.3 and 113.3±32.1 ADMI. But at remaining color of 175±50.4 to 800 ADMI, water color was changed from pale yellow to reddish orange with the increase in ADMI of 134.1±11% from autoxidation process. The color reappearing rates were 30.65±14.8 to 204.41±40.3 ADMI/day.The equation can be described as Modified monod equation, km of 334.09±55.46 ADMI/day and Ks of 229.23±117.92 ADMI. These effluents were treated again with anaerobic filter but the new color could not be decolorized even though the average COD removal efficiencies was at 65.3%. In conclusion, anaerobic filter had high efficiency for treating the Azo dye in wastewater while trickling filter was able to treat the remaining aromatic amines. However, anaerobic treatment of high concentrations of azo dye resulting in high aromatic amines which can form an autoxidation color that unable to treat again by anaerobic condition. Therefore this newly formed color needs to be further investigated to find the proper treatment process.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50834
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670410021.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.